18 มิถุนายน 2556 เวลา 13.30 น. ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พลโทสกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานการประชุมศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดแผนปฏิบัติการ “ใต้ร่วมใจ ขจัดภัยยาเสพติด” เพื่อให้คณะกรรมการและหน่วยกำลังทั้งพลเรือน, ตำรวจ และทหาร ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส, รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, ผู้แทนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มารับทราบคำสั่งของรัฐบาลหรือศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ที่ 15/2556 ที่ได้สั่งให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นกลไกหลักในการอำนวยการประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับพี่น้องประชาชน ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
จากคำสั่งของรัฐบาลดังกล่าว ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อรองรับคำสั่งนั้น โดยใช้ชื่อว่า แผนปฏิบัติการ “ใต้ร่วมใจ ขจัดภัยยาเสพติด” ซึ่งจะมีการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร และภาคประชาชน โดยในระดับพื้นที่จะมอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ เป็นศูนย์ในการบูรณาการทุกปัญหาทุกหน่วยงานในพื้นที่ให้มีเอกภาพมากที่สุด โดยมีแนวทางการปฏิบัติงานสำคัญ 3 แนวทางคือ การปฏิบัติการสกัดกั้น, การปราบปรามผู้ค้าทุกระดับ และการแก้ไขปัญหาในระดับหมู่บ้าน ซึ่งในการสกัดกั้นนั้น จะมีการดำเนินการทุกช่องทาง ทุกวิธีการที่ขบวนการยาเสพติดจะลำเลียงตัวยาเข้ามาในพื้นที่ ทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางเครื่องบิน ทางด่านศุลกากร และทางไปรษณีย์ โดยแผนปฏิบัติการนี้ ถูกกำหนดเวลาไว้ 4 เดือน มีการกำหนดหมู่บ้านเป้าหมายที่จะดำเนินการเป็นพิเศษแบบเข้มข้นไว้ 400 หมู่บ้าน แต่ก็จะมีการปฏิบัติทุกหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดให้เข้ารับการบำบัดหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ 2,000 – 3,000 คนโดยจะดำเนินการด้วยการส่งเข้าบำบัดตามค่ายต่างๆ, การเข้าบำบัดด้วยหลักศาสนาในปอเนาะ และการเข้าค่ายอบรม สำหรับเด็กก่อนวัยเสี่ยงจะป้องกันให้ได้ 15,000 คน ด้วยโครงการต่างๆ เช่น โครงการญาลันนันบารู, โครงการของอำเภอและโครงการของกระทรวงสาธารณสุข
นอกจากนี้ พลโทสกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ยังได้กล่าวอีกว่า ยาเสพติดเป็นทุกข์ของชาวบ้าน เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมามากแล้ว เราจะใช้กำลังอย่างเต็มขนาด ร่วมต่อสู้ปัญหานี้กับประชาชนตามมาตรการทางกฎหมาย ขอให้พี่น้องประชาชนให้ความมั่นใจ และเพื่อให้การแก้ไขปัญหานี้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน.
ขอขอบคุณภาพ/ข่าว ศูนย์ประชาสัมพันธ์
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ประชุมเปิดแผนปฏิบัติการ “ใต้ร่วมใจ ขจัดภัยยาเสพติด”
18 มิถุนายน 2556 เวลา 13.30 น. ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พลโทสกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานการประชุมศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดแผนปฏิบัติการ “ใต้ร่วมใจ ขจัดภัยยาเสพติด” เพื่อให้คณะกรรมการและหน่วยกำลังทั้งพลเรือน, ตำรวจ และทหาร ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา, ปัตตานี, นราธิวาส, รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, ผู้แทนจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน มารับทราบคำสั่งของรัฐบาลหรือศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ ที่ 15/2556 ที่ได้สั่งให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นกลไกหลักในการอำนวยการประสานงาน และกำกับดูแลการปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับพี่น้องประชาชน ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
จากคำสั่งของรัฐบาลดังกล่าว ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อรองรับคำสั่งนั้น โดยใช้ชื่อว่า แผนปฏิบัติการ “ใต้ร่วมใจ ขจัดภัยยาเสพติด” ซึ่งจะมีการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร และภาคประชาชน โดยในระดับพื้นที่จะมอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ เป็นศูนย์ในการบูรณาการทุกปัญหาทุกหน่วยงานในพื้นที่ให้มีเอกภาพมากที่สุด โดยมีแนวทางการปฏิบัติงานสำคัญ 3 แนวทางคือ การปฏิบัติการสกัดกั้น, การปราบปรามผู้ค้าทุกระดับ และการแก้ไขปัญหาในระดับหมู่บ้าน ซึ่งในการสกัดกั้นนั้น จะมีการดำเนินการทุกช่องทาง ทุกวิธีการที่ขบวนการยาเสพติดจะลำเลียงตัวยาเข้ามาในพื้นที่ ทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางเครื่องบิน ทางด่านศุลกากร และทางไปรษณีย์ โดยแผนปฏิบัติการนี้ ถูกกำหนดเวลาไว้ 4 เดือน มีการกำหนดหมู่บ้านเป้าหมายที่จะดำเนินการเป็นพิเศษแบบเข้มข้นไว้ 400 หมู่บ้าน แต่ก็จะมีการปฏิบัติทุกหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือผู้ใช้ยาเสพติดให้เข้ารับการบำบัดหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ได้ 2,000 – 3,000 คนโดยจะดำเนินการด้วยการส่งเข้าบำบัดตามค่ายต่างๆ, การเข้าบำบัดด้วยหลักศาสนาในปอเนาะ และการเข้าค่ายอบรม สำหรับเด็กก่อนวัยเสี่ยงจะป้องกันให้ได้ 15,000 คน ด้วยโครงการต่างๆ เช่น โครงการญาลันนันบารู, โครงการของอำเภอและโครงการของกระทรวงสาธารณสุข
นอกจากนี้ พลโทสกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ยังได้กล่าวอีกว่า ยาเสพติดเป็นทุกข์ของชาวบ้าน เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมามากแล้ว เราจะใช้กำลังอย่างเต็มขนาด ร่วมต่อสู้ปัญหานี้กับประชาชนตามมาตรการทางกฎหมาย ขอให้พี่น้องประชาชนให้ความมั่นใจ และเพื่อให้การแก้ไขปัญหานี้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน.
ขอขอบคุณภาพ/ข่าว ศูนย์ประชาสัมพันธ์
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.