Saturday , 23 November 2024
วันที่ 8 มีนาคม 2559 ได้มีการจัดพิธีเปิดศูนย์ประสานงานทวงคืนมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง (เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ) โดยมีประชาชนในพื้นที่และสื่อมวลชนทุกแขนงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
สรุปปัญหามหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
1. สภาพมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงในปัจจุบัน
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มีพื้นที่ปฏิบัติการ 2 แห่ง คือ
1. พื้นที่ตำบลบ้านพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ประมาณ 2,900 ไร่ มีคณะหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน 4 คณะได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน และคณะนิติศาสตร์ มีนักศึกษาทั้งหมด 2,932 คน และบุคลลากรทั้งหมดประมาณ 395 คน (ข้อมูลปี 2558) หน่วยงานสนับสนุนวิชาการ ได้แก่ สำนักหอสมุด สำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มีหน่วยงานสนับสนุนบริหาร ได้แก่ ฝ่ายบริหารวิทยาเขตพัทลุง ฝ่ายกิจการนิสิตวิทยาเขตพัทลุง นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพการศึกษา ฝ่ายการคลังและทรัพย์สิน และฝ่ายบริหารกลางและทรัพยากรบุคคล ทั้ง 3 ฝ่ายนี้ มีพื้นที่ทำการอยู่ทั้ง 2 วิทยาเขต
2. พื้นที่ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 185 ไร่ ปัจจุบันได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งสร้างกระบวนทัศน์ในการเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาชุมชน บูรณาการด้วยองค์ความรู้หลากหลายเพื่อเป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้โดยให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม
2 สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยทักฺษิณ วิทยาเขตพัทลุง
2.1) การขอใช้พื้นที่
กรณีถูกคืนพื้นที่ให้กับสำนักงานปฏิรูปที่ดิน เมื่อนำไปออกเอกสารสิทธิ์ ส.ปก. 4-01 ให้กับราษฎร์ผู้ครอบครองเดิม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้ก่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชนไปแล้ว ต่อมามหาวิทยาลัยได้ไปทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นการชั่วคราวตามหนังสือขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภค และกิจการอื่น ๆ ในเขตปฏิรูปที่ดินตามเลขที่ 50/2555 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555 ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องรื้อถอนออกจากพื้นที่ดังกล่าวเพื่อส่งมอบที่ดินให้กับผู้ครอบครองเดิม ในขณะนี้มหาวิทยาลัยยังไม่ได้รื้อถอนอาคารสิ่งปลูกสร้าง เพราะยังไม่สามารถหาที่ดินที่จะปลูกสร้างใหม่ได้
ในกรณีนี้มีปัญหาว่าตอนที่ก่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการตรวจสอบเขตที่ดินกับสำนักงานที่ดินจังหวัดพัทลุง หรือสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดพัทลุงหรือไม่ เมื่อมีการตรวจสอบแล้วและเกิดปัญหาดังกล่าว ถามว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบและงบประมาณแผ่นดินที่ลงทุนก่อสร้างไป เกิดการสูญเปล่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบและมีข้อสังเกตว่า มีบุคคลภายในมหาวิทยาลัยเอง มีผลประโยชน์ร่วมหรือไม่ เพราะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่กันไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของหมู่บ้านทุ่งลานโยพัฒนา ต้องกลายเป็นพื้นที่ได้รับการออกเอกสารสิทธิ์ด้วย ดังรูปที่ 1-6
รูปที่ 2 บริเวณโรงเรือนปฏิบัติการของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 3 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 4 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 5 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
รูปที่ 6 บริเวณฟาร์มโคเนื้อและโคนมของคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน
2.2 ปัญหาการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ
ปัญหาการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ในมหาวิทยาลัยทักษิณในวิทยาเขตพัทลุง มีปัญหามาตลอดตั้งแต่เริ่มโครงการการก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ แต่ที่เห็นว่ามีปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดมีดังนี้
1) ภายในมหาวิทยาลัยเกิดหลุมบ่อขึ้นตามอาคารเกือบทุกอาคาร การขุดสระน้ำเหล่านี้เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างถมที่ทับซ้อนกับสัญญารับเหมาก่อสร้างอาคารต่าง ๆหรือไม่หรือมีการทำสัญญาใหม่ขึ้นมาหรือไม่ การยินยอมให้ผู้รับเหมาใช้ดินบริเวณใกล้อาคารหรือใช้ดินภายในมหาวิทยาลัยมาถมที่บริเวณก่อสร้างใครเป็นผู้อนุญาต ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์และสัญญางานถมที่ทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยจัดจ้างสูงเกินจริงหรือไม่ เพราะทั้งหมดไม่เคยซื้อดินจากภายนอกเลย ใช้ขุดดินในมหาวิทยาลัยตลอด ดังรูปที่ 7-12
รูปที่ 7 สระน้ำบริเวณใกล้หอพักบุคลากร
รูปที่ 8 สระน้ำบริเวณหลังหอพักนิสิตหญิง
รูปที่ 9 สระน้ำบริเวณระหว่างหอพักบุคลากรกับหอพักนิสิตหญิง
รูปที่ 10 สระน้ำบริเวณหลังหอพักนิสิตชาย
รูปที่ 11 สระน้ำบริเวณหลังอาคารหอประชุมกลาง
รูปที่ 12 สระน้ำบริเวณข้างอาคารบริหารกลาง
2) มีสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อย 3 รายการ นับตั้งแต่ก่อสร้างมาจนถึงปัจจุบันที่ไม่สามารถใช้งานได้เลยหรือไม่ได้ใช้งาน คือ 1. บ้านพักอธิการบดีและรองอธิการบดี 2. เครื่องบำบัดน้ำเสีย 3. รั้วบริเวณหน้ามหาวิทยาลัย ไม่ทราบว่ามีความผิดในขั้นตอนการออกแบบ หรือตอนตรวจรับงานหรือยังไม่จำเป็นต้องใช้งาน หรือมีปัญหาบางประการก็ไม่ทราบ ดังรูปที่ 13-15
รูปที่ 13 บ้านพักอธิการบดีและรองอธิการบดี
รูปที่ 14 เครื่องบำบัดน้ำเสีย
รูปที่ 15 รั้วหน้าบริเวณมหาวิทยาลัย
3) เรื่องผู้รับเหมาละทิ้งงาน ในขณะนี้ผู้รับเหมาละทิ้งงานอยู่ 1 รายการ คือ อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชนซึ่งดำเนินการก่อสร้างมาประมาณ7-8 ปีแล้ว ปัญหาการละทิ้งงานไม่ทราบว่าเกิดการเบิกจ่ายเงินงวดให้ผู้รับเหมาล่าช้าหรือไม่ การตรวจรับงานแต่ละงวดมีปัญหาหรือไม่ ล่าช้าหรือเปล่า หรือระบบการควบคุมงานจ้างมีปัญหากับผู้รับจ้างหรือไม่ ดังรูปที่ 16-23
รูปที่ 16 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน (ด้านหน้า)
รูปที่ 17 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ด้านข้างขวา)
รูปที่ 18 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ด้านข้างซ้าย)
รูปที่ 19 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ด้านหลัง)
รูปที่ 20 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ด้านหลัง)
รูปที่ 21 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน (ภายในอาคาร)
รูปที่ 22 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ภายในอาคาร)
รูปที่ 23 อาคารคณะเทคโนโลยีและพัฒนาชุมชน(ชั้นล่างสุดของอาคาร)
4) ปัญหาการก่อสร้างอาคารที่ล่าช้ากว่ากำหนดคือ อาคารสัมมนาคาร ซึ่งก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี แล้ว ก่อสร้างยังไม่เสร็จตามกำหนดมีการหยุดการก่อสร้างระยะหนึ่ง(รูปที่ 18)ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุผลใด ตอนหลังมีการต่อเติมอาคารใหม่ (รูปที่ 19) แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จดังรูป 24-25
รูปที่ 24 อาคารสัมมนาคาร
รูปที่ 25 อาคารสัมมนาคาร
3. แนวทางการแก้ปัญหา
1) มีการยื่นร้องเรียนความผิดของอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ(รศ.ดร. สมเกียรติ สายธนู )ต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สาขาสงขลา (ป.ป.ช.สงขลา) เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
ผลปรากฏว่า ป.ป.ช.สงขลายังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการมายังผู้ร้องเรียนแต่ประการใดจนถึงปัจจุบันนี้
2. มีการยื่นร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงว่าการศึกษาธิการ(นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556
ข้อร้องเรียนดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
1. พิจารณาแก้ปัญหาเรื่องการขอใช้ที่ดิน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
2. พิจารณาแก้ปัญหาเรื่องคณะกรรมการประจำวิทยาเขต โดยขอให้มีคณะกรรมการประจำวิทยาเขตประเภทผู้ทรงคุณวุฒิในจังหวัดพัทลุงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
3. ให้สภามหาวิทยาลัยทบทวนข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณว่าด้วยการสรรหาคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยประเภทผู้ทรงคุณวุฒิ
4. พิจารณาการจัดตั้งคณะแพทย์ศาสตร์ และคณะพยาบาล รวมทั้งคณะวิชาอื่นๆตามความจำเป็น
5. พิจารณายกร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง แยกมาเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
6. พิจาณาความผิดของสภามหาวิทยาลัยทักษิณและอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ (รศ.ดร. สมเกียรติ สายธนู)
ผลปรากฏว่ากระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการอย่างเป็นทางการมายังผู้ร้องแต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน
3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยมี ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือถึง ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ให้ช่วยติดตามเรื่องที่ร้องเรียนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ) ปรากฏว่าทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้กลุ่มบุคคลดังกล่าวทราบว่าทางสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าวให้ทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557 และเมื่อ วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558 ผู้ร้องเรียนได้มีหนังสือไปยังปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (มล. ปนัดดา ดิศกุล) ขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องเรียน ผลปรากฏว่ายังไม่ได้รับการชี้แจงจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีแต่ประการใดจนถึงปัจจุบันและเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 ได้มีหนังสือไปยัง ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและนางสาวอาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขอทราบความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่ร้องเรียน ผลปรากฏว่ายังไม่ได้รับการชี้แจงจากเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ นายกรัฐมนตรีแต่ประการใดจนถึงปัจจุบัน.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
2016-03-08November 21, 2024
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ปลื้มใจครับที่เห็นพี่น้องชาวพัทลุงตื่นตัวออกมาทวงสิทธิที่ควรจะเป็น แต่ดูแล้วน่าเป็นห่วงนะครับ ดูแกนนำค่อนข้างจะอายุมากๆกันทั้งนั้น ลองพิจารณาหาแนวร่วมหนุ่มๆไว้บ้างเพราะศึกครั้งนี้ถ้าจะต่อสู้กันจริงๆคงเป็นศึกที่ยืดเยื้อหลายปีแน่ๆ
เป้าหมายให้มีนักศึกษาที่วิทยาเขตพัทลุง 10000 คน คงยากนะครับ ตราบใดที่นโยบายและผลประโยชน์ที่วิทยาเขตสงขลายังลงตัวและสมประโยชน์อยู่
มีเหตุปัจจัยต่างๆเป็นข้อมูลที่น่าสนใจให้ท่านทั้งหลายได้ลองพิจารณาดูดังนี้
1.