กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพชายแดนใต้คืบหน้าอีกขั้นหนึ่งเมื่อมีการพบปะครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 56 ที่ประเทศมาเลเซีย นับว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เปิดแนวรุกทางการเมืองโดยวิธีการพูดคุยในต่างประเทศ ซึ่งต่างก็เชื่อว่าจะนำสันติภาพคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวังที่จะยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในขณะนี้
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาภายในประเทศ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยนโยบายที่มีแผนงานอย่างชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจหลายประการ อย่างเช่นการแสดงเจตนายุติการก่อเหตุรุนแรงของสมาชิกขบวนการหลายราย อันเป็นผลจากนโยบายการนำคนกลับบ้าน และความสำเร็จด้านการข่าวที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชนในการแจ้งเบาะแสซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติด้านยุทธการอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนด้านมวลชนที่สามารถเรียกความรู้สึกที่ดีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนให้กลับคืนมาอีกครั้ง ซึ่งในห้วงที่ผ่านมาเรียกได้ว่าประชาชนตกเป็นเหยื่อของการยุยงปลุกปั่นจนเกิดความหวาดระแวง และกลายเป็นความแตกแยกตลอดมา
เรื่องดังกล่าวยืนยันได้จากการเปิดใจของนางเจ๊ะบูงอ อีบาราเอง ประชาชนในพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา กล่าวในโอกาสร่วมกิจกรรมเสวนาสัมพันธ์กลุ่มมวลชนเพื่อสานใจสู่สันติ ซึ่งหน่วยในพื้นที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 56 ที่กล่าวว่า “ในอดีต เมื่อประสบปัญหาไม่มีผู้มาช่วยเหลือ และมีความกลัวไม่กล้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ แต่หลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้ามาสร้างความคุ้นเคยรวมทั้งได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมต่าง ๆ หลายครั้งทำให้เปลี่ยนความรู้สึกไปในทางที่ดี ความกลัวและความหวาดระแวงอย่างในอดีตหมดไป ปัจจุบันนี้เมื่อมีปัญหาจะไปหาเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือและแก้ปัญหาร่วมกัน”
เรื่องนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงที่สร้างความสะเทือนขวัญและกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดชัยชนะสงครามมวลชนอย่างในขณะนี้ หากเปรียบเทียบกับสงครามกลางเมืองในต่างประเทศซึ่งประชาชนลุกฮือออกมาต่อต้านรัฐบาลจนเกิดเหตุการณ์นองเลือดในหลาย ๆ ประเทศ จะพบคำตอบที่ชัดเจนว่า แม้ว่าขณะนี้ยังไม่สามารถยุติการลอบก่อเหตุรุนแรงได้ แต่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในการดึงมวลชนไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของขบวนการได้เป็นผลสำเร็จอย่างงดงาม เพราะในห้วงที่ผ่านมากลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้มีความพยายามที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นดังกล่าวตลอดเวลา
นี่คือผลของการปฏิบัติงานในห้วงที่ผ่านมาของนโยบายสานใจสู่สันติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งรัฐบาลได้นำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้มาบูรณาการร่วมกัน และกำหนดเป็นนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๕๗ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีกรอบแนวคิดที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง, การเปิดพื้นที่การต่อสู้ด้วยสันติวิธี, การสร้างสมดุลโครงสร้างอำนาจการปกครองและการบริหาร, การเคารพสิทธิมนุษยชน, ยึดมั่นในหลักนิติรัฐและนิติธรรม, สังคมไทยและทุกภาคส่วนร่วมรับรู้เข้าใจและแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งกลไกการดำเนินการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประสานสอดคล้องและส่งเสริมกันทุกมิติอย่างสมดุล ส่งผลให้เกิดทิศทางอันเป็นวิสัยทัศน์ของนโยบายฉบับนี้คือ “การมุ่งให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไขของการใช้ความรุนแรง มีสภาวะแวดล้อมที่พร้อมและเอื้อต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจไว้วางใจ และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ”
สำหรับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ 9 ข้อ มีเป้าหมายร่วมจำนวน 29 ประการ และกำหนดเป็นเป้าหมายเร่งด่วน จำนวน 5 เป้าหมาย เพื่อให้บรรลุผลภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐทุกกระทรวง ทบวง กรม กอง ต้องกำหนดแผนงานให้เป็นในแนวทางเดียวกัน ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐบาลตั้งขึ้น
มีผู้กล่าวว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีโจทย์อยู่ 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นธรรม ด้านอัตลักษณ์ ด้านความปลอดภัย และด้านคุณภาพชีวิต ถ้าตอบโจทย์ ๔ ด้านนี้ได้ทุกอย่างมันก็จบ
หากพิจารณาถึงเป้าหมาย 29 ข้อของแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่า เป้าหมายทั้งหมดจะนำไปสู่การตอบโจทย์ทั้ง 4 ด้านนั่นเอง อย่างเช่น เป้าหมายข้อที่ 6 ที่ระบุว่า “กระบวนการยุติธรรมทางเลือกได้รับการสนับสนุน โดยให้ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา และชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง และการระงับข้อพิพาท ผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาที่เป็นธรรม” เป้าหมายข้อนี้จะไปตอบโจทย์ด้านความเป็นธรรม ซึ่งในปัจจุบันได้ปรากฏผลมาแล้วด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยา พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านความเป็นธรรม ภายใต้นโยบายที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน
ส่วนด้านอัตลักษณ์ มีระบุในข้อที่ 13 ระบุว่า “สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนได้รับการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรการศึกษา และครูทั้งสายสามัญและศาสนาอย่างครบถ้วน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานกลางของประเทศ” ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ออกหลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักสูตรสองระบบสอนควบคู่กับหลักสูตรสามัญอย่างละ 8 กลุ่มสาระ โดยให้ความสำคัญเท่า ๆ กัน และขณะนี้โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายแห่งนำระบบนี้มาใช้ตามความต้องการของประชาชน โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมด้านศาสนา และศาสนาคือที่มาของอัตลักษณ์นั้นเอง สำหรับระเบียบเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของนักเรียนนักศึกษา ได้แก้ไขให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบมุสลิมไปก่อนหน้านี้แล้ว
ส่วนด้านภาษา ได้มีการก่อตั้ง “สถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงภาษามลายู” กระจายเสียงตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนอย่างทั่วถึง หลังจากที่สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ ส่วนภูมิภาค เปิดการกระจายเสียงภาษามลายูในบางช่วงเวลาที่เรียกว่า “ทีวีกีตอ” มาก่อนนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่เคยเป็นข้อเรียกร้องของผู้นำศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อครั้งอดีต
ส่วนการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่มีขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างผู้แทนรัฐบาลกับแกนนำของขบวนการต่าง ๆ ถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกับการบรรลุผลเป็นความสำเร็จ หากแต่การแก้ปัญหาภายในประเทศตามนโยบายที่ผ่านมา เริ่มปรากฏผลออกมาแล้วหลายประการดังที่กล่าว
หากเปรียบเทียบการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้กับการวิ่งเพื่อเข้าสู่เส้นชัย ซึ่งมีผู้กล่าวว่า หากต้องการเข้าถึงเส้นชัยในเวลาอันรวดเร็ว ต้องไม่เสียเวลากับการเก็บดอกหญ้าที่ติดขากางเกง ซึ่งอาจเปรียบได้กับการสร้างสันติภาพที่แท้จริง จะต้องไม่กังวลกับสิ่งที่ไม่ใช่ปัจจัยแห่งชัยชนะของสงครามมวลชนที่เป็นอยู่ในขณะนี้.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เส้นทางสู่สันติภาพจังหวัดชายแดนใต้
กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพชายแดนใต้คืบหน้าอีกขั้นหนึ่งเมื่อมีการพบปะครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 56 ที่ประเทศมาเลเซีย นับว่าเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เปิดแนวรุกทางการเมืองโดยวิธีการพูดคุยในต่างประเทศ ซึ่งต่างก็เชื่อว่าจะนำสันติภาพคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวังที่จะยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในขณะนี้
อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาภายในประเทศ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า ซึ่งได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยนโยบายที่มีแผนงานอย่างชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมาได้ปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจหลายประการ อย่างเช่นการแสดงเจตนายุติการก่อเหตุรุนแรงของสมาชิกขบวนการหลายราย อันเป็นผลจากนโยบายการนำคนกลับบ้าน และความสำเร็จด้านการข่าวที่เกิดจากความร่วมมือของประชาชนในการแจ้งเบาะแสซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติด้านยุทธการอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนด้านมวลชนที่สามารถเรียกความรู้สึกที่ดีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนให้กลับคืนมาอีกครั้ง ซึ่งในห้วงที่ผ่านมาเรียกได้ว่าประชาชนตกเป็นเหยื่อของการยุยงปลุกปั่นจนเกิดความหวาดระแวง และกลายเป็นความแตกแยกตลอดมา
เรื่องดังกล่าวยืนยันได้จากการเปิดใจของนางเจ๊ะบูงอ อีบาราเอง ประชาชนในพื้นที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา กล่าวในโอกาสร่วมกิจกรรมเสวนาสัมพันธ์กลุ่มมวลชนเพื่อสานใจสู่สันติ ซึ่งหน่วยในพื้นที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 56 ที่กล่าวว่า “ในอดีต เมื่อประสบปัญหาไม่มีผู้มาช่วยเหลือ และมีความกลัวไม่กล้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ แต่หลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้ามาสร้างความคุ้นเคยรวมทั้งได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมต่าง ๆ หลายครั้งทำให้เปลี่ยนความรู้สึกไปในทางที่ดี ความกลัวและความหวาดระแวงอย่างในอดีตหมดไป ปัจจุบันนี้เมื่อมีปัญหาจะไปหาเจ้าหน้าที่เพื่อขอความช่วยเหลือและแก้ปัญหาร่วมกัน”
เรื่องนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงที่สร้างความสะเทือนขวัญและกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก แต่ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดชัยชนะสงครามมวลชนอย่างในขณะนี้ หากเปรียบเทียบกับสงครามกลางเมืองในต่างประเทศซึ่งประชาชนลุกฮือออกมาต่อต้านรัฐบาลจนเกิดเหตุการณ์นองเลือดในหลาย ๆ ประเทศ จะพบคำตอบที่ชัดเจนว่า แม้ว่าขณะนี้ยังไม่สามารถยุติการลอบก่อเหตุรุนแรงได้ แต่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในการดึงมวลชนไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือของขบวนการได้เป็นผลสำเร็จอย่างงดงาม เพราะในห้วงที่ผ่านมากลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้มีความพยายามที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นดังกล่าวตลอดเวลา
นี่คือผลของการปฏิบัติงานในห้วงที่ผ่านมาของนโยบายสานใจสู่สันติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ตามกรอบยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ซึ่งรัฐบาลได้นำยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้มาบูรณาการร่วมกัน และกำหนดเป็นนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๕๗ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีกรอบแนวคิดที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง, การเปิดพื้นที่การต่อสู้ด้วยสันติวิธี, การสร้างสมดุลโครงสร้างอำนาจการปกครองและการบริหาร, การเคารพสิทธิมนุษยชน, ยึดมั่นในหลักนิติรัฐและนิติธรรม, สังคมไทยและทุกภาคส่วนร่วมรับรู้เข้าใจและแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งกลไกการดำเนินการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการประสานสอดคล้องและส่งเสริมกันทุกมิติอย่างสมดุล ส่งผลให้เกิดทิศทางอันเป็นวิสัยทัศน์ของนโยบายฉบับนี้คือ “การมุ่งให้จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย ปราศจากเงื่อนไขของการใช้ความรุนแรง มีสภาวะแวดล้อมที่พร้อมและเอื้อต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจไว้วางใจ และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ”
สำหรับการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ 9 ข้อ มีเป้าหมายร่วมจำนวน 29 ประการ และกำหนดเป็นเป้าหมายเร่งด่วน จำนวน 5 เป้าหมาย เพื่อให้บรรลุผลภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานของรัฐทุกกระทรวง ทบวง กรม กอง ต้องกำหนดแผนงานให้เป็นในแนวทางเดียวกัน ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รัฐบาลตั้งขึ้น
มีผู้กล่าวว่า ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีโจทย์อยู่ 4 ด้าน คือ ด้านความเป็นธรรม ด้านอัตลักษณ์ ด้านความปลอดภัย และด้านคุณภาพชีวิต ถ้าตอบโจทย์ ๔ ด้านนี้ได้ทุกอย่างมันก็จบ
หากพิจารณาถึงเป้าหมาย 29 ข้อของแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่า เป้าหมายทั้งหมดจะนำไปสู่การตอบโจทย์ทั้ง 4 ด้านนั่นเอง อย่างเช่น เป้าหมายข้อที่ 6 ที่ระบุว่า “กระบวนการยุติธรรมทางเลือกได้รับการสนับสนุน โดยให้ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา และชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง และการระงับข้อพิพาท ผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาที่เป็นธรรม” เป้าหมายข้อนี้จะไปตอบโจทย์ด้านความเป็นธรรม ซึ่งในปัจจุบันได้ปรากฏผลมาแล้วด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการเยียวยา พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้านความเป็นธรรม ภายใต้นโยบายที่กำลังดำเนินการในปัจจุบัน
ส่วนด้านอัตลักษณ์ มีระบุในข้อที่ 13 ระบุว่า “สถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนได้รับการพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรการศึกษา และครูทั้งสายสามัญและศาสนาอย่างครบถ้วน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานกลางของประเทศ” ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ออกหลักสูตรอิสลามศึกษาตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นหลักสูตรสองระบบสอนควบคู่กับหลักสูตรสามัญอย่างละ 8 กลุ่มสาระ โดยให้ความสำคัญเท่า ๆ กัน และขณะนี้โรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้หลายแห่งนำระบบนี้มาใช้ตามความต้องการของประชาชน โดยหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมด้านศาสนา และศาสนาคือที่มาของอัตลักษณ์นั้นเอง สำหรับระเบียบเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายของนักเรียนนักศึกษา ได้แก้ไขให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมแบบมุสลิมไปก่อนหน้านี้แล้ว
ส่วนด้านภาษา ได้มีการก่อตั้ง “สถานีวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงภาษามลายู” กระจายเสียงตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนอย่างทั่วถึง หลังจากที่สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ ส่วนภูมิภาค เปิดการกระจายเสียงภาษามลายูในบางช่วงเวลาที่เรียกว่า “ทีวีกีตอ” มาก่อนนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือส่วนหนึ่งที่เคยเป็นข้อเรียกร้องของผู้นำศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อครั้งอดีต
ส่วนการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการพูดคุยเพื่อสันติภาพที่มีขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างผู้แทนรัฐบาลกับแกนนำของขบวนการต่าง ๆ ถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกับการบรรลุผลเป็นความสำเร็จ หากแต่การแก้ปัญหาภายในประเทศตามนโยบายที่ผ่านมา เริ่มปรากฏผลออกมาแล้วหลายประการดังที่กล่าว
หากเปรียบเทียบการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้กับการวิ่งเพื่อเข้าสู่เส้นชัย ซึ่งมีผู้กล่าวว่า หากต้องการเข้าถึงเส้นชัยในเวลาอันรวดเร็ว ต้องไม่เสียเวลากับการเก็บดอกหญ้าที่ติดขากางเกง ซึ่งอาจเปรียบได้กับการสร้างสันติภาพที่แท้จริง จะต้องไม่กังวลกับสิ่งที่ไม่ใช่ปัจจัยแห่งชัยชนะของสงครามมวลชนที่เป็นอยู่ในขณะนี้.
ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.