อาจารย์คณะศิลปกรรมฯ มรภ.สงขลา ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่า สร้างความตระหนักชุมชนเห็นคุณค่าหนังตะลุง หวังปั้นทายาททางวัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผศ.ดร.กฤติยา ชูสงค์ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนพร้อมด้วย ผศ.บัณฑิตา วรศรี อ.ตถาตา สมพงศ์ อ.อักษราวดี ปัทมสันติวงศ์ และ อ.ธัชพล ภัทรจริยา ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 ซึ่งผลงานของตนและ อ.ตถาตา ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับดีมาก ภาคบรรยาย ในสาขาการศึกษา และ สาขาสังคมศาสตร์ โดยตนศึกษาเรื่องจิตรกรรมฝาผนังสู่การเรียนรู้ : ศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุงอัตลักษณ์ท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดคูเต่า ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนเรียนรู้ถึงศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุงที่เชื่อมโยงเรื่องราวจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่า เรื่องพระเวสสันดรชาดก ทำให้เยาวชนและคนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและอัตลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงหนังตะลุง และเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการสืบสาน อนุรักษ์ อีกทั้งเป็นการสร้างทายาททางวัฒนธรรมผลิตผลงานศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุงให้คงอยู่คู่ชุมชนวัดคูเต่า
ผศ.ดร.กฤติยา กล่าวว่า วัดคูเต่าเป็นวัดเก่าแก่มีประวัติยาวนาน เป็นศูนย์กลางจิตใจของชุมชนชาวคูเต่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านประติมากรรม สถาปัตยกรรม และจิตรกรรมฝาผนังที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของช่างท้องถิ่นที่มีความงดงามอย่างยิ่ง จิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่าถ่ายทอดเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา เรื่องพระเวสสันดรชาดก เป็นภาพจิตรกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาของช่างท้องถิ่น ที่นำรูปแบบของตัวหนังตะลุงถ่ายทอดเรื่องราวลงบนฝาผนัง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลความนิยมของหนังตะลุงในยุคสมัยนั้น คุณค่าและความสำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่า จึงควรมีการสืบสานและเผยแพร่ให้เยาวชนรุ่นหลังและคนในชุมชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน
อาจารย์ผู้ทำวิจัย กล่าวอีกว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวใต้ ถือเป็นการละเล่นที่แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพ ไหวพริบและปฏิภาณของนายหนัง เพราะเป็นผู้ดำเนินเรื่องราวการเล่นหนังตะลุงเพียงคนเดียวตลอดทั้งคืน ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างโนราและหนังตะลุงมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสังคมสำหรับคนใต้มายาวนาน ก่อนจะมีระบบการศึกษาประชาบาลและการละเล่นหรือความบันเทิงสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทแทนในยุคหลัง ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นเข้ามาในประเทศไทย ทำให้หนังตะลุงได้รับผลกระทบไปด้วย คณะหนังตะลุงต่างเริ่มประยุกต์และปรับเปลี่ยนรูปแบบของตนเพื่อให้ทันต่อยุคต่อเหตุการณ์ของคนในสังคมตามแบบฉบับของหนังตะลุงยุคเก่า เพียงแต่ปรับปรุงพัฒนาในบางอย่างให้ทันสมัยขึ้น โดยมุ่งเน้นเป้าหมายผู้ชมในทุกระดับทุกเพศทุกวัย
“จะเห็นได้ว่าคณะหนังตะลุงในปัจจุบันปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบการแสดง โดยนำเอาสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบการแสดงหนังตะลุง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงแบบสมัยก่อนก็ปรับเปลี่ยนจากเครื่องห้า กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ นำเครื่องดนตรีสากล เช่น กลองชุด กีตาร์ เบส คีบอร์ด ฯลฯ เข้ามาร่วม ทำให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การสร้างทายาททางหนังตะลุงเพื่อทำหน้าที่สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ไว้จึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะบทบาทของหนังตะลุงมีอิทธิพลอย่างมากต่อชาวใต้” ผศ.ดร.กฤติยา กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังฯ การแสดงพื้นบ้านหนังตะลุง คว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก ภาคบรรยาย สาขาสังคมศาสตร์
อาจารย์คณะศิลปกรรมฯ มรภ.สงขลา ศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่า สร้างความตระหนักชุมชนเห็นคุณค่าหนังตะลุง หวังปั้นทายาททางวัฒนธรรมสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผศ.ดร.กฤติยา ชูสงค์ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนพร้อมด้วย ผศ.บัณฑิตา วรศรี อ.ตถาตา สมพงศ์ อ.อักษราวดี ปัทมสันติวงศ์ และ อ.ธัชพล ภัทรจริยา ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 28 ซึ่งผลงานของตนและ อ.ตถาตา ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับดีมาก ภาคบรรยาย ในสาขาการศึกษา และ สาขาสังคมศาสตร์ โดยตนศึกษาเรื่องจิตรกรรมฝาผนังสู่การเรียนรู้ : ศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุงอัตลักษณ์ท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดคูเต่า ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน และถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนเรียนรู้ถึงศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุงที่เชื่อมโยงเรื่องราวจากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่า เรื่องพระเวสสันดรชาดก ทำให้เยาวชนและคนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและอัตลักษณ์ของจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงหนังตะลุง และเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการสืบสาน อนุรักษ์ อีกทั้งเป็นการสร้างทายาททางวัฒนธรรมผลิตผลงานศิลปะการแสดงพื้นบ้านหนังตะลุงให้คงอยู่คู่ชุมชนวัดคูเต่า
ผศ.ดร.กฤติยา กล่าวว่า วัดคูเต่าเป็นวัดเก่าแก่มีประวัติยาวนาน เป็นศูนย์กลางจิตใจของชุมชนชาวคูเต่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์ทั้งด้านประติมากรรม สถาปัตยกรรม และจิตรกรรมฝาผนังที่สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของช่างท้องถิ่นที่มีความงดงามอย่างยิ่ง จิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่าถ่ายทอดเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา เรื่องพระเวสสันดรชาดก เป็นภาพจิตรกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาของช่างท้องถิ่น ที่นำรูปแบบของตัวหนังตะลุงถ่ายทอดเรื่องราวลงบนฝาผนัง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลความนิยมของหนังตะลุงในยุคสมัยนั้น คุณค่าและความสำคัญของภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดคูเต่า จึงควรมีการสืบสานและเผยแพร่ให้เยาวชนรุ่นหลังและคนในชุมชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน
อาจารย์ผู้ทำวิจัย กล่าวอีกว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวใต้ ถือเป็นการละเล่นที่แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพ ไหวพริบและปฏิภาณของนายหนัง เพราะเป็นผู้ดำเนินเรื่องราวการเล่นหนังตะลุงเพียงคนเดียวตลอดทั้งคืน ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอย่างโนราและหนังตะลุงมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสังคมสำหรับคนใต้มายาวนาน ก่อนจะมีระบบการศึกษาประชาบาลและการละเล่นหรือความบันเทิงสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทแทนในยุคหลัง ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น การรับเอาวัฒนธรรมของชาติอื่นเข้ามาในประเทศไทย ทำให้หนังตะลุงได้รับผลกระทบไปด้วย คณะหนังตะลุงต่างเริ่มประยุกต์และปรับเปลี่ยนรูปแบบของตนเพื่อให้ทันต่อยุคต่อเหตุการณ์ของคนในสังคมตามแบบฉบับของหนังตะลุงยุคเก่า เพียงแต่ปรับปรุงพัฒนาในบางอย่างให้ทันสมัยขึ้น โดยมุ่งเน้นเป้าหมายผู้ชมในทุกระดับทุกเพศทุกวัย
“จะเห็นได้ว่าคณะหนังตะลุงในปัจจุบันปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบการแสดง โดยนำเอาสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประกอบการแสดงหนังตะลุง เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงแบบสมัยก่อนก็ปรับเปลี่ยนจากเครื่องห้า กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ นำเครื่องดนตรีสากล เช่น กลองชุด กีตาร์ เบส คีบอร์ด ฯลฯ เข้ามาร่วม ทำให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การสร้างทายาททางหนังตะลุงเพื่อทำหน้าที่สืบสานศิลปะการแสดงพื้นบ้านนี้ไว้จึงมีความสำคัญยิ่ง เพราะบทบาทของหนังตะลุงมีอิทธิพลอย่างมากต่อชาวใต้” ผศ.ดร.กฤติยา กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024