อาจารย์-นักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา ทำวิจัยใช้ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติม 3 ชนิด เขม่าดำ แคลเซียมคาร์บอเนต ซิลิกา ช่วยลดการฉีกขาด เพิ่มความต้านทานต่อแรงดึง ต่อยอดใช้อุตสาหกรรมยาง คว้ารางวัลบทความดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
นายวัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้หัวข้อ “น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมเขม่าดำ แคลเซียมคาร์บอเนต และซิลิกา ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น (Best Paper Award) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยศึกษาการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมสารตัวเติม 3 ชนิด ได้แก่ เขม่าดำเกรด N550 แคลเซียมคาร์บอเนต และ ซิลิกา ผลการวิจัยพบว่ายางธรรมชาติผสมเขม่าดำมีสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญเสียสูงที่สุด แต่ยางธรรมชาติผสมซิลิกามีความเครียดคงรูปถาวรสูงที่สุด ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมทุกชนิดเมื่อถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง ความเครียดคงรูปถาวรของยางมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายมีค่าลดต่ำลงตามจำนวนรอบของการถูกกระทำอย่างต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางได้
นายวัชรินทร์ กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้มีอาจารย์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จาก มรภ.สงขลา เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ รวม 4 เรื่อง แบ่งเป็นภาคโปสเตอร์ 2 เรื่อง คือ อิทธิพลของสารคู่ควบไซเลนต่อการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมซิลิกาเป็นสารตัวเติม โดย น.ส.ศศิลักษณ์ ชีทอง นายกิตตินันท์ ช่วยดำ และตน กับเรื่อง การประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนองในการออกสูตรยางคอมเปานด์ : กรณีศึกษาผลของปริมาณเขม่าดำและปริมาณกำมะถัน โดย นายสุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และตน ภาคบรรยาย 2 เรื่อง คือ Strength and Strain-induced Crystallization of Sulphur-vulcanized Natural Rubber โดยตนและคณะ กับเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมเขม่าดำ แคลเซียมคาร์บอเนต และซิลิกา จัดทำโดยตนและนักศึกษา นายกิตตินันท์ ช่วยดำ น.ส.ศศิลักษณ์ ชีทอง ซึ่งได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้น 259 เรื่อง จากสถานศึกษาต่างๆ 45 แห่ง.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ทำวิจัยเพิ่มคุณภาพยาง คว้ารางวัลบทความดีเด่น สาขาวิทย์ฯ กายภาพ
อาจารย์-นักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา ทำวิจัยใช้ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติม 3 ชนิด เขม่าดำ แคลเซียมคาร์บอเนต ซิลิกา ช่วยลดการฉีกขาด เพิ่มความต้านทานต่อแรงดึง ต่อยอดใช้อุตสาหกรรมยาง คว้ารางวัลบทความดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ
นายวัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 10 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ภายใต้หัวข้อ “น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมเขม่าดำ แคลเซียมคาร์บอเนต และซิลิกา ได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น (Best Paper Award) สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยศึกษาการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมสารตัวเติม 3 ชนิด ได้แก่ เขม่าดำเกรด N550 แคลเซียมคาร์บอเนต และ ซิลิกา ผลการวิจัยพบว่ายางธรรมชาติผสมเขม่าดำมีสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญเสียสูงที่สุด แต่ยางธรรมชาติผสมซิลิกามีความเครียดคงรูปถาวรสูงที่สุด ยางธรรมชาติผสมสารตัวเติมทุกชนิดเมื่อถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง ความเครียดคงรูปถาวรของยางมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย ส่วนการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายมีค่าลดต่ำลงตามจำนวนรอบของการถูกกระทำอย่างต่อเนื่องที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางได้
นายวัชรินทร์ กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้มีอาจารย์และนักศึกษาโปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จาก มรภ.สงขลา เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ รวม 4 เรื่อง แบ่งเป็นภาคโปสเตอร์ 2 เรื่อง คือ อิทธิพลของสารคู่ควบไซเลนต่อการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมซิลิกาเป็นสารตัวเติม โดย น.ส.ศศิลักษณ์ ชีทอง นายกิตตินันท์ ช่วยดำ และตน กับเรื่อง การประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนองในการออกสูตรยางคอมเปานด์ : กรณีศึกษาผลของปริมาณเขม่าดำและปริมาณกำมะถัน โดย นายสุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และตน ภาคบรรยาย 2 เรื่อง คือ Strength and Strain-induced Crystallization of Sulphur-vulcanized Natural Rubber โดยตนและคณะ กับเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบสมบัติการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติผสมเขม่าดำ แคลเซียมคาร์บอเนต และซิลิกา จัดทำโดยตนและนักศึกษา นายกิตตินันท์ ช่วยดำ น.ส.ศศิลักษณ์ ชีทอง ซึ่งได้รับรางวัลบทความวิจัยดีเด่น โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้น 259 เรื่อง จากสถานศึกษาต่างๆ 45 แห่ง.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024