เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2560 ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและรากฐานทรัพยากร ได้จัดการประชุมรับฟังข้อเท็จจริงกรณีกลุ่มร้องเรียนคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดย คณะอนุกรรมการฯ เชิญหน่วยงานต่างๆ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ผู้แทนนายอำเภอเทพา และกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ 20 คน
ทั้งนี้ ว่าที่ พ.ต. อนุชาติ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชล ขอยืนยันว่ารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง และผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนมีการศึกษา EHIA ทั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญร่วมศึกษาและมีการตรวจสอบข้อมูล โดยได้ทำตามกฏหมายทุกขั้นตอนครบถ้วน จะให้เริ่มกลับไปทำใหม่คงไม่ได้ แต่กรณีที่มีการท้วงติงจากนักวิชาการ และชาวบ้านในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ในวันนี้ต้องบอกว่าข้อมูลในรายงานบางอย่างอ้างอิงจากเอกสาร และการลงสำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง ๆ ตัวอย่างเช่น ในรายงานไม่ได้ระบุว่ามีแค่สัตว์น้ำจืดอย่างเดียว แต่สัตว์น้ำประเภทอื่นเช่น สัตว์ทะเล การเพาะเลี้ยงชายฝั่งก็มีระบุด้วย เรื่องป่าไม้ก็เช่นกัน มีการศึกษาจำแนกหลายพื้นที่ หลายสังคม ทั้งป่าโกงกาง ทั้งพรรณพืชประเภทอื่นในพื้นที่ชุ่มน้ำ
ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้จำกัดเฉพาะรัศมี 5 กิโลเมตร จากโรงไฟฟ้าเท่านั้น การศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับชุมชนในระยะดังกล่าวถือว่ามีความครอบคลุมแล้ว แต่หากจะให้เพิ่มเติมแก้ไขบางประเด็นก็อาจจะไปดูทีละประเด็นว่าเป็นจริงตามข้อกล่าวอ้างหรือไม่ แต่ไม่กลับไปนับหนึ่งใหม่ ถึงอย่างไรกระบวนการดำเนินงานของโรงไฟฟ้ายังมีอีกหลายขั้นตอนจนกว่าจะไปถึงขั้นตอนการอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ.ยืนยันต่อคณะอนุกรรมการสิทธิฯการจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโรงไฟฟ้าเทพา ดำเนินการถูกต้องครบถ้วนไม่กลับไปเริ่มต้นทำใหม่
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2560 ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและรากฐานทรัพยากร ได้จัดการประชุมรับฟังข้อเท็จจริงกรณีกลุ่มร้องเรียนคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดย คณะอนุกรรมการฯ เชิญหน่วยงานต่างๆ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ผู้แทนนายอำเภอเทพา และกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ 20 คน
ทั้งนี้ ว่าที่ พ.ต. อนุชาติ ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมโครงการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชล ขอยืนยันว่ารายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง และผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมตั้งแต่ก่อนมีการศึกษา EHIA ทั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญร่วมศึกษาและมีการตรวจสอบข้อมูล โดยได้ทำตามกฏหมายทุกขั้นตอนครบถ้วน จะให้เริ่มกลับไปทำใหม่คงไม่ได้ แต่กรณีที่มีการท้วงติงจากนักวิชาการ และชาวบ้านในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ในวันนี้ต้องบอกว่าข้อมูลในรายงานบางอย่างอ้างอิงจากเอกสาร และการลงสำรวจเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง ๆ ตัวอย่างเช่น ในรายงานไม่ได้ระบุว่ามีแค่สัตว์น้ำจืดอย่างเดียว แต่สัตว์น้ำประเภทอื่นเช่น สัตว์ทะเล การเพาะเลี้ยงชายฝั่งก็มีระบุด้วย เรื่องป่าไม้ก็เช่นกัน มีการศึกษาจำแนกหลายพื้นที่ หลายสังคม ทั้งป่าโกงกาง ทั้งพรรณพืชประเภทอื่นในพื้นที่ชุ่มน้ำ
ทั้งนี้ขอบเขตพื้นที่การศึกษาไม่ได้จำกัดเฉพาะรัศมี 5 กิโลเมตร จากโรงไฟฟ้าเท่านั้น การศึกษาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับชุมชนในระยะดังกล่าวถือว่ามีความครอบคลุมแล้ว แต่หากจะให้เพิ่มเติมแก้ไขบางประเด็นก็อาจจะไปดูทีละประเด็นว่าเป็นจริงตามข้อกล่าวอ้างหรือไม่ แต่ไม่กลับไปนับหนึ่งใหม่ ถึงอย่างไรกระบวนการดำเนินงานของโรงไฟฟ้ายังมีอีกหลายขั้นตอนจนกว่าจะไปถึงขั้นตอนการอนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024