วันที่ 7 ก.ค.60 ที่บ้านขุนไชยทอง หมู่ 4 ต.หนองเรือ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ดารานักแสดงสาว ประกอบด้วย น้ำผึ้ง ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ , โบว์ เบญจศิริ วัฒนา , เกรซ พัชร์สิตา อธิอนันตศักดิ์ , มิน AF3 มิณฑิตา วัฒนกุล และ ปาย สิตางศ์ ปุณภพ ร่วมทำกิจกรรมกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในการให้อาหารช้างชุมพลบุรีจำนวน 16 เชือก ที่อยู่ในโครงการช้างคืนถิ่น ซึ่งดาราสาวและนักท่องเที่ยวแต่ละคนก็ต่างหยอกล้อกับช้างแสนซนอย่างสนุกสนาน รวมทั้งป้อนอาหารอย่างใกล้ชิด ก่อนที่ทั้งหมดจะเดินเท้าไปยังแปลงนาที่จะทำกิจกรรมลงแขกดำนาร่วมกัน ซึ่งก่อนกิจกรรม เป็นการเซ่นไหว้ศาลผีตาแฮก ตามความเชื่อเพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางก่อนประกอบกิจกรรมลงแขกดำนา
หลังจากนั้นจึงได้มีการนำช้างลงไปในแปลงนาเพื่อเดินย่ำดินเป็นเลนโคลนอ่อนนุ่ม สามารถปักดำข้าวได้อย่างง่าย โดยช้างที่ลงในแปลงนาทั้งน้อยใหญ่ก็เล่นน้ำเล่นตมเลนอย่างสนุกสนานเต็มที่ ก่อนที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ดารานักแสดง นายชูศักดิ์ ราชบุรี นายอำเภอชุมพลบุรี และชาวบ้าน จะร่วมกันเรียงแถวปักดำนากันอย่างสนุกสนาน เป็นภาพที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก ทั้งช้างลงเล่นโคลนในนา และการปักดำของชาวต่างชาติที่ดูจะปักดำไม่เป็นแต่ก็พยายามปักดำโดยมีชาวบ้านคอยแนะนำอยู่ข้างๆ ซึ่งชาวต่างชาติที่มาร่วมกิจกรรมต่างตื่นเต้นและดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มาร่วมกิจกรรม ซึ่งบางคนถือว่าเป็นครั้งแรกของชีวิตที่เข้าใจว่ากระบวนการปลูกข้าวเป็นเช่นไร
คุณแสงเดือน ไชยเลิศ ประธานมูลนิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เชียงใหม่ กล่าวว่า เนื่องจากหมู่บ้านขุนไชยทองเป็นหมู่บ้านที่มีการนำช้างมาเร่ร่อนมากที่สุดและการนำช้างมาเร่ร่อนได้สร้างปัญหาให้กับภาพลักษณ์ของประเทศไทยตลอดมา ในปัจจุบันทางมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ ได้มีโครงการ “พาช้างกลับบ้าน นำควาญคืนถิ่น” เป็นการนำช้างกลับมาอยู่ในครอบครัว ควาญช้างส่วนใหญ่ได้กลับเข้ามาดูแลช้างและเข้าสู่อาชีพการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัวคนเลี้ยงช้างในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย จึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น
ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ปัญหาช้างเร่ร่อนเป็นปัญหาของทุกรัฐบาลพยายามที่จะแก้ไขปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่เขาไปเดินถนนไม่ใช่มีความสุขเขาต้องการมีงานทำและต้องการเงิน เราจึงคิดว่าสิ่งที่จะแก้ปัญหาอย่างตรงจุดก็คือ จะต้องให้ผู้เลี้ยงช้างมีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ จึงได้มาปรึกษากับชาวบ้านว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าจะเอาช้างกลับมาบ้าน จึงเกิดโครงการนำช้างกลับบ้าน พาควาญคืนถิ่น ในเมื่อพากลับมาแล้วจะต้องหาทางหารายได้ จึงได้เปิดโฮมสเตย์ในพื้นที่ นอกจากจะมีช้างแล้วก็มีข้าวหอมมะลิสุรินทร์ที่มีชื่อเสียงมาก อย่างข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ชื่อเสียงมีเฉพาะในประเทศไทยแล้วก็อยากให้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกด้วย จึงจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อนำนักท่องเที่ยวมาจากทั่วโลก ซึ่งนักท่องเที่ยวมีทั้งนักเขียนสารคดี นักถ่ายภาพสารคดี เพื่อมาช่วยโปรโมทในการทำข้าวหอมมะลิด้วย และก็เอาช้างกลับมาถึงบ้านเปิดโฮมสเตย์ ซึ่งจะเป็นโครงการที่จะให้ชาวบ้านชาวช้างยืนอยู่ได้ด้วยตัวเขาเอง ซึ่งปลายเดือนนี้ยังจะมีกรุ๊ปทัวร์ใหญ่ๆเข้ามาพัก คือนักเรียนจากนานาชาติเข้ามาพักที่นี่ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปบ้านขุนไชยทอง ก็จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว เป็นวิธีการเดียวที่จะแก้ไขปัญหาให้เขาได้ ทั้งนี้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจะไม่ได้เข้ามานั่งช้างเที่ยวอย่างเดียว แต่จะมาช่วยชาวบ้าน ปลูกข้าว ทำนา ซึ่งนักท่องเที่ยวเหล่านี้จะยอมจ่ายอาทิตย์ละประมาณ 15,000 บาท/คน ซึ่งจะมานอนและทานข้าว ชาวบ้านก็จะเอาเงินมาหมุนเวียน ถ้าเฉลี่ยแล้วอาทิตย์ละประมาณ 30 คน ที่จริงแล้วปีหนึ่งอาจจะมีรายได้หมุนเวียนหลายร้อยล้านบาท และในอนาคตตั้งใจที่จะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาให้มากที่สุด และจะได้ช่วยเหลือช้างที่อยู่ตามท้องถนน ทั้งหมดที่ไม่มีงานทำก็จะมาอยู่ที่นี่
คุณแสงเดือน กล่าวเพิ่มอีกว่า กิจกรรมดำนาครั้งนี้ชาวต่างชาติตื่นเต้นกันมาก มีชาวต่างชาติสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมนับร้อยคน แต่ไม่สามารถรับมาได้ทั้งหมด เนื่องจากเตรียมที่นำนาไว้น้อย กลัวจะมาแออัดกัน และกลางเดือนนี้ก็จะมีกิจกรรมดำนานอีก คนไทยอาจจะมองการดำนานเป็นเรื่องปกติ แต่ชาวต่างชาตินั้นมองดูแล้วดูตื่นเต้นมาก เพราะจะได้เรียนรู้การดำนาน บางคนไม่เคยรู้เลยว่าข้าวออกผลผลิตอย่างไร บางคนคิดว่าข้าวออกมาเป็นลูกและแตกเมล็ดออกมาก็มี การดำนาปลูกข้าว จะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวนาออกไปสู้สายตาชาวโลก ซึ่งจะมีคนนำเรื่องราวของชาวนาไทย ว่ามีความยากลำบากขนาดไหนกว่าจะขายข้าวได้ เรื่องราวก็จะถูกถ่ายทอดออกไป.
กำชัย วันสุข ทีมข่าว ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว ,ภาพ
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
อำเภอชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ สานต่อหมู่บ้านโฮมสเตย์อนุรักษ์นำช้างคืนถิ่น นำดาราสาวและชาวต่างชาติลงแขก”ดำนาพาช้างกลับบ้าน”
วันที่ 7 ก.ค.60 ที่บ้านขุนไชยทอง หมู่ 4 ต.หนองเรือ อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์ ดารานักแสดงสาว ประกอบด้วย น้ำผึ้ง ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ , โบว์ เบญจศิริ วัฒนา , เกรซ พัชร์สิตา อธิอนันตศักดิ์ , มิน AF3 มิณฑิตา วัฒนกุล และ ปาย สิตางศ์ ปุณภพ ร่วมทำกิจกรรมกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งอเมริกา ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในการให้อาหารช้างชุมพลบุรีจำนวน 16 เชือก ที่อยู่ในโครงการช้างคืนถิ่น ซึ่งดาราสาวและนักท่องเที่ยวแต่ละคนก็ต่างหยอกล้อกับช้างแสนซนอย่างสนุกสนาน รวมทั้งป้อนอาหารอย่างใกล้ชิด ก่อนที่ทั้งหมดจะเดินเท้าไปยังแปลงนาที่จะทำกิจกรรมลงแขกดำนาร่วมกัน ซึ่งก่อนกิจกรรม เป็นการเซ่นไหว้ศาลผีตาแฮก ตามความเชื่อเพื่อบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางก่อนประกอบกิจกรรมลงแขกดำนา
หลังจากนั้นจึงได้มีการนำช้างลงไปในแปลงนาเพื่อเดินย่ำดินเป็นเลนโคลนอ่อนนุ่ม สามารถปักดำข้าวได้อย่างง่าย โดยช้างที่ลงในแปลงนาทั้งน้อยใหญ่ก็เล่นน้ำเล่นตมเลนอย่างสนุกสนานเต็มที่ ก่อนที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ดารานักแสดง นายชูศักดิ์ ราชบุรี นายอำเภอชุมพลบุรี และชาวบ้าน จะร่วมกันเรียงแถวปักดำนากันอย่างสนุกสนาน เป็นภาพที่น่าประทับใจเป็นอย่างมาก ทั้งช้างลงเล่นโคลนในนา และการปักดำของชาวต่างชาติที่ดูจะปักดำไม่เป็นแต่ก็พยายามปักดำโดยมีชาวบ้านคอยแนะนำอยู่ข้างๆ ซึ่งชาวต่างชาติที่มาร่วมกิจกรรมต่างตื่นเต้นและดีใจเป็นอย่างมากที่ได้มาร่วมกิจกรรม ซึ่งบางคนถือว่าเป็นครั้งแรกของชีวิตที่เข้าใจว่ากระบวนการปลูกข้าวเป็นเช่นไร
คุณแสงเดือน ไชยเลิศ ประธานมูลนิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เชียงใหม่ กล่าวว่า เนื่องจากหมู่บ้านขุนไชยทองเป็นหมู่บ้านที่มีการนำช้างมาเร่ร่อนมากที่สุดและการนำช้างมาเร่ร่อนได้สร้างปัญหาให้กับภาพลักษณ์ของประเทศไทยตลอดมา ในปัจจุบันทางมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ ได้มีโครงการ “พาช้างกลับบ้าน นำควาญคืนถิ่น” เป็นการนำช้างกลับมาอยู่ในครอบครัว ควาญช้างส่วนใหญ่ได้กลับเข้ามาดูแลช้างและเข้าสู่อาชีพการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัวคนเลี้ยงช้างในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีที่สุดในประเทศไทย จึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้น
ประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม เชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ปัญหาช้างเร่ร่อนเป็นปัญหาของทุกรัฐบาลพยายามที่จะแก้ไขปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่เขาไปเดินถนนไม่ใช่มีความสุขเขาต้องการมีงานทำและต้องการเงิน เราจึงคิดว่าสิ่งที่จะแก้ปัญหาอย่างตรงจุดก็คือ จะต้องให้ผู้เลี้ยงช้างมีรายได้สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ จึงได้มาปรึกษากับชาวบ้านว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าจะเอาช้างกลับมาบ้าน จึงเกิดโครงการนำช้างกลับบ้าน พาควาญคืนถิ่น ในเมื่อพากลับมาแล้วจะต้องหาทางหารายได้ จึงได้เปิดโฮมสเตย์ในพื้นที่ นอกจากจะมีช้างแล้วก็มีข้าวหอมมะลิสุรินทร์ที่มีชื่อเสียงมาก อย่างข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ชื่อเสียงมีเฉพาะในประเทศไทยแล้วก็อยากให้มีชื่อเสียงไปทั่วโลกด้วย จึงจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อนำนักท่องเที่ยวมาจากทั่วโลก ซึ่งนักท่องเที่ยวมีทั้งนักเขียนสารคดี นักถ่ายภาพสารคดี เพื่อมาช่วยโปรโมทในการทำข้าวหอมมะลิด้วย และก็เอาช้างกลับมาถึงบ้านเปิดโฮมสเตย์ ซึ่งจะเป็นโครงการที่จะให้ชาวบ้านชาวช้างยืนอยู่ได้ด้วยตัวเขาเอง ซึ่งปลายเดือนนี้ยังจะมีกรุ๊ปทัวร์ใหญ่ๆเข้ามาพัก คือนักเรียนจากนานาชาติเข้ามาพักที่นี่ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปบ้านขุนไชยทอง ก็จะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว เป็นวิธีการเดียวที่จะแก้ไขปัญหาให้เขาได้ ทั้งนี้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจะไม่ได้เข้ามานั่งช้างเที่ยวอย่างเดียว แต่จะมาช่วยชาวบ้าน ปลูกข้าว ทำนา ซึ่งนักท่องเที่ยวเหล่านี้จะยอมจ่ายอาทิตย์ละประมาณ 15,000 บาท/คน ซึ่งจะมานอนและทานข้าว ชาวบ้านก็จะเอาเงินมาหมุนเวียน ถ้าเฉลี่ยแล้วอาทิตย์ละประมาณ 30 คน ที่จริงแล้วปีหนึ่งอาจจะมีรายได้หมุนเวียนหลายร้อยล้านบาท และในอนาคตตั้งใจที่จะนำนักท่องเที่ยวเข้ามาให้มากที่สุด และจะได้ช่วยเหลือช้างที่อยู่ตามท้องถนน ทั้งหมดที่ไม่มีงานทำก็จะมาอยู่ที่นี่
คุณแสงเดือน กล่าวเพิ่มอีกว่า กิจกรรมดำนาครั้งนี้ชาวต่างชาติตื่นเต้นกันมาก มีชาวต่างชาติสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมนับร้อยคน แต่ไม่สามารถรับมาได้ทั้งหมด เนื่องจากเตรียมที่นำนาไว้น้อย กลัวจะมาแออัดกัน และกลางเดือนนี้ก็จะมีกิจกรรมดำนานอีก คนไทยอาจจะมองการดำนานเป็นเรื่องปกติ แต่ชาวต่างชาตินั้นมองดูแล้วดูตื่นเต้นมาก เพราะจะได้เรียนรู้การดำนาน บางคนไม่เคยรู้เลยว่าข้าวออกผลผลิตอย่างไร บางคนคิดว่าข้าวออกมาเป็นลูกและแตกเมล็ดออกมาก็มี การดำนาปลูกข้าว จะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวนาออกไปสู้สายตาชาวโลก ซึ่งจะมีคนนำเรื่องราวของชาวนาไทย ว่ามีความยากลำบากขนาดไหนกว่าจะขายข้าวได้ เรื่องราวก็จะถูกถ่ายทอดออกไป.
กำชัย วันสุข ทีมข่าว ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว ,ภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024