มรภ.สงขลา นำนักศึกษาพัฒนาชุมชนกว่า 300 คน ออกค่ายสร้างฝายมีชีวิต ดึงคนในท้องถิ่นร่วมบริหารจัดการน้ำ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
น.ส.ถวิล อินทรโม อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการค่ายบ่มเพาะนักพัฒนาฝายมีชีวิต ระหว่างวันที่ 14-16 ต.ค. 59 ณ รร.บ้านหนองธง ต.หนองธง อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ฝายมีชีวิตเป็นกระบวนการบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำหลาก น้ำแล้ง น้ำใต้ดิน การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน ปัญหาสังคมการเมืองที่ขาดจิตสำนึกสาธารณะ (พลเมือง) โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับแนวคิดการจัดการตนเองของชุมชน กล่าวคือ ฝายมีชีวิตเป็นกระบวนการให้ชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้ข้อมูลน้ำของชุมชน โดยชุมชน จนชุมชนสามารถจัดการน้ำได้เอง และสามารถกำหนดทิศทางของเขาเองได้ อีกทั้งมีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีภาคีเครือข่ายภายนอกเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน
ข้อตกลงร่วมกันของฝายมีชีวิต คือ 1. ต้องเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน เป็นการระเบิดจากข้างใน 2. ต้องไม่เริ่มด้วยงบประมาณ แต่ให้เริ่มจากการสร้างความเข้าใจ สร้างปัญญา แล้วเงินตราจะมาเอง 3. เข้าใจความหมายของระบบนิเวศในมุมมองของชาวบ้านว่าหมายถึงการสามารถอยู่ร่วมกันได้ 4. ไม่ใช้โครงสร้างแข็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมทางธรรมชาติ เช่น ปูน เหล็ก 5. ใช้ระบบนิเวศของรากไทรเป็นตัวยึดโครงสร้างฝาย ซึ่งใช้โครงสร้างไม้ เช่น ไม้ไผ่ ไม้กระถิน เป็นต้น เป็นโครงสร้างพื้นฐานในช่วงแรก ใช้ขี้วัว ขุยมะพร้าวใส่กระสอบ เป็นอาหารของต้นไทร ใช้ทรายใส่กระสอบเป็นตัวยึดกั้นไม่ให้กระแสน้ำพัดพากระสอบขุยมะพร้าวและขี้วัว ต่อมาเมื่อรากไทรประสานกันทั้งสองฝั่งก็จะเกิดตัวฝายที่เป็นการประสานกันของรากต้นไม้ที่ยิ่งนานวันยิ่งแข็งแรง และเกิดวังบริเวณหน้าฝาย 6. ตัวฝายเป็นตัวกั้นน้ำ ดินเป็นตัวเก็บน้ำ พืชทั้งสองฝั่งคลองเป็นตัวเก็บน้ำและให้น้ำ 7. ต้องปลูกพืชที่รักษาตลิ่งทั้งสองฝั่ง และ 8. ต้องมีกติกาหรือข้อตกลงร่วมกันของชุมชน
นายณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล ประธานโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กระบวนการและข้อตกลงของฝายมีชีวิตสะท้อนให้เห็นถึงมิติการจัดการน้ำโดยชุมชน ที่เน้นการใช้ทุนและทรัพยากรภายในชุมชนเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพัฒนาชุมชน ดังนั้น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จึงจัดโครงการค่ายบ่มเพาะนักพัฒนาฝายมีชีวิตขึ้น เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาในโปรแกรมฯ กว่า 300 คน เรียนรู้หลักการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และการจัดการพลังชุมชนผ่านกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่สำคัญ เป็นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้หลักการพัฒนาแบบมีชีวิต ส่งผลให้เกิดความเข้าใจต่อแนวคิดทฤษฎีด้านการพัฒนาชุมชนมากยิ่งขึ้น
ด้าน น.ส.แกมกาญจน์ ปานหมอน “แกม” นักศึกษาปี 4 โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ผู้ร่วมออกค่ายในครั้งนี้ กล่าวว่า ภูมิใจและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำฝายมีชีวิต ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการทำความดีเพื่อแผ่นดินเกิด ตนและเพื่อนๆ ทุกคนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือการทำเพื่อพระองค์ท่าน ถือเป็นความภาคภูมิใจที่หาซื้อไม่ได้จากที่ไหน ต่อให้วันนี้พระองค์ท่านไม่อยู่แล้ว แต่พวกตนก็จะไม่หยุดทำความดี เพราะพวกตนเชื่อว่าพระองค์ท่านจะทรงเห็นถึงสิ่งที่พวกตนทำ
“พวกลูกได้ทำหน้าที่ที่พ่อสั่งสอนมาตลอดเวลา 70 ปี จะตั้งมั่นและตั้งใจทำในสิ่งที่พ่อสอน พ่อเหนื่อยมามากแล้ว ถึงเวลาที่พ่อต้องพักบ้าง ลูกสัญญาในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ลูกจะทำทุกอย่างด้วยใจสุจริต ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้พ่อผิดหวัง เราทุกคนรำลึกเสมอว่าสิ่งที่พ่อทำนั้นยิ่งใหญ่จนชีวิตนี้หาที่เปรียบมิได้ พวกเรารักพ่อ และจะรักแบบนี้ตลอดไป” น.ส.แกมกาญจน์ กล่าว
ขณะที่ นายฤทธิชัย วงค์ชู “เล้ง” นักศึกษาปี 2 ชาวค่ายอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ทันทีที่ตนและเพื่อนๆ ทราบข่าวการเสด็จสวรรคต ทุกคนไม่มีจิตใจที่จะทำอะไรอีกเลย แต่เมื่อ อ.ถวิล บอกว่าฝายนี้เราจะสร้างเพื่อถวายพระองค์ท่าน ทุกคนกลับมีเรี่ยวแรงและความมุมานะที่จะทำให้สำเร็จ แม้การทำฝายชะลอน้ำจะเป็นสิ่งที่พวกตนไม่เคยทำมาก่อน นึกภาพไม่ออกว่าจะออกมารูปร่างเช่นไร แต่ชาวค่ายก็ช่วยกันทำอย่างสุดความสามารถ และทำด้วยใจ บางคนเจ็บไปทั้งตัว ได้แผลกันไปบ้าง แต่ทุกคนก็สู้ไม่ถอยเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ปิดท้ายด้วย นายวุฒิกร ขุนดำ “นก” นักศึกษาปี 2 กล่าวว่า ตอนแรกตนอยากไปทำฝายเพราะเห็นว่าน่าสนุกดี แต่เมื่อได้ไปทำจริงๆ ทำให้นึกถึงตอนที่เคยดูสารคดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าและน้ำ พระองค์ท่านทรงเน้นย้ำให้คนไทยรักษาป่าและน้ำ เพื่อให้มีกินมีใช้ไปนานๆ เพราะหากขาดน้ำและผืนป่าความทุกข์ยากต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น หลังเสร็จจากค่ายตนกลับมาเปิดยูทูปดูตอนพระองค์ท่านเรียกประชุมผู้ว่าราชการ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หนึ่งในนั้นก็คือการทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งตนเพิ่งไปทำมา ทำให้รู้สึกภูมิใจมากที่ได้ดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท แม้การทำฝ่ายจะเหน็ดเหนื่อย แต่เมื่อได้เห็นรูปของพระองค์ท่านขณะทรงงานในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งติดไว้หน้าอาคารที่พัก ความเหน็ดเหนื่อยนั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ออกค่ายสร้างฝายมีชีวิต ดึงชุมชนอนุรักษ์น้ำตามรอยเบื้องพระยุคลบาท
มรภ.สงขลา นำนักศึกษาพัฒนาชุมชนกว่า 300 คน ออกค่ายสร้างฝายมีชีวิต ดึงคนในท้องถิ่นร่วมบริหารจัดการน้ำ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
น.ส.ถวิล อินทรโม อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ผู้เสนอโครงการค่ายบ่มเพาะนักพัฒนาฝายมีชีวิต ระหว่างวันที่ 14-16 ต.ค. 59 ณ รร.บ้านหนองธง ต.หนองธง อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ฝายมีชีวิตเป็นกระบวนการบรรเทาปัญหาน้ำท่วม น้ำหลาก น้ำแล้ง น้ำใต้ดิน การกัดเซาะชายฝั่ง ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน ปัญหาสังคมการเมืองที่ขาดจิตสำนึกสาธารณะ (พลเมือง) โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับแนวคิดการจัดการตนเองของชุมชน กล่าวคือ ฝายมีชีวิตเป็นกระบวนการให้ชุมชนลุกขึ้นมาเรียนรู้ข้อมูลน้ำของชุมชน โดยชุมชน จนชุมชนสามารถจัดการน้ำได้เอง และสามารถกำหนดทิศทางของเขาเองได้ อีกทั้งมีแผนการจัดการอย่างเป็นระบบ โดยมีภาคีเครือข่ายภายนอกเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน
ข้อตกลงร่วมกันของฝายมีชีวิต คือ 1. ต้องเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน เป็นการระเบิดจากข้างใน 2. ต้องไม่เริ่มด้วยงบประมาณ แต่ให้เริ่มจากการสร้างความเข้าใจ สร้างปัญญา แล้วเงินตราจะมาเอง 3. เข้าใจความหมายของระบบนิเวศในมุมมองของชาวบ้านว่าหมายถึงการสามารถอยู่ร่วมกันได้ 4. ไม่ใช้โครงสร้างแข็งที่เป็นสิ่งแปลกปลอมทางธรรมชาติ เช่น ปูน เหล็ก 5. ใช้ระบบนิเวศของรากไทรเป็นตัวยึดโครงสร้างฝาย ซึ่งใช้โครงสร้างไม้ เช่น ไม้ไผ่ ไม้กระถิน เป็นต้น เป็นโครงสร้างพื้นฐานในช่วงแรก ใช้ขี้วัว ขุยมะพร้าวใส่กระสอบ เป็นอาหารของต้นไทร ใช้ทรายใส่กระสอบเป็นตัวยึดกั้นไม่ให้กระแสน้ำพัดพากระสอบขุยมะพร้าวและขี้วัว ต่อมาเมื่อรากไทรประสานกันทั้งสองฝั่งก็จะเกิดตัวฝายที่เป็นการประสานกันของรากต้นไม้ที่ยิ่งนานวันยิ่งแข็งแรง และเกิดวังบริเวณหน้าฝาย 6. ตัวฝายเป็นตัวกั้นน้ำ ดินเป็นตัวเก็บน้ำ พืชทั้งสองฝั่งคลองเป็นตัวเก็บน้ำและให้น้ำ 7. ต้องปลูกพืชที่รักษาตลิ่งทั้งสองฝั่ง และ 8. ต้องมีกติกาหรือข้อตกลงร่วมกันของชุมชน
นายณัฏฐาพงศ์ อภิโชติเดชาสกุล ประธานโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า กระบวนการและข้อตกลงของฝายมีชีวิตสะท้อนให้เห็นถึงมิติการจัดการน้ำโดยชุมชน ที่เน้นการใช้ทุนและทรัพยากรภายในชุมชนเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพัฒนาชุมชน ดังนั้น หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จึงจัดโครงการค่ายบ่มเพาะนักพัฒนาฝายมีชีวิตขึ้น เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษาในโปรแกรมฯ กว่า 300 คน เรียนรู้หลักการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และการจัดการพลังชุมชนผ่านกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่สำคัญ เป็นการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้หลักการพัฒนาแบบมีชีวิต ส่งผลให้เกิดความเข้าใจต่อแนวคิดทฤษฎีด้านการพัฒนาชุมชนมากยิ่งขึ้น
ด้าน น.ส.แกมกาญจน์ ปานหมอน “แกม” นักศึกษาปี 4 โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ผู้ร่วมออกค่ายในครั้งนี้ กล่าวว่า ภูมิใจและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำฝายมีชีวิต ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการทำความดีเพื่อแผ่นดินเกิด ตนและเพื่อนๆ ทุกคนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือการทำเพื่อพระองค์ท่าน ถือเป็นความภาคภูมิใจที่หาซื้อไม่ได้จากที่ไหน ต่อให้วันนี้พระองค์ท่านไม่อยู่แล้ว แต่พวกตนก็จะไม่หยุดทำความดี เพราะพวกตนเชื่อว่าพระองค์ท่านจะทรงเห็นถึงสิ่งที่พวกตนทำ
“พวกลูกได้ทำหน้าที่ที่พ่อสั่งสอนมาตลอดเวลา 70 ปี จะตั้งมั่นและตั้งใจทำในสิ่งที่พ่อสอน พ่อเหนื่อยมามากแล้ว ถึงเวลาที่พ่อต้องพักบ้าง ลูกสัญญาในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ลูกจะทำทุกอย่างด้วยใจสุจริต ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้พ่อผิดหวัง เราทุกคนรำลึกเสมอว่าสิ่งที่พ่อทำนั้นยิ่งใหญ่จนชีวิตนี้หาที่เปรียบมิได้ พวกเรารักพ่อ และจะรักแบบนี้ตลอดไป” น.ส.แกมกาญจน์ กล่าว
ขณะที่ นายฤทธิชัย วงค์ชู “เล้ง” นักศึกษาปี 2 ชาวค่ายอีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ทันทีที่ตนและเพื่อนๆ ทราบข่าวการเสด็จสวรรคต ทุกคนไม่มีจิตใจที่จะทำอะไรอีกเลย แต่เมื่อ อ.ถวิล บอกว่าฝายนี้เราจะสร้างเพื่อถวายพระองค์ท่าน ทุกคนกลับมีเรี่ยวแรงและความมุมานะที่จะทำให้สำเร็จ แม้การทำฝายชะลอน้ำจะเป็นสิ่งที่พวกตนไม่เคยทำมาก่อน นึกภาพไม่ออกว่าจะออกมารูปร่างเช่นไร แต่ชาวค่ายก็ช่วยกันทำอย่างสุดความสามารถ และทำด้วยใจ บางคนเจ็บไปทั้งตัว ได้แผลกันไปบ้าง แต่ทุกคนก็สู้ไม่ถอยเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ปิดท้ายด้วย นายวุฒิกร ขุนดำ “นก” นักศึกษาปี 2 กล่าวว่า ตอนแรกตนอยากไปทำฝายเพราะเห็นว่าน่าสนุกดี แต่เมื่อได้ไปทำจริงๆ ทำให้นึกถึงตอนที่เคยดูสารคดีเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าและน้ำ พระองค์ท่านทรงเน้นย้ำให้คนไทยรักษาป่าและน้ำ เพื่อให้มีกินมีใช้ไปนานๆ เพราะหากขาดน้ำและผืนป่าความทุกข์ยากต่างๆ ก็จะเกิดขึ้น หลังเสร็จจากค่ายตนกลับมาเปิดยูทูปดูตอนพระองค์ท่านเรียกประชุมผู้ว่าราชการ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หนึ่งในนั้นก็คือการทำฝายชะลอน้ำ ซึ่งตนเพิ่งไปทำมา ทำให้รู้สึกภูมิใจมากที่ได้ดำเนินรอยตามเบื้องพระยุคลบาท แม้การทำฝ่ายจะเหน็ดเหนื่อย แต่เมื่อได้เห็นรูปของพระองค์ท่านขณะทรงงานในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งติดไว้หน้าอาคารที่พัก ความเหน็ดเหนื่อยนั้นก็หายเป็นปลิดทิ้ง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024