เล่าเรื่องคนเมืองเพชร บ้านข่าวจะพาผู้อ่านมารู้จักกับคนในเมื่องเพชรอีกท่ายหนึ่งค่ะ ท่านเป็นหัวหน้าประมงตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ติ๊กได้รับเกียติจากหน้าประมงบอกเล่าถึงการทำงานและหน้าให้ประชาชนรับทราบค่ะ ผมเกิดในจังหวัดเพชรบุรี พื้นเพเป็นคนหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี แต่ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่จังหวัดชุมพร จึงได้เข้าเรียนที่จังหวัดชุมพร และมาจบการศึกษาที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเพชรบุรี (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรเพชรบุรีในปัจจุบัน)
เริ่มรับราชการที่สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดสมุทรสาคร (ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ปัจจุบันอายุราชการ 29 ปี โดยได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งประมงอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ประมงอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และ ประมงอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งประมงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่ วันที่ 4 ธันวาคม 2555
สมัยเด็กๆ ครอบครัวประกอบอาชีพทำการประมง และเคยได้ช่วยครอบครัวออกทำการประมงช่วงวันหยุดและช่วงปิดเทอม จึงค่อนข้างมีความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวประมง และเข้าใจถึงความยากลำบากในการทำการประมง และไฝ่ฝันจะรับราชการกรมประมงตั้งแต่เด็กๆ
อำเภอบ้านแหลมเป็นพื้นที่ชายทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีกิจกรรมด้านการประมงมากมายหลายชนิด เริ่มตั้งแต่มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ปลานิล ปลาช่อน บริเวณตำบลบางครก ท่าแร้ง แหลมผักเบี้ย บางขุนไทร ในบริเวณชายทะเลซึ่งส่วนใหญ่เป็นทะเลโคลน จะมีการเลี้ยงกุ้งธรรมชาติ เลี้ยงปูทะเล และบริเวณพื้นที่ในทะเลมีการเลี้ยงหอยแครง หอยกระปุก หอยแมลงภู่ และหอยนางรม ทางด้านการทำการประมงเริ่มตั้งแต่ทำการประมงพื้นบ้าน หากุ้ง ปู ปลา หอย ในคลองสาขาต่างๆ และในทะเลชายฝั่ง โดยใช้จับด้วยมือและเครื่องมือประมงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป สำหรับด้านการประมงพาณิชย์มีเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์กว่า 400 ลำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมืออวนครอบหมึก นอกจากนั้นก็มีเครื่องมือ อวนติดตา ลอบหมึกสาย สอบหมึกหอม อวนลาก คราดหอยลาย ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าอำเภอบ้านแหลมเป็นอำเภอที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้มีการแก่งแย่งทรัพยากรสัตว์น้ำกันมาก และในสภาวะปัจจุบันสภาพแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรมจากกิจกรรมต่อเนื่องทางด้านการประมง (สถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำ) น้ำเสียจากครัวเรือนในชุมชนที่มีการขยายตัว และกิจกรรมภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม จากต้นน้ำและบริเวณชายทะเล ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้สัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งลดลง ส่งผลให้อัตราการเกิดและเติบโตของสัตว์น้ำไม่สมดุลกับการจับ
ปัญหาด้านการเพาะเลี้ยงหอยแครงในทะเลที่เกษตรกรประสบคืออัตราการรอดตายของหอยแครงน้อยจนบางครั้งไม่คุ้มทุน เนื่องจากพื้นที่เลี้ยงเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ทั้งจากการเลี้ยงที่มีการสะสมของเสียมานานและน้ำเสียจากต้นน้ำที่มาสะสมบริเวณปากแม่น้ำ และปัญหาเรื่องการเลี้ยงหอยแมลงภู่จะประสบปัญหาเรื่องไม้ไผ่ที่ใช้ล่อลูกหอยมีราคาแพง คุณภาพไม่ดี และมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้หลายรายหันไปใช้วัสดุอื่นซึ่งวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ยางรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการใช้ในพื้นที่ทะเลหน้าตำบลบ้านแหลมและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น และหากยังไม่มีการควบคุมการใช้ยางรถจักรยานยนต์จะส่งผลให้ในอนาคตจะเป็นแหล่งสะสมของสารพิษเนื่องจากการย่อยสลายของยางทำให้ลูกหอยในธรรมชาติไม่เกิด สัตว์น้ำชายฝั่งอาศัยอยู่ไม่ได้ นั่นจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประมงชายฝั่งและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของอำเภอบ้านแหลม
สำหรับปัญหาดังกล่าวได้มีการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นโดยกรมประมงได้จัดทำโครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งผลิตหอยแครง ซึ่งกิจกรรมในโครงการที่สำคัญคือการสนับสนุน ปม.บอล ให้เกษตรกรที่เลี้ยงหอยแครงนำไปบำบัดแปลงเลี้ยงหอยของตนเองในทะเล โดยจะแจกจ่ายให้เกษตรกร จำนวน 200 ก้อน/ไร่ ซึ่ง ปม.บอล จะเป็นจุลินทรีย์ที่กรมประมงผลิตขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายเกษตรกรในไปขยายเพิ่มปริมาณเชื้อจุลินทรีย์และนำไปบำบัดน้ำและของเสียในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ(จุลินทรีย์ ปม.1) และการทำเป็นก้อนก็พัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้ในทะเลเพื่อการบำบัดดินบริเวณคอกเลี้ยงหอยแครง และปัญหาการใช้ยางรถจักรยานยนต์ก็ได้มีคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีห้ามใช้และให้รื้อถอนขึ้น โดยในการกำหนดเขตการเลี้ยงและเงื่อนไขต่างๆ จังหวัดเพชรบุรี จะได้ร่วมพิจารณาใหม่โดยคณะกรรมการประมงจังหวัด
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องการทำการประมง เช่น การลักลอบคราดหอยแครงในพื้นที่ที่ประกาศห้ามใช้เครื่องมือประมงทำให้ชาวบ้านผู้เก็บหอยด้วยมือเดือดร้อน ปัญหาการคราดหอยลายเข้ามาบริเวณชายฝั่งและทำลายเครื่องมือประมงชนิดอื่น ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างเครื่องมือประมง ปัญหาการได้รับอนุญาตทำการประมงพาณิชย์เพียงเครื่องมือเดียวโดยเฉพาะลอบหมึกสายเนื่องจากฤดูกาลของหมึกสายมีมากแค่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมและช่วงอื่นไม่สามารถออกทำการประมงด้วยเครื่องมืออื่นได้ และยังมีปัญหาการลักลอบใช้ลอบพับในบริเวณแปลงเลี้ยงหอย การทำอวนรัง การใช้ยาเบื่อกุ้งก้ามกรามในแม่น้ำ ฯลฯ
จากปัญหาทั้งด้านการเพาะเลี้ยงและการทำการประมงซึ่งมีมากและหลากหลาย แต่จำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีน้อย ยานพาหนะและงบประมาณไม่เพียงพอ เรือที่ใช้ในการตรวจจับเสื่อมสภาพเนื่องจากมีอายุการใช้งานมานาน ทั้งยังไม่เหมาะกับการใช้งานในบริเวณที่เป็นทะเลโคลนและในบริเวณแปลงเลี้ยงหอย ทำให้การดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จบ่อย ครั้ง
อย่างไรก็ตามจากสภาพปัจจุบันทั้งชาวประมงและเกษตรกรของอำเภอบ้านแหลม ต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด เพื่อทุกอาชีพสามารถอยู่ร่วมกันได้และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยสำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม จะพยายามสนับสนุนในทุกอาชีพประมงตามระเบียบที่ถูกต้องให้ได้รับความเป็นธรรมและเสมอภาคกัน.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เล่าเรื่องคนเมืองเพชร : นายอนันต์ สุนทร ประมงอำเภอบ้านแหลม
เล่าเรื่องคนเมืองเพชร บ้านข่าวจะพาผู้อ่านมารู้จักกับคนในเมื่องเพชรอีกท่ายหนึ่งค่ะ ท่านเป็นหัวหน้าประมงตำบลบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ติ๊กได้รับเกียติจากหน้าประมงบอกเล่าถึงการทำงานและหน้าให้ประชาชนรับทราบค่ะ ผมเกิดในจังหวัดเพชรบุรี พื้นเพเป็นคนหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี แต่ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่จังหวัดชุมพร จึงได้เข้าเรียนที่จังหวัดชุมพร และมาจบการศึกษาที่วิทยาลัยเกษตรกรรมเพชรบุรี (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรเพชรบุรีในปัจจุบัน)
เริ่มรับราชการที่สถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดสมุทรสาคร (ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร ในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2530 ปัจจุบันอายุราชการ 29 ปี โดยได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งประมงอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ประมงอำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และ ประมงอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น และปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งประมงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ตั้งแต่ วันที่ 4 ธันวาคม 2555
สมัยเด็กๆ ครอบครัวประกอบอาชีพทำการประมง และเคยได้ช่วยครอบครัวออกทำการประมงช่วงวันหยุดและช่วงปิดเทอม จึงค่อนข้างมีความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวประมง และเข้าใจถึงความยากลำบากในการทำการประมง และไฝ่ฝันจะรับราชการกรมประมงตั้งแต่เด็กๆ
อำเภอบ้านแหลมเป็นพื้นที่ชายทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีกิจกรรมด้านการประมงมากมายหลายชนิด เริ่มตั้งแต่มีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ปลานิล ปลาช่อน บริเวณตำบลบางครก ท่าแร้ง แหลมผักเบี้ย บางขุนไทร ในบริเวณชายทะเลซึ่งส่วนใหญ่เป็นทะเลโคลน จะมีการเลี้ยงกุ้งธรรมชาติ เลี้ยงปูทะเล และบริเวณพื้นที่ในทะเลมีการเลี้ยงหอยแครง หอยกระปุก หอยแมลงภู่ และหอยนางรม ทางด้านการทำการประมงเริ่มตั้งแต่ทำการประมงพื้นบ้าน หากุ้ง ปู ปลา หอย ในคลองสาขาต่างๆ และในทะเลชายฝั่ง โดยใช้จับด้วยมือและเครื่องมือประมงพื้นบ้านทั่ว ๆ ไป สำหรับด้านการประมงพาณิชย์มีเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์กว่า 400 ลำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมืออวนครอบหมึก นอกจากนั้นก็มีเครื่องมือ อวนติดตา ลอบหมึกสาย สอบหมึกหอม อวนลาก คราดหอยลาย ฯลฯ
จะเห็นได้ว่าอำเภอบ้านแหลมเป็นอำเภอที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้มีการแก่งแย่งทรัพยากรสัตว์น้ำกันมาก และในสภาวะปัจจุบันสภาพแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรมจากกิจกรรมต่อเนื่องทางด้านการประมง (สถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำ) น้ำเสียจากครัวเรือนในชุมชนที่มีการขยายตัว และกิจกรรมภาคการเกษตร และภาคอุตสาหกรรม จากต้นน้ำและบริเวณชายทะเล ทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้สัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งลดลง ส่งผลให้อัตราการเกิดและเติบโตของสัตว์น้ำไม่สมดุลกับการจับ
ปัญหาด้านการเพาะเลี้ยงหอยแครงในทะเลที่เกษตรกรประสบคืออัตราการรอดตายของหอยแครงน้อยจนบางครั้งไม่คุ้มทุน เนื่องจากพื้นที่เลี้ยงเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ทั้งจากการเลี้ยงที่มีการสะสมของเสียมานานและน้ำเสียจากต้นน้ำที่มาสะสมบริเวณปากแม่น้ำ และปัญหาเรื่องการเลี้ยงหอยแมลงภู่จะประสบปัญหาเรื่องไม้ไผ่ที่ใช้ล่อลูกหอยมีราคาแพง คุณภาพไม่ดี และมีไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้หลายรายหันไปใช้วัสดุอื่นซึ่งวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ยางรถจักรยานยนต์ ซึ่งมีการใช้ในพื้นที่ทะเลหน้าตำบลบ้านแหลมและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น และหากยังไม่มีการควบคุมการใช้ยางรถจักรยานยนต์จะส่งผลให้ในอนาคตจะเป็นแหล่งสะสมของสารพิษเนื่องจากการย่อยสลายของยางทำให้ลูกหอยในธรรมชาติไม่เกิด สัตว์น้ำชายฝั่งอาศัยอยู่ไม่ได้ นั่นจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประมงชายฝั่งและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของอำเภอบ้านแหลม
สำหรับปัญหาดังกล่าวได้มีการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นโดยกรมประมงได้จัดทำโครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งผลิตหอยแครง ซึ่งกิจกรรมในโครงการที่สำคัญคือการสนับสนุน ปม.บอล ให้เกษตรกรที่เลี้ยงหอยแครงนำไปบำบัดแปลงเลี้ยงหอยของตนเองในทะเล โดยจะแจกจ่ายให้เกษตรกร จำนวน 200 ก้อน/ไร่ ซึ่ง ปม.บอล จะเป็นจุลินทรีย์ที่กรมประมงผลิตขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายเกษตรกรในไปขยายเพิ่มปริมาณเชื้อจุลินทรีย์และนำไปบำบัดน้ำและของเสียในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ(จุลินทรีย์ ปม.1) และการทำเป็นก้อนก็พัฒนาและปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้ในทะเลเพื่อการบำบัดดินบริเวณคอกเลี้ยงหอยแครง และปัญหาการใช้ยางรถจักรยานยนต์ก็ได้มีคำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีห้ามใช้และให้รื้อถอนขึ้น โดยในการกำหนดเขตการเลี้ยงและเงื่อนไขต่างๆ จังหวัดเพชรบุรี จะได้ร่วมพิจารณาใหม่โดยคณะกรรมการประมงจังหวัด
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องการทำการประมง เช่น การลักลอบคราดหอยแครงในพื้นที่ที่ประกาศห้ามใช้เครื่องมือประมงทำให้ชาวบ้านผู้เก็บหอยด้วยมือเดือดร้อน ปัญหาการคราดหอยลายเข้ามาบริเวณชายฝั่งและทำลายเครื่องมือประมงชนิดอื่น ปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างเครื่องมือประมง ปัญหาการได้รับอนุญาตทำการประมงพาณิชย์เพียงเครื่องมือเดียวโดยเฉพาะลอบหมึกสายเนื่องจากฤดูกาลของหมึกสายมีมากแค่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมและช่วงอื่นไม่สามารถออกทำการประมงด้วยเครื่องมืออื่นได้ และยังมีปัญหาการลักลอบใช้ลอบพับในบริเวณแปลงเลี้ยงหอย การทำอวนรัง การใช้ยาเบื่อกุ้งก้ามกรามในแม่น้ำ ฯลฯ
จากปัญหาทั้งด้านการเพาะเลี้ยงและการทำการประมงซึ่งมีมากและหลากหลาย แต่จำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีน้อย ยานพาหนะและงบประมาณไม่เพียงพอ เรือที่ใช้ในการตรวจจับเสื่อมสภาพเนื่องจากมีอายุการใช้งานมานาน ทั้งยังไม่เหมาะกับการใช้งานในบริเวณที่เป็นทะเลโคลนและในบริเวณแปลงเลี้ยงหอย ทำให้การดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จบ่อย ครั้ง
อย่างไรก็ตามจากสภาพปัจจุบันทั้งชาวประมงและเกษตรกรของอำเภอบ้านแหลม ต้องร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด เพื่อทุกอาชีพสามารถอยู่ร่วมกันได้และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยสำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม จะพยายามสนับสนุนในทุกอาชีพประมงตามระเบียบที่ถูกต้องให้ได้รับความเป็นธรรมและเสมอภาคกัน.
เว็บไซต์ Bankaonews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024