เวลา 09.00 น.วันที่ 28 มกราคม 2558 ที่หอประชุมชั้น 2 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมจัดงาน “วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่ 2” สันติ (ที่มองเห็น) ภาพ Visible/Visionary Peace โดยมีตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคม ภาคประชาชน นักศึกษา นักวิชาการ ตัวแทนจากต่างประเทศเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมีหนังสือเกี่ยวกับสันติภาพแจกผู้เข้าร่วมประมาณ 10 เล่ม – See more at: http://www.deepsouthwatch.org/dsj/6883#sthash.aj17LyOT.dpuf.
บทวิเคราะห์ สันติ (ที่มองเห็น) ภาพ Visible/Visionary Peace ในวันวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ที่ม.อ.ปัตตานี ครั้งที่2 โดย สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล นักวิจัยและนักวิชาการอิสระด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง3จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต DPA4 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อีเมลล์ : bossgrp@loxinfo.co.th โทร.0816985113 )
“สันติ(ที่ มองเห็น)ภาพ Visible/Visionary Peace” งานวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ที่ม.อ.ปัตตานี วัน ที่ 28 มกราคม 2558 ที่หอประชุมชั้น 2 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในวันนี้ยังเป็นวันครบรอบ 2 ปี ของการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น ที่เริ่มต้นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2556 ด้วยการ พูดคุยสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีรอบใหม่จะไปอย่างไร ฟังความเคลื่อนไหวจากสองฝ่าย ใน“ดุลยปาฐกว่าด้วย “ภาพ” การพูดคุยสันติภาพรอบใหม่” ในงานวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่ 2” สันติ (ที่มองเห็น) ภาพ Visible/Visionary Peace ที่ ม.อ.ปัตตานี โดยพล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช ผู้อำนวย การศูนย์สันติสุข กองอำนวยการรักษาความสงบภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 4 และ อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม จากขบวนการ BIPP สมาชิกอาวุโสในฝ่ายต่อสู้เพื่ออิสรภาพปาตานี
พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช ได้ให้ความสำคัญ ในการแก้ไขปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสันติวิธี นำบทเรียนและจุดอ่อน จากการเจรจาครั้งก่อนมาใช้ อันดับแรก ลดความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดก่อนและพยายามไม่ใช้กฎหมายพิเศษมาใช้แก้ปัญหา ใช้มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐและกำลังประชาชนโดยเฉพาะ อาสาสมัครรักษาดินแดน และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในการสื่อสารพี่น้องประชาชน ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปัญหาในพื้นที่ เช่นมีการจัดเวทีพูดคุยกับประชาชนไม่ต่ำกว่า 300 เวที โดยคำนึงความเหมาะสมของประชากรในพื้นที่เป้าหมาย ว่ามีความต้องการอะไร เรียงลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา และดำเนินการแก้ไขปัญหา
พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช ยังมีความต้องการสื่อสารออกไปให้เห็นว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และ ความร่วมมือด้านการศึกษา เช่น การสร้างเส้นทาง 37 เส้นทาง ใช้งบประมาณกว่า 800 ล้านบาท และการให้รับเด็กนักเรียนที่จบชั้นมัธยม 6 จากประเทศไทย เรียนต่อมหา วิทยาลัยอัลอัซฮาร ประเทศอียิปต์ และ ยังให้ความหมายของสันติภาพที่มีนัยสำคัญในการเกิดสันติสุขร่วมกัน สันติภาพคือข้อบ่งชี้ของการอยู่ร่วมกันโดยปกติสุขของสังคม อันเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะทำให้เราไปสู่ประตูแห่งสันติสุขได้ และ เป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทั้งหมดทั้งสิ้นของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางวัฒนธรรม และทางจริยธรรมที่ต้องดำเนินการควบคู่และสร้างสมดุลให้เกิดการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน
อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม จากขบวนการ BIPP มองว่ารัฐบาลไทยเป็นรัฐบาลเผด็จการทางทหารอาจจะเป็นอุปสรรคในการเจรจาพูดคุยสันติภาพ และประเทศไทยควรรับรองกระบวนการพูดคุยสันติภาพขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ ดังที่อุสตาซฮาซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่ม BRN เคยเสนอเมื่อ 2ปีที่แล้ว วิธีการนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นความจริงใจของฝ่ายไทยและรับประกันความต่อเนื่องในการเจรจาสันติภาพ นอกจากนี้การสานต่อกระบวนการสันติภาพพึงใช้ข้อตกลงทั่วไปที่ลงนามกัน ไว้เมื่อสองปีก่อนเช่นกัน อยากเห็นความจริงใจของกองทัพที่เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม ยังสรุปว่าเป้าหมายหลักของกระบวนการพูดคุยสันติภาพควรคำนึงที่สาเหตุรากเหง้าของปัญหาการก่อความรุนแรง ควรมีการเขียนโรดแมปร่วมกัน อยู่ในสถานะที่มีความเท่าเทียมกัน โดยมีองค์กรกลาง (ผู้อำนวยความสะดวก) จากประเทศมาเลเซีย คอยสังเกตการณ์และอำนวยความสะดวก เพื่อให้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในขั้นตอนต่อไป มีการหยุดยิงชั่วคราว และที่สำคัญต้องเชิญฝ่ายอื่นๆเข้ามาร่วมในกระบวนการพูดคุยให้ครบทุกกลุ่ม และไม่เอาเรื่องทางออกทางการเมืองใดๆ ที่ไปเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และรัฐบาลไทยและประเทศมาเลเซีย ต้องให้ความคุ้มครองปลอดภัยแก่ทุกกลุ่มที่เข้ามาสู่โต๊ะเจรจา สุดท้ายต้องนำบทเรียนจุดอ่อนของการเจรจาครั้งที่แล้วมาเป็นประสบการณ์ต่อไป
ส่วนกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม 14 กลุ่ม ได้แก่ สภาประชาสังคมชายแดนใต้, เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ (B4P), เครือข่ายชุมชนศรัทธา ‘กัมปงตักวา’, เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้และเครือข่ายสตรีชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ปัตตานี/ปาตานี, กลุ่มด้วยใจ, สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ (WePeace), เครือข่ายสาธารณสุขยะรัง, สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้, สมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้, กลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้(Dream South), กลุ่มเยาวชนใจอาสา, กลุ่มช่างภาพเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (PPS) และสถาบันภาษามลายูไทยแลนด์ (Dewan Bahasa dan Pustaka Melayu Thailand) ได้นำเสนอข้อเรียกร้องที่หลากหลาย แต่มีประเด็นร่วมให้คู่ขัดแย้งลดใช้ความรุนแรง ละเว้นการโจมตีเป้าหมายอ่อนและพื้นที่สาธารณะ เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพจะให้ความร่วมมือประสานความเข้าใจระหว่างคู่ขัดแย้งและสร้างความเข้าใจกับประชาชนเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ
โดยสรุป กระบวนการพูดคุยสันติภาพ ที่มองเห็นได้ และ ให้ประชาชนอยากได้ภาพสันติภาพที่ก่อให้เกิดความสันติสุขร่วมกันในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น อันดับแรก รัฐบาลต้องสื่อออกไปกับผู้นำนโยบายไปปฎิบัติของรัฐไทยเองโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้อำนาจไม่ถูกต้องในการกดขี่ประชาชน สร้างความไม่ยุติธรรม รัฐบาลต้องมีมาตรการในการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งบทเรียนจากจีนนั้น รัฐบาลจีนดำเนินการ ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอันเป็นรากเหง้าของปัญหา ที่จะต้องกำหนดนโยบายการสร้างสันติภาพตามลักษณะสังคม ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย และในด้านกำหนดนโยบายการปกครอง ให้มีการยกเลิกกฎหมายพิเศษ(พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร )ที่ใช้ในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางกองทัพไทยได้ดำเนินนโยบายที่ถูกต้องในการเน้นด้านการพัฒนาพื้นที่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เห็นภาพสันติสุขร่วมกันพร้อมไปกับการเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพกับทุกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ อันสะท้อนภาพให้เห็นว่า กองทัพไทยได้เสริมสร้างความไว้วางใจและเชื่อใจให้ทุกกลุ่มเห็นชัดเจนขึ้น และทั้งสองฝ่ายต้องการสื่อสารออกไปทุกฝ่ายให้เข้ามาร่วมสู่กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จนจบสิ้นในกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพ โดยฝ่ายรัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง
แต่มีบางประเด็นที่ทางกองทัพ (party A ) ไม่ได้พูดถึงคือการกำหนดนโยบายกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ให้เป็นนโยบายวาระแห่งชาติอย่างที่ กลุ่มฺ BIPP (party B) ได้นำเสนอไว้เช่นเดียวกับ กลุ่ม BRN ที่เคยนำเสนอในครั้งที่มีการเจรจาเมื่อ2ปีที่ผ่านมา
กระบวนการสื่อสารเพื่อสันติภาพนั้น กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (party C)ในพื้นที่ท้องถิ่น ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งหลายของรัฐบาลไทย และกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมจะต้องสร้างความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (network connectivity )เพื่อจะได้รับรู้ความจริงใจของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นปัจจัยความร่วมมือจากท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายการเจรจาสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขร่วมกันให้เกิดขึ้น อันเป็นภาพสันติภาพที่อยากเห็น (visionary peace) ซึ่งสอดคล้องกับการสื่อสารโดยนายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ที่นำเอาแนวคิดการสร้างความเชื่อมโยงของทุกสังคมทุกกลุ่มที่ทำงานร่วมกันและสื่อสารออกไปสู่สาธารณะของ อาจารย์อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการสันติวิธีผู้ล่วงลับ จากการนำเสนอหัวข้อว่า “ทบทวนบทบาท “ ตัวเชื่อมต่อ”: อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง กับกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี โดยมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ว่า “การที่เราต้องฟังทั้ง 3 ฝ่าย นั้นก็เพราะ หนึ่ง ในความขัดแย้งจำเป็นที่ต้องได้ยินและได้เห็นอย่างรอบด้าน สอง เราต้องฟังอย่างตั้งใจและรอบด้าน เพื่อนำไปประเมินสถานการณ์ในสถานการณ์ความขัดแย้ง และสาม เพื่อให้เราได้คิดค้นทางเลือก ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งหมด นี่คือเหตุผลที่เราต้องฟัง”
ข้อสังเกตการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีรอบใหม่ 1. การเจรจาสันติภาพรอบใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงตัวแสดงทั้งสองฝ่าย ผู้นำที่รับผิดชอบในการพูดคุยสันติภาพเมื่อ 2ปีที่แล้ว ไม่มีใครมาร่วมกันแสดงจุดยืนเป็นอย่างไร แต่มองว่าทั้ง2ฝ่ายในรอบใหม่ พยายามได้อ้างถึงสิ่งที่เคยได้พูดคุย ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลไทย (party A) มีความจำเป็นที่ต้องการสารต่อการพูดคุยสันติภาพโดยจะนำบทเรียนและจุดอ่อนการเจรจาที่แล้วมาเป็นประสบการณ์ ในการเจรจาครั้งต่อไป ส่วนกลุ่มที่เห็นต่าง กลุ่มBRN ไม่ได้มาร่วมในวันนี้ กลับกลายเป็นกลุ่มBIPP ( party B) ที่ออกมาแสดงความเห็นในครั้งนี้แทน ในฝ่ายรัฐบาลไทยเอง เรื่องผู้นำคนใหม่ที่มารับผิดชอบการเจรจาคงไม่ใช่เป็นอุปสรรคในการเจรจานัก เนื่องจากกองทัพไทยมีความชัดเจนในกระบวนการสร้างสันติสุข แต่ฝ่ายกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐไทย ทั้ง2 กลุ่มนั้นได้มีการเชื่อมโยงแนวคิดให้เป็นแนวทางเดียวกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานที่สนับสนุนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่จะมีผลต่อการนำนโยบายกระบวนการพูดคุยสันติภาพจะล้มเหลวหรือสำเร็จได้ 2. การพูดคุยกันทั้ง 2 ฝ่ายในวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่2 น่าเสียดายที่ภาพสันติภาพที่เกิดขึ้นไม่ได้เห็นการพูดคุยกันและจับมือกันอย่างใกล้ชิดนัก กลับเป็นว่าฝ่ายกลุ่ม BIPP นำเสนอข้อเสนอกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ผ่านคลิปวีดีโอ ไม่ได้มาพบกันจริงบนโต๊ะเวที ซึ่งทางฝ่ายรัฐบาลไทยก็ได้ส่งผู้นำการเจรจาแสดงข้อเสนอที่แสดงถึงความไว้วางใจและเชื่อถือได้ด้วยความจริงใจในระดับหนึ่ง 3. กลุ่มที่3 ฝ่ายองค์กรภาคประชาสังคม 14 องค์กร( party C)ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อสื่อสารออกมาเป็นแนวร่วมกันอันเป็นจุดเชื่อมโยงกันแบบเครือข่าย (network )ได้ชัดเจน แสดงถึงการเป็นผู้สนับสนุนให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพประสบความสำเร็จ แต่น่าเสียดายกลุ่มฝ่ายการเมืองท้องถิ่น (party D)ไม่ได้มีการออกมาแสดงความชัดเจนต่อการพูดคุยในครั้งนี้ แม้กระทั่งสื่อมวลชน เครือข่ายหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และเครือข่ายสถานีวิทยุชุมชนท้องถิ่นใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (part E) ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการสนับสนุนหรือเห็นต่างอย่างไรกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพ รวมทั้งองค์กรนักศึกษา นักวิจัยอิสระ นักวิชาการอิสระทั้งในและนอกพื้นที่ที่ทำงานด้านนี้ มาแสดงบทบาทต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งอันนำไปสู่สันติภาพอย่างไร 4. สุดท้ายที่ยังเห็นต่างกัน ในเรื่องของนโยบายการเจรจาสันติภาพ หรือกระบวนการพูดคุยสันติภาพ รัฐบาลไทยไม่ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ (nation agenda) เพื่อแสดงให้เห็นว่า กระบวนการนโยบายดังกล่าวจะทำให้ การเจรจาสันติภาพนั้นมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลฝ่ายทหารหรือฝ่ายพลเรือน อันจะเป็นการสะท้อนความรู้สึกของกลุ่มเห็นต่างจากรัฐที่มองว่า จะเป็นการเริ่มต้นแสดงความไว้วางใจและเชื่อใจกันว่า กระบวนการพูดคุยนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จและเห็นภาพสันติภาพ ที่มองเห็นได้เป็นภาพสันติภาพเดียวกันที่มีโอกาสเป็นจริงมากที่สุดทั้ง2ฝ่ายอันใกล้นี้.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมจัดงาน “วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่ 2”
เวลา 09.00 น.วันที่ 28 มกราคม 2558 ที่หอประชุมชั้น 2 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมจัดงาน “วันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่ 2” สันติ (ที่มองเห็น) ภาพ Visible/Visionary Peace โดยมีตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคม ภาคประชาชน นักศึกษา นักวิชาการ ตัวแทนจากต่างประเทศเข้าร่วมจำนวนมาก โดยมีหนังสือเกี่ยวกับสันติภาพแจกผู้เข้าร่วมประมาณ 10 เล่ม – See more at: http://www.deepsouthwatch.org/dsj/6883#sthash.aj17LyOT.dpuf.
บทวิเคราะห์ สันติ (ที่มองเห็น) ภาพ Visible/Visionary Peace ในวันวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ที่ม.อ.ปัตตานี ครั้งที่2
โดย สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล นักวิจัยและนักวิชาการอิสระด้านการแก้ปัญหาความขัดแย้ง3จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต DPA4 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ อีเมลล์ : bossgrp@loxinfo.co.th โทร.0816985113 )
“สันติ(ที่ มองเห็น)ภาพ Visible/Visionary Peace” งานวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ที่ม.อ.ปัตตานี วัน ที่ 28 มกราคม 2558 ที่หอประชุมชั้น 2 คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในวันนี้ยังเป็นวันครบรอบ 2 ปี ของการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น ที่เริ่มต้นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2556 ด้วยการ พูดคุยสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีรอบใหม่จะไปอย่างไร ฟังความเคลื่อนไหวจากสองฝ่าย ใน“ดุลยปาฐกว่าด้วย “ภาพ” การพูดคุยสันติภาพรอบใหม่” ในงานวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่ 2” สันติ (ที่มองเห็น) ภาพ Visible/Visionary Peace ที่ ม.อ.ปัตตานี โดยพล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช ผู้อำนวย การศูนย์สันติสุข กองอำนวยการรักษาความสงบภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ผู้แทนแม่ทัพภาคที่ 4 และ อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม จากขบวนการ BIPP สมาชิกอาวุโสในฝ่ายต่อสู้เพื่ออิสรภาพปาตานี
พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช ได้ให้ความสำคัญ ในการแก้ไขปัญหา3จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสันติวิธี นำบทเรียนและจุดอ่อน จากการเจรจาครั้งก่อนมาใช้ อันดับแรก ลดความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดก่อนและพยายามไม่ใช้กฎหมายพิเศษมาใช้แก้ปัญหา ใช้มาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐและกำลังประชาชนโดยเฉพาะ อาสาสมัครรักษาดินแดน และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในการสื่อสารพี่น้องประชาชน ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปัญหาในพื้นที่ เช่นมีการจัดเวทีพูดคุยกับประชาชนไม่ต่ำกว่า 300 เวที โดยคำนึงความเหมาะสมของประชากรในพื้นที่เป้าหมาย ว่ามีความต้องการอะไร เรียงลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา และดำเนินการแก้ไขปัญหา
พล.ต.ชินวัฒน์ แม้นเดช ยังมีความต้องการสื่อสารออกไปให้เห็นว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และ ความร่วมมือด้านการศึกษา เช่น การสร้างเส้นทาง 37 เส้นทาง ใช้งบประมาณกว่า 800 ล้านบาท และการให้รับเด็กนักเรียนที่จบชั้นมัธยม 6 จากประเทศไทย เรียนต่อมหา วิทยาลัยอัลอัซฮาร ประเทศอียิปต์ และ ยังให้ความหมายของสันติภาพที่มีนัยสำคัญในการเกิดสันติสุขร่วมกัน สันติภาพคือข้อบ่งชี้ของการอยู่ร่วมกันโดยปกติสุขของสังคม อันเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะทำให้เราไปสู่ประตูแห่งสันติสุขได้ และ เป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทั้งหมดทั้งสิ้นของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางวัฒนธรรม และทางจริยธรรมที่ต้องดำเนินการควบคู่และสร้างสมดุลให้เกิดการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน
อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม จากขบวนการ BIPP มองว่ารัฐบาลไทยเป็นรัฐบาลเผด็จการทางทหารอาจจะเป็นอุปสรรคในการเจรจาพูดคุยสันติภาพ และประเทศไทยควรรับรองกระบวนการพูดคุยสันติภาพขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ ดังที่อุสตาซฮาซัน ตอยิบ แกนนำกลุ่ม BRN เคยเสนอเมื่อ 2ปีที่แล้ว วิธีการนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นความจริงใจของฝ่ายไทยและรับประกันความต่อเนื่องในการเจรจาสันติภาพ นอกจากนี้การสานต่อกระบวนการสันติภาพพึงใช้ข้อตกลงทั่วไปที่ลงนามกัน ไว้เมื่อสองปีก่อนเช่นกัน อยากเห็นความจริงใจของกองทัพที่เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
อาบูฮาฟิซ อัลฮากีม ยังสรุปว่าเป้าหมายหลักของกระบวนการพูดคุยสันติภาพควรคำนึงที่สาเหตุรากเหง้าของปัญหาการก่อความรุนแรง ควรมีการเขียนโรดแมปร่วมกัน อยู่ในสถานะที่มีความเท่าเทียมกัน โดยมีองค์กรกลาง (ผู้อำนวยความสะดวก) จากประเทศมาเลเซีย คอยสังเกตการณ์และอำนวยความสะดวก เพื่อให้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในขั้นตอนต่อไป มีการหยุดยิงชั่วคราว และที่สำคัญต้องเชิญฝ่ายอื่นๆเข้ามาร่วมในกระบวนการพูดคุยให้ครบทุกกลุ่ม และไม่เอาเรื่องทางออกทางการเมืองใดๆ ที่ไปเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และรัฐบาลไทยและประเทศมาเลเซีย ต้องให้ความคุ้มครองปลอดภัยแก่ทุกกลุ่มที่เข้ามาสู่โต๊ะเจรจา สุดท้ายต้องนำบทเรียนจุดอ่อนของการเจรจาครั้งที่แล้วมาเป็นประสบการณ์ต่อไป
ส่วนกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม 14 กลุ่ม ได้แก่ สภาประชาสังคมชายแดนใต้, เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ (B4P), เครือข่ายชุมชนศรัทธา ‘กัมปงตักวา’, เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้และเครือข่ายสตรีชายแดนใต้เพื่อสันติภาพ, มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ปัตตานี/ปาตานี, กลุ่มด้วยใจ, สมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ (WePeace), เครือข่ายสาธารณสุขยะรัง, สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้, สมาคมรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้, กลุ่มเยาวชนความฝันชายแดนใต้(Dream South), กลุ่มเยาวชนใจอาสา, กลุ่มช่างภาพเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (PPS) และสถาบันภาษามลายูไทยแลนด์ (Dewan Bahasa dan Pustaka Melayu Thailand) ได้นำเสนอข้อเรียกร้องที่หลากหลาย แต่มีประเด็นร่วมให้คู่ขัดแย้งลดใช้ความรุนแรง ละเว้นการโจมตีเป้าหมายอ่อนและพื้นที่สาธารณะ เปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพจะให้ความร่วมมือประสานความเข้าใจระหว่างคู่ขัดแย้งและสร้างความเข้าใจกับประชาชนเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพ
โดยสรุป กระบวนการพูดคุยสันติภาพ ที่มองเห็นได้ และ ให้ประชาชนอยากได้ภาพสันติภาพที่ก่อให้เกิดความสันติสุขร่วมกันในพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้น อันดับแรก รัฐบาลต้องสื่อออกไปกับผู้นำนโยบายไปปฎิบัติของรัฐไทยเองโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ที่ใช้อำนาจไม่ถูกต้องในการกดขี่ประชาชน สร้างความไม่ยุติธรรม รัฐบาลต้องมีมาตรการในการลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำผิดกฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งบทเรียนจากจีนนั้น รัฐบาลจีนดำเนินการ ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต และมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอันเป็นรากเหง้าของปัญหา ที่จะต้องกำหนดนโยบายการสร้างสันติภาพตามลักษณะสังคม ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วย และในด้านกำหนดนโยบายการปกครอง ให้มีการยกเลิกกฎหมายพิเศษ(พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร )ที่ใช้ในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางกองทัพไทยได้ดำเนินนโยบายที่ถูกต้องในการเน้นด้านการพัฒนาพื้นที่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เห็นภาพสันติสุขร่วมกันพร้อมไปกับการเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพกับทุกกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ อันสะท้อนภาพให้เห็นว่า กองทัพไทยได้เสริมสร้างความไว้วางใจและเชื่อใจให้ทุกกลุ่มเห็นชัดเจนขึ้น และทั้งสองฝ่ายต้องการสื่อสารออกไปทุกฝ่ายให้เข้ามาร่วมสู่กระบวนการพูดคุยสันติภาพ จนจบสิ้นในกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพ โดยฝ่ายรัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่มทุกพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง
แต่มีบางประเด็นที่ทางกองทัพ (party A ) ไม่ได้พูดถึงคือการกำหนดนโยบายกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ให้เป็นนโยบายวาระแห่งชาติอย่างที่ กลุ่มฺ BIPP (party B) ได้นำเสนอไว้เช่นเดียวกับ กลุ่ม BRN ที่เคยนำเสนอในครั้งที่มีการเจรจาเมื่อ2ปีที่ผ่านมา
กระบวนการสื่อสารเพื่อสันติภาพนั้น กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม (party C)ในพื้นที่ท้องถิ่น ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทั้งหลายของรัฐบาลไทย และกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมจะต้องสร้างความเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย (network connectivity )เพื่อจะได้รับรู้ความจริงใจของเจ้าหน้าที่รัฐ อันเป็นปัจจัยความร่วมมือจากท้องถิ่นในการกำหนดนโยบายการเจรจาสันติภาพเพื่อสร้างสันติสุขร่วมกันให้เกิดขึ้น อันเป็นภาพสันติภาพที่อยากเห็น (visionary peace) ซึ่งสอดคล้องกับการสื่อสารโดยนายมูฮำมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโสศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) ที่นำเอาแนวคิดการสร้างความเชื่อมโยงของทุกสังคมทุกกลุ่มที่ทำงานร่วมกันและสื่อสารออกไปสู่สาธารณะของ อาจารย์อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการสันติวิธีผู้ล่วงลับ จากการนำเสนอหัวข้อว่า “ทบทวนบทบาท “ ตัวเชื่อมต่อ”: อัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง กับกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี โดยมูฮำมัดอายุบ ปาทาน ว่า “การที่เราต้องฟังทั้ง 3 ฝ่าย นั้นก็เพราะ หนึ่ง ในความขัดแย้งจำเป็นที่ต้องได้ยินและได้เห็นอย่างรอบด้าน สอง เราต้องฟังอย่างตั้งใจและรอบด้าน เพื่อนำไปประเมินสถานการณ์ในสถานการณ์ความขัดแย้ง และสาม เพื่อให้เราได้คิดค้นทางเลือก ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงทั้งหมด นี่คือเหตุผลที่เราต้องฟัง”
ข้อสังเกตการพูดคุยสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีรอบใหม่
1. การเจรจาสันติภาพรอบใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงตัวแสดงทั้งสองฝ่าย ผู้นำที่รับผิดชอบในการพูดคุยสันติภาพเมื่อ 2ปีที่แล้ว ไม่มีใครมาร่วมกันแสดงจุดยืนเป็นอย่างไร แต่มองว่าทั้ง2ฝ่ายในรอบใหม่ พยายามได้อ้างถึงสิ่งที่เคยได้พูดคุย ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลไทย (party A) มีความจำเป็นที่ต้องการสารต่อการพูดคุยสันติภาพโดยจะนำบทเรียนและจุดอ่อนการเจรจาที่แล้วมาเป็นประสบการณ์ ในการเจรจาครั้งต่อไป ส่วนกลุ่มที่เห็นต่าง กลุ่มBRN ไม่ได้มาร่วมในวันนี้ กลับกลายเป็นกลุ่มBIPP ( party B) ที่ออกมาแสดงความเห็นในครั้งนี้แทน ในฝ่ายรัฐบาลไทยเอง เรื่องผู้นำคนใหม่ที่มารับผิดชอบการเจรจาคงไม่ใช่เป็นอุปสรรคในการเจรจานัก เนื่องจากกองทัพไทยมีความชัดเจนในกระบวนการสร้างสันติสุข แต่ฝ่ายกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐไทย ทั้ง2 กลุ่มนั้นได้มีการเชื่อมโยงแนวคิดให้เป็นแนวทางเดียวกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งจะเป็นปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานที่สนับสนุนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่จะมีผลต่อการนำนโยบายกระบวนการพูดคุยสันติภาพจะล้มเหลวหรือสำเร็จได้
2. การพูดคุยกันทั้ง 2 ฝ่ายในวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่2 น่าเสียดายที่ภาพสันติภาพที่เกิดขึ้นไม่ได้เห็นการพูดคุยกันและจับมือกันอย่างใกล้ชิดนัก กลับเป็นว่าฝ่ายกลุ่ม BIPP นำเสนอข้อเสนอกระบวนการพูดคุยสันติภาพ ผ่านคลิปวีดีโอ ไม่ได้มาพบกันจริงบนโต๊ะเวที ซึ่งทางฝ่ายรัฐบาลไทยก็ได้ส่งผู้นำการเจรจาแสดงข้อเสนอที่แสดงถึงความไว้วางใจและเชื่อถือได้ด้วยความจริงใจในระดับหนึ่ง
3. กลุ่มที่3 ฝ่ายองค์กรภาคประชาสังคม 14 องค์กร( party C)ได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อสื่อสารออกมาเป็นแนวร่วมกันอันเป็นจุดเชื่อมโยงกันแบบเครือข่าย (network )ได้ชัดเจน แสดงถึงการเป็นผู้สนับสนุนให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพประสบความสำเร็จ แต่น่าเสียดายกลุ่มฝ่ายการเมืองท้องถิ่น (party D)ไม่ได้มีการออกมาแสดงความชัดเจนต่อการพูดคุยในครั้งนี้ แม้กระทั่งสื่อมวลชน เครือข่ายหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และเครือข่ายสถานีวิทยุชุมชนท้องถิ่นใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (part E) ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อการสนับสนุนหรือเห็นต่างอย่างไรกับกระบวนการพูดคุยสันติภาพ รวมทั้งองค์กรนักศึกษา นักวิจัยอิสระ นักวิชาการอิสระทั้งในและนอกพื้นที่ที่ทำงานด้านนี้ มาแสดงบทบาทต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งอันนำไปสู่สันติภาพอย่างไร
4. สุดท้ายที่ยังเห็นต่างกัน ในเรื่องของนโยบายการเจรจาสันติภาพ หรือกระบวนการพูดคุยสันติภาพ รัฐบาลไทยไม่ได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ (nation agenda) เพื่อแสดงให้เห็นว่า กระบวนการนโยบายดังกล่าวจะทำให้ การเจรจาสันติภาพนั้นมีความต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลฝ่ายทหารหรือฝ่ายพลเรือน อันจะเป็นการสะท้อนความรู้สึกของกลุ่มเห็นต่างจากรัฐที่มองว่า จะเป็นการเริ่มต้นแสดงความไว้วางใจและเชื่อใจกันว่า กระบวนการพูดคุยนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จและเห็นภาพสันติภาพ ที่มองเห็นได้เป็นภาพสันติภาพเดียวกันที่มีโอกาสเป็นจริงมากที่สุดทั้ง2ฝ่ายอันใกล้นี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024