มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ อบจ.สตูล วิจัยอนุรักษ์จำปะดะ พืชประจำถิ่น ตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม สนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หวังสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วนี้ๆ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม นายกสภา มรภ.สงขลา พร้อมด้วย รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดี และ นายบรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นำโดย นายสัมฤทธิ์ เสียงประสิทธิ์ นายก อบจ.สตูล ณ ห้องประชุมรองอธิการบดี มรภ.สงขลา เพื่อดำเนินการวิจัยและอนุรักษ์ด้านพันธุกรรมพืชประจำถิ่น จ.สตูล คือ จำปะดะ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประสานความร่วมมือสนองพระราชดำริฯ และสนับสนุนการวิจัย การบริการวิชาการ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากจำปาดะ อนุรักษ์และหาวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต การบำรุงรักษาและขยายพันธุ์จำปาดะ ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับพืชจำปาดะของประชาชนในท้องถิ่น จ.สตูล ให้มีความมั่งคงทางเศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รศ.ดร.สุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า บันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ มรภ.สงขลา รับหน้าที่สร้างองค์ความรู้ทางวิชาการให้แก่ชุมชน ผ่านทางคณาจารย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งตรงตามพันธกิจของ มรภ.สงขลา ในเรื่องการบริการวิชาการแก่ชุมชน ในขณะที่ อบจ.สตูล จะสนับสนุนด้านงบประมาณในวงเงิน 800,000 บาท ให้แก่ มรภ.สงขลา สำหรับศึกษาวิจัย บริการวิชาการและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนการทำงานของทั้งสองหน่วยงานจะพัฒนาควบคู่ไปด้วยกัน มุ่งเน้นให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล เป็นสถานที่ดำเนินการภายใต้บันทึกความร่วมมือครั้งนี้.
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“มรภ.สงขลา-อบจ.สตูล” ลงนามความร่วมมืออนุรักษ์จำปาดะ
มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ อบจ.สตูล วิจัยอนุรักษ์จำปะดะ พืชประจำถิ่น ตั้งเป้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่ม สนองพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หวังสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วนี้ๆ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม นายกสภา มรภ.สงขลา พร้อมด้วย รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดี และ นายบรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นำโดย นายสัมฤทธิ์ เสียงประสิทธิ์ นายก อบจ.สตูล ณ ห้องประชุมรองอธิการบดี มรภ.สงขลา เพื่อดำเนินการวิจัยและอนุรักษ์ด้านพันธุกรรมพืชประจำถิ่น จ.สตูล คือ จำปะดะ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อพ.สธ.) ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประสานความร่วมมือสนองพระราชดำริฯ และสนับสนุนการวิจัย การบริการวิชาการ พัฒนาผลิตภัณฑ์จากจำปาดะ อนุรักษ์และหาวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิต การบำรุงรักษาและขยายพันธุ์จำปาดะ ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับพืชจำปาดะของประชาชนในท้องถิ่น จ.สตูล ให้มีความมั่งคงทางเศรษฐกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รศ.ดร.สุนทร กล่าวเพิ่มเติมว่า บันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ มรภ.สงขลา รับหน้าที่สร้างองค์ความรู้ทางวิชาการให้แก่ชุมชน ผ่านทางคณาจารย์และนักวิชาการของมหาวิทยาลัย ซึ่งตรงตามพันธกิจของ มรภ.สงขลา ในเรื่องการบริการวิชาการแก่ชุมชน ในขณะที่ อบจ.สตูล จะสนับสนุนด้านงบประมาณในวงเงิน 800,000 บาท ให้แก่ มรภ.สงขลา สำหรับศึกษาวิจัย บริการวิชาการและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งกระบวนการทำงานของทั้งสองหน่วยงานจะพัฒนาควบคู่ไปด้วยกัน มุ่งเน้นให้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้ มรภ.สงขลา วิทยาเขตสตูล เป็นสถานที่ดำเนินการภายใต้บันทึกความร่วมมือครั้งนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024