คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา นำนักศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน ศึกษาดูงานการผลิตพืชระบบโรงเรือน และระบบการให้น้ำ RO ภายใต้แปลงมาตรฐาน GAP บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาพืชเศรษฐกิจภาคใต้ สู่การประยุกต์ใช้จริง
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำโดย ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ชั้นปีที่ 4 เรียนรู้ทักษะการจัดการโรงเรือนปลูกพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญ บูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาพืชเศรษฐกิจภาคใต้ ณ โรงเรือนผลิตพืชระบบอัจฉริยะ ภายใต้การดูแลของโรงเรียนพลวิทยาและวิทยาลัยเทคโนโลยีสงขลา โดยมี นางสาวเจนจิรา หนูกลับ นักวิจัย (ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช) พร้อมด้วย นายเอกฉันท์ บุญรัศมี ช่างปฏิบัติการทางเทคนิค นายกอบชัย สุขสะปาน ช่างปฏิบัติการทางเทคนิค และ นายพิรพัฒน์ บุญช่วย นักวิจัย (ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช) ให้การต้อนรับและแนะนำเกี่ยวกับจัดการการผลิตพืชในโรงเรือน
นางสาวเจนจิรา หนูกลับ กล่าวว่า การปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนอัจฉริยะและมีระบบน้ำ RO (Reverse Osmosis) เป็นวิธีการเพาะปลูกสมัยใหม่ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมะเขือเทศ โดยควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ข้อดีของการปลูกในโรงเรือนอัจฉริยะคือสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และการระบายอากาศสามารถปรับให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ป้องกันศัตรูพืชและโรคพืชได้ โดยสามารถลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและประหยัดน้ำ เพราะใช้ระบบน้ำหยด ช่วยลดการใช้น้ำ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ซึ่งปลูกได้ตลอดปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด โดยมะเขือเทศที่ผลิตในโรงเรือนสามารถจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท
ด้าน นายเอกฉันท์ บุญรัศมี กล่าวว่า ระบบน้ำ RO (Reverse Osmosis) เป็นเทคโนโลยีการกรองน้ำที่ช่วยกำจัดสารปนเปื้อนและแร่ธาตุที่ไม่จำเป็นออกจากน้ำ ทำให้ได้น้ำบริสุทธิ์ที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชและมะเขือเทศ ข้อดีของการใช้น้ำ RO คือควบคุมคุณภาพน้ำได้แม่นยำ ลดความเสี่ยงจากโรคที่มากับน้ำ และช่วยให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น การใช้เทคโนโลยีในโรงเรือนอัจฉริยะระบบ IoT (Internet of Things) เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม มีระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับนำมาปรับปรุงการผลิต คาดการณ์ผลผลิต และปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งระบบจัดการน้ำอัจฉริยะสามารถควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ได้
ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร กล่าวเสริมว่า การปลูกพืชหรือมะเขือเทศในโรงเรือนอัจฉริยะด้วยระบบน้ำ RO เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตมะเขือเทศคุณภาพดี แม้จะมีต้นทุนเริ่มต้นสูง แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาว ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งทางหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช หวังให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ เพื่อต่อยอดในการพัฒนาตนเองในสายงานวิชาชีพก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในเทอมถัดไป
“น่ายินดีว่ามีศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช มรภ.สงขลา ทำงานอยู่ที่นี่สองคน เป็นหัวหน้างาน และเป็นนักวิจัย ดังนั้น การนำนักศึกษามาเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้จึงถือเป็นการบูรณาการความรู้ของศิษย์เก่า ที่สำคัญ มีนักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานกลับไปปรับใช้กับที่บ้านของตนเอง โดยเขาสามารถผลิตเมลอนในโรงเรือนปลูกพืชได้” ผศ.ดร.ศุภัครชา กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“เกษตร” มรภ.สงขลา นำ นศ. เรียนรู้ระบบผลิตพืชระบบโรงเรือน บูรณาการรายวิชาพืชเศรษฐกิจภาคใต้ สู่การนำไปใช้จริง
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา นำนักศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน ศึกษาดูงานการผลิตพืชระบบโรงเรือน และระบบการให้น้ำ RO ภายใต้แปลงมาตรฐาน GAP บูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาพืชเศรษฐกิจภาคใต้ สู่การประยุกต์ใช้จริง
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำโดย ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช ชั้นปีที่ 4 เรียนรู้ทักษะการจัดการโรงเรือนปลูกพืชผักเศรษฐกิจที่สำคัญ บูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาพืชเศรษฐกิจภาคใต้ ณ โรงเรือนผลิตพืชระบบอัจฉริยะ ภายใต้การดูแลของโรงเรียนพลวิทยาและวิทยาลัยเทคโนโลยีสงขลา โดยมี นางสาวเจนจิรา หนูกลับ นักวิจัย (ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช) พร้อมด้วย นายเอกฉันท์ บุญรัศมี ช่างปฏิบัติการทางเทคนิค นายกอบชัย สุขสะปาน ช่างปฏิบัติการทางเทคนิค และ นายพิรพัฒน์ บุญช่วย นักวิจัย (ศิษย์เก่าสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช) ให้การต้อนรับและแนะนำเกี่ยวกับจัดการการผลิตพืชในโรงเรือน
นางสาวเจนจิรา หนูกลับ กล่าวว่า การปลูกมะเขือเทศในโรงเรือนอัจฉริยะและมีระบบน้ำ RO (Reverse Osmosis) เป็นวิธีการเพาะปลูกสมัยใหม่ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของมะเขือเทศ โดยควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของพืช ข้อดีของการปลูกในโรงเรือนอัจฉริยะคือสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ทั้งในเรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง และการระบายอากาศสามารถปรับให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ ป้องกันศัตรูพืชและโรคพืชได้ โดยสามารถลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและประหยัดน้ำ เพราะใช้ระบบน้ำหยด ช่วยลดการใช้น้ำ สามารถเพิ่มผลผลิตได้ซึ่งปลูกได้ตลอดปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด โดยมะเขือเทศที่ผลิตในโรงเรือนสามารถจำหน่ายได้ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท
ด้าน นายเอกฉันท์ บุญรัศมี กล่าวว่า ระบบน้ำ RO (Reverse Osmosis) เป็นเทคโนโลยีการกรองน้ำที่ช่วยกำจัดสารปนเปื้อนและแร่ธาตุที่ไม่จำเป็นออกจากน้ำ ทำให้ได้น้ำบริสุทธิ์ที่เหมาะสำหรับการปลูกพืชและมะเขือเทศ ข้อดีของการใช้น้ำ RO คือควบคุมคุณภาพน้ำได้แม่นยำ ลดความเสี่ยงจากโรคที่มากับน้ำ และช่วยให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น การใช้เทคโนโลยีในโรงเรือนอัจฉริยะระบบ IoT (Internet of Things) เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม มีระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับนำมาปรับปรุงการผลิต คาดการณ์ผลผลิต และปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งระบบจัดการน้ำอัจฉริยะสามารถควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ได้
ผศ.ดร.ศุภัครชา อภิรติกร กล่าวเสริมว่า การปลูกพืชหรือมะเขือเทศในโรงเรือนอัจฉริยะด้วยระบบน้ำ RO เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตมะเขือเทศคุณภาพดี แม้จะมีต้นทุนเริ่มต้นสูง แต่สามารถให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาว ทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ซึ่งทางหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช หวังให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ เพื่อต่อยอดในการพัฒนาตนเองในสายงานวิชาชีพก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในเทอมถัดไป
“น่ายินดีว่ามีศิษย์เก่าสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช มรภ.สงขลา ทำงานอยู่ที่นี่สองคน เป็นหัวหน้างาน และเป็นนักวิจัย ดังนั้น การนำนักศึกษามาเรียนรู้นอกห้องเรียนในครั้งนี้จึงถือเป็นการบูรณาการความรู้ของศิษย์เก่า ที่สำคัญ มีนักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานกลับไปปรับใช้กับที่บ้านของตนเอง โดยเขาสามารถผลิตเมลอนในโรงเรือนปลูกพืชได้” ผศ.ดร.ศุภัครชา กล่าว.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024