สำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา จัดสัมมนาหนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏ เทียบเชิญ 7 นายหนังตะลุงศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบันร่วมประชันฝีมือ มุ่งสร้างเครือข่ายนายหนังตะลุงในเขตพื้นที่ จ.สงขลา พัทลุง สตูล เปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ร่วมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคใต้
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการสัมมนาหนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏสงขลา ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมเล็ก หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มรภ.สงขลา เวลา 08.30 น. และบริเวณงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ตั้งแต่เวลา 20.00 น.เป็นต้นไป วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงของเยาวชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายนายหนังตะลุงที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ต่อยอดสู่การแสดงทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย รวมทั้งนายหนังตะลุงและผู้สนในทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และ สตูล ทั้งยังเป็นโอกาสในการร่วมกันศึกษาความเปลี่ยนแปลงในขนบประเพณีและและการแสดงของหนังตะลุง โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด
ภายในงานมีการสัมมนา เรื่อง “บทบาทหนังตะลุงในศตวรรษที่ 21” วิทยากรโดย 1. นายประเสริฐ รักวงศ์ นายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวดสงขลา 2. นายผวน เส้งนนท์ นายกสมาคมหนังตะลุงเมืองสงขลา
3. อาจารย์ ดร.ศราณี เวศยาสิรินทร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
นอกจากนั้น ยังมีการสัมมนา เรื่อง ขนบหนังตะลุง “หนังตะลุง การสืบทอดทางวัฒนธรรมแห่งภาคใต้” วิทยากรโดย 1. นายผวน เส้งนนท์ (หนังผวน สำเนาทอง) 2. นายกมลวิทย์ ขวัญรอด (หนังไก่ฟ้า ประกาศิต) 3. นายอุดมศักศิ์ สุวรรณธนะ (หนังบูชน้อย ตะลุงอินเตอร์) 4. นายจิตติกรณ์ บัวเพชร (หนังชายป้อ ประทุมศิลป์) พร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติ ช่วงกลางคืนมีการจัดการแสดง “หนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏ” โดยนายหนังตะลุงที่เป็นนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยทั้ง จำนวน 7 คณะ ได้แก่ 1. หนังไก่ฟ้า ประกาศิต 2. หนังบูชน้อย ตะลุงอินเตอร์ 3. หนังหญิงอัญมณี สืบแสง 4. หนังชายป้อ ประทุมศิลป์ 5. หนังเต้ ศ. นครินทร์6. หนังภาคภูมิ ตะลุงเสียงทอง 7.หนังท๊อป กิจชานนท์ ศ. สุภาพชุมยวง
ผศ.ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา กล่าวว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ที่เป็นเอกลักษณ์และสะท้อนอัตลักษณ์ของความเป็นคนใต้มายาวนานนับร้อยปี สันนิษฐานกันว่าหนังตะลุงเกิดในประเทศอินเดียแล้วเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยโดย 2 ทางคือ เข้ามาทางอินโดนีเซียผ่านมาเลเซียมายังภาคใต้ของประเทศไทย และอีกทางหนึ่งคือเข้ามาฝั่งตะวันตกของภาคใต้แล้วแพร่ขยายไปทั่วภาคใต้ โดยขนบในการแสดงหนังตะลุงมีความเกี่ยวข้องกับลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ว่าจะเป็นการเชิดฤาษี พระอิศวรและการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ผสมผสานกับความเชื่อในศาสนาพุทธเกี่ยวกับคุณธรรมความดี บทสรุปเกี่ยวกับจินตนิยายที่นิยมนามาแสดงเป็นเชิง “ธรรมะ ชนะอธรรม” หนังตะลุงมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมสำหรับคนใต้
ต่อมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนภาคใต้ทั้งในวิถีการประกอบอาชีพและค่านิยมในการบริโภคจากสังคมเกษตรที่ทำนา ทำสวนและทำประมงเป็นอาชีพหลัก การดูหนังตะลุงเป็นความบันเทิงหลักของชีวิต ก็หันมานิยมความบันเทิงแบบใหม่ที่มีความฉาบฉวยมากขึ้น ชีวิตประจำวันมีความซับซ้อนมาก หนังตะลุงจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามบริบทสังคม ดังนั้น เพื่อให้การแสดงหนังตะลุงอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ได้ดำรงอย่างมีคุณค่าทั้งในด้านการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาสร้างสรรค์และเผยแพร่การแสดงหนังตะลุง ให้เยาวชนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุง สำนักศิลปะและวัฒนธรรมจึงได้จัดทำโครงการสัมมนาและจัดการแสดงหนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏสงขลา ขึ้นในครั้งนี้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา จัดสัมมนา “มหกรรมหนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏ” ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันร่วมประชันฝีมือ สร้างเครือข่ายนายหนังตะลุงในพื้นที่ จ.สงขลา-พัทลุง-สตูล
สำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา จัดสัมมนาหนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏ เทียบเชิญ 7 นายหนังตะลุงศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบันร่วมประชันฝีมือ มุ่งสร้างเครือข่ายนายหนังตะลุงในเขตพื้นที่ จ.สงขลา พัทลุง สตูล เปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ร่วมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคใต้
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดโครงการสัมมนาหนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏสงขลา ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมเล็ก หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ มรภ.สงขลา เวลา 08.30 น. และบริเวณงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ตั้งแต่เวลา 20.00 น.เป็นต้นไป วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุงของเยาวชน ตลอดจนสร้างเครือข่ายนายหนังตะลุงที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ต่อยอดสู่การแสดงทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย รวมทั้งนายหนังตะลุงและผู้สนในทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา พัทลุง และ สตูล ทั้งยังเป็นโอกาสในการร่วมกันศึกษาความเปลี่ยนแปลงในขนบประเพณีและและการแสดงของหนังตะลุง โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดี มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด
ภายในงานมีการสัมมนา เรื่อง “บทบาทหนังตะลุงในศตวรรษที่ 21” วิทยากรโดย 1. นายประเสริฐ รักวงศ์ นายกสมาคมศิลปินพื้นบ้านจังหวดสงขลา 2. นายผวน เส้งนนท์ นายกสมาคมหนังตะลุงเมืองสงขลา
3. อาจารย์ ดร.ศราณี เวศยาสิรินทร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดำเนินรายการโดย ผศ. ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
นอกจากนั้น ยังมีการสัมมนา เรื่อง ขนบหนังตะลุง “หนังตะลุง การสืบทอดทางวัฒนธรรมแห่งภาคใต้” วิทยากรโดย 1. นายผวน เส้งนนท์ (หนังผวน สำเนาทอง) 2. นายกมลวิทย์ ขวัญรอด (หนังไก่ฟ้า ประกาศิต) 3. นายอุดมศักศิ์ สุวรรณธนะ (หนังบูชน้อย ตะลุงอินเตอร์) 4. นายจิตติกรณ์ บัวเพชร (หนังชายป้อ ประทุมศิลป์) พร้อมสาธิตและฝึกปฏิบัติ ช่วงกลางคืนมีการจัดการแสดง “หนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏ” โดยนายหนังตะลุงที่เป็นนักศึกษาปัจจุบันและศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยทั้ง จำนวน 7 คณะ ได้แก่ 1. หนังไก่ฟ้า ประกาศิต 2. หนังบูชน้อย ตะลุงอินเตอร์ 3. หนังหญิงอัญมณี สืบแสง 4. หนังชายป้อ ประทุมศิลป์ 5. หนังเต้ ศ. นครินทร์6. หนังภาคภูมิ ตะลุงเสียงทอง 7.หนังท๊อป กิจชานนท์ ศ. สุภาพชุมยวง
ผศ.ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มรภ.สงขลา กล่าวว่า หนังตะลุงเป็นศิลปะการแสดงพื้นเมืองภาคใต้ที่เป็นเอกลักษณ์และสะท้อนอัตลักษณ์ของความเป็นคนใต้มายาวนานนับร้อยปี สันนิษฐานกันว่าหนังตะลุงเกิดในประเทศอินเดียแล้วเผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยโดย 2 ทางคือ เข้ามาทางอินโดนีเซียผ่านมาเลเซียมายังภาคใต้ของประเทศไทย และอีกทางหนึ่งคือเข้ามาฝั่งตะวันตกของภาคใต้แล้วแพร่ขยายไปทั่วภาคใต้ โดยขนบในการแสดงหนังตะลุงมีความเกี่ยวข้องกับลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ว่าจะเป็นการเชิดฤาษี พระอิศวรและการแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ผสมผสานกับความเชื่อในศาสนาพุทธเกี่ยวกับคุณธรรมความดี บทสรุปเกี่ยวกับจินตนิยายที่นิยมนามาแสดงเป็นเชิง “ธรรมะ ชนะอธรรม” หนังตะลุงมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมสำหรับคนใต้
ต่อมาเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนภาคใต้ทั้งในวิถีการประกอบอาชีพและค่านิยมในการบริโภคจากสังคมเกษตรที่ทำนา ทำสวนและทำประมงเป็นอาชีพหลัก การดูหนังตะลุงเป็นความบันเทิงหลักของชีวิต ก็หันมานิยมความบันเทิงแบบใหม่ที่มีความฉาบฉวยมากขึ้น ชีวิตประจำวันมีความซับซ้อนมาก หนังตะลุงจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามบริบทสังคม ดังนั้น เพื่อให้การแสดงหนังตะลุงอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ได้ดำรงอย่างมีคุณค่าทั้งในด้านการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาสร้างสรรค์และเผยแพร่การแสดงหนังตะลุง ให้เยาวชนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของวัฒนธรรมการแสดงหนังตะลุง สำนักศิลปะและวัฒนธรรมจึงได้จัดทำโครงการสัมมนาและจัดการแสดงหนังดาวรุ่ง ตะลุงราชภัฏสงขลา ขึ้นในครั้งนี้.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024