มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยร่วมกับ มรภ.ลำปาง และ 21 ภาคีเครือข่าย ยกระดับท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปาง ไปยังพิษณุโลก) ผนึกกำลังขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจไทย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านท่องเที่ยวและบริการ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (มรภ.ลำปาง) นำโดย รศ.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดี มรภ.ลำปาง และภาคีเครือข่าย 21 หน่วยงาน เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปาง ไปยังพิษณุโลก) วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้การประสานความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้พร้อมทั้งนำผลจากการดำเนินการตามแผนงานไปใช้ประโยชน์ในมิติด้านต่างๆ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวและบริการ
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2567 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) มีแผนการส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวทางรถไฟเชิงสร้างสรรค์ทั่วประเทศ ผ่านมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4 แห่ง ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
1. ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ สุโขทัย) แผนงานวิจัย การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ผ่านการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือ ส่วนขยาย (เชียงใหม่ ลำปาง ไปยัง พิษณุโลก) โดย มรภ.ลำปาง
2. ภาคใต้ (สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช) แผนงานวิจัย การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟในเส้นทางศักยภาพของภาคใต้บนฐานอัตลักษณ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หาดใหญ่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช และ ตรัง) โดย มรภ.สงขลา
3. ภาคอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย) แผนงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้างมูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงในเส้นทางอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย) โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
4. ภาคอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี) แผนงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้างมูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรมและความเชื่อในเส้นทางอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี) โดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
April 8, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ มรภ.ลำปาง-21 ภาคีเครือข่าย ยกระดับท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปาง ไปยังพิษณุโลก)
มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือด้านวิชาการและการวิจัยร่วมกับ มรภ.ลำปาง และ 21 ภาคีเครือข่าย ยกระดับท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปาง ไปยังพิษณุโลก) ผนึกกำลังขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจไทย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันด้านท่องเที่ยวและบริการ
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 รศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) พร้อมด้วย ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ หัวหน้าโครงการวิจัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิชาการและการวิจัย ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (มรภ.ลำปาง) นำโดย รศ.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ อธิการบดี มรภ.ลำปาง และภาคีเครือข่าย 21 หน่วยงาน เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ – ลำปาง ไปยังพิษณุโลก) วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้การประสานความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้พร้อมทั้งนำผลจากการดำเนินการตามแผนงานไปใช้ประโยชน์ในมิติด้านต่างๆ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวและบริการ
ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2567 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) มีแผนการส่งเสริม สนับสนุนการท่องเที่ยวทางรถไฟเชิงสร้างสรรค์ทั่วประเทศ ผ่านมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 4 แห่ง ร่วมกับภาคีเครือข่าย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยครอบคลุมภูมิภาคต่างๆ ดังนี้
1. ภาคเหนือ (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ สุโขทัย) แผนงานวิจัย การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ผ่านการท่องเที่ยวโดยรถไฟสายเหนือ ส่วนขยาย (เชียงใหม่ ลำปาง ไปยัง พิษณุโลก) โดย มรภ.ลำปาง
2. ภาคใต้ (สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช) แผนงานวิจัย การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟในเส้นทางศักยภาพของภาคใต้บนฐานอัตลักษณ์เพื่อการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (หาดใหญ่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช และ ตรัง) โดย มรภ.สงขลา
3. ภาคอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย) แผนงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้างมูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรม และความเชื่อมโยงในเส้นทางอีสานตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย) โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
4. ภาคอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี) แผนงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟเพื่อสร้างมูลค่าด้วยฐานทุนวัฒนธรรมและความเชื่อในเส้นทางอีสานตอนล่าง (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี) โดย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“อ.ศิวะ อินทะโคตร” คณะศิลปกรรมฯ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลชนะเลิศภาพบุคคล งานแสดงสีน้ำนานาชาติ ...
April 8, 2025
มรภ.สงขลา ติวครู รร.ตชด. ปรับหลักสูตรปฐมวัยและประถมศึกษา ฝึกทำแผนการสอนส่งเสริมสมรรถนะเด็กนักเรียน
April 8, 2025
มรภ.สงขลา ต้อนรับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 12 สงขลา ตรวจสอบความพร้อมศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถ สร้างความเชื่อมั่นใช้เป็นศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถฝีมือแรงงาน
April 8, 2025
มรภ.สงขลา ประกวดผลงานนักศึกษาสหกิจฯ เปิดเวทีโชว์ศักยภาพจากการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
April 8, 2025