มรภ.สงขลา จังานวัฒนธรรมสัมพันธ์ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก” วันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 อัดแน่นการแสดงตลอด 9 วัน 9 คืน ชูวิถีวัฒนธรรมสะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 “อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก” ระหว่างวันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณรอบเกาะลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เพื่ออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า การประกวดแข่งขันด้านศิลปวัฒนธรรม นิทรรรศการภาพถ่าย สักการะทวดช้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย การแสดงจากวงดนตรีลูกทุ่งราชภัฏ การแสดงเยาวชน การแสดงวัฒนธรรม 4 ภาค การแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และศิลปินวงดนตรี ตลอด 9 วัน 9 คืน พิธีเปิดวันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกสภา มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งมอบโล่เชิดชูเกียรติปิตาภรณ์แผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2566 และ มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลประกวดภาพถ่าย “โนรา มรดกภูมิปัญญาของมนุษยชาติ”
ทั้งนี้ มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาติ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นภารกิจสำคัญในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นตัวตนที่แท้จริงหรือเป็นรากแก้วของแผ่นดิน จึงได้จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของของชาติและของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป เนื่องจากปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยและมีการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย เช่น การแต่งกาย ภาษาพูด รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมมีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม หากมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหลากหลายในพื้นที่ไม่ได้รับการสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟู รวมถึงพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคมและจิตใจ ย่อมส่งผลให้คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมลดน้อยลงไปจนแทบจะสูญหาย วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ในแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาหลากหลาย ควรได้รับการถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นหลัง ซึ่งการอนุรักษ์เป็นหนทางหนึ่งที่ยั่งยืนในการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ดำรงอยู่ และการเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยให้นักศึกษาเป็นผู้สืบทอดจากผู้รู้ในชุมชน จะช่วยให้เข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ชวนเที่ยวงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก” จัดเต็มการแสดง 9 วัน 9 คืน สะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน
มรภ.สงขลา จังานวัฒนธรรมสัมพันธ์ “อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก” วันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 อัดแน่นการแสดงตลอด 9 วัน 9 คืน ชูวิถีวัฒนธรรมสะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 “อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก” ระหว่างวันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณรอบเกาะลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เพื่ออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า การประกวดแข่งขันด้านศิลปวัฒนธรรม นิทรรรศการภาพถ่าย สักการะทวดช้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย การแสดงจากวงดนตรีลูกทุ่งราชภัฏ การแสดงเยาวชน การแสดงวัฒนธรรม 4 ภาค การแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และศิลปินวงดนตรี ตลอด 9 วัน 9 คืน พิธีเปิดวันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกสภา มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งมอบโล่เชิดชูเกียรติปิตาภรณ์แผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2566 และ มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลประกวดภาพถ่าย “โนรา มรดกภูมิปัญญาของมนุษยชาติ”
ทั้งนี้ มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาติ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นภารกิจสำคัญในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นตัวตนที่แท้จริงหรือเป็นรากแก้วของแผ่นดิน จึงได้จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของของชาติและของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป เนื่องจากปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยและมีการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย เช่น การแต่งกาย ภาษาพูด รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมมีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม หากมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหลากหลายในพื้นที่ไม่ได้รับการสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟู รวมถึงพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคมและจิตใจ ย่อมส่งผลให้คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมลดน้อยลงไปจนแทบจะสูญหาย วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ในแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาหลากหลาย ควรได้รับการถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นหลัง ซึ่งการอนุรักษ์เป็นหนทางหนึ่งที่ยั่งยืนในการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ดำรงอยู่ และการเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยให้นักศึกษาเป็นผู้สืบทอดจากผู้รู้ในชุมชน จะช่วยให้เข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024