มรภ.สงขลา ประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทีม Singora Heritage คว้ารางวัลชนะเลิศ ถ่ายทอดเรื่องราว สร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบลุ่มน้ำ-ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำนักศิลปะฯ เตรียมเสนอยูเนสโกปี พ.ศ.2566 ขับเคลื่อน จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานเปิดการประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ณ อาคารปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ซึ่งเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ) และมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ อย่างดียิ่ง โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 5 ทีม คณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วย ผศ.ฐิติมาพร ศรีรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ เชฟสมพร อินทสุวรรณ สมาคมพ่อครัวไทยภูเก็ต และ นายพรศักดิ์ พงศาปาน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาอาหารภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และถ่ายทอดเรื่องราวอาหารของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารพื้นถิ่นลุ่มน้ำฯ นำไปสู่การผลักดันให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร
สำหรับเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ใช้ในการประกวดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กับข้าว 2. ของแนมหรือเครื่องจิ้ม ที่รับประทานร่วมกับกับข้าวในสำรับ 3. ของหวาน โดยใช้วัตถุดิบจากทะเลสาบสงขลา ได้แก่ ปลากะพง กุ้งแชบ๊วย และวัตถุดิบจากท้องถิ่น ได้แก่ ไข่ครอบ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารของทางภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา และ ข้าวช่อขิง ข้าวพันธุ์โบราณของภาคใต้ตอนล่าง เป็นส่วนประกอบหลักในเมนูอาหาร
ผลการแข่งขันปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Singora Heritage (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฉู่ฉี่ปลากะพง ยำสาหร่ายผมนาง น้ำชุบหยำผักสด บัวลอยไข่ครอบ และ น้ำชาช่อขิง) รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล รางวัลรองชนะเลิศ ทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลางบางแก้ว รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีมกระแสสินธุ์เลใน ทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอม-คูเต่า และ ทีม The Hybrid Histarian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม
ดร.บรรจง กล่าวว่า มรภ.สงขลา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร โดยมีแผนที่จะเสนอต่อองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2566 หาก จ.สงขลา ผ่านการพิจารณาและได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จะส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นโดยเฉพาะเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้มาเยือน ซึ่ง จ.สงขลา มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ ส่งผลให้อาหารของผู้คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นไข่ครอบ กุ้งหวาน หรือแม้แต่ขนมต่างๆ ที่เกิดจากการหลอมรวมวัฒนธรรมของไทยพุทธ ไทยมุสลิม จนเกิดเมนูอาหารที่เป็นที่นิยมบริโภคของผู้คนที่มาเยือน
ดร.บรรจง กล่าวอีกว่า ผู้คนในภาคใต้มักกล่าวถึงรสชาติอาหารที่มีความอร่อยว่า “กินดี กินหรอย” ซึ่งสะท้อนว่าอาหารมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การมีอาหารบริโภคที่เหมาะสมและพอเพียง จึงเป็นเครื่องชี้วัดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชนอีกด้วย รวมไปถึงการบ่งชี้ประโยชน์หรือคุณค่าทางโภชนาการที่มนุษย์แต่ละคนสมควรได้รับ อันเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ หากแต่ในขณะเดียวกันอาหารยังเป็นเครื่องแสดงถึงพลัง ศักยภาพ และอัตลักษณ์ทางสังคมที่แต่ละแห่งมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบ สีสัน วิธีการปรุงแต่ง รสชาติ กลิ่น ความนิยมของผู้คน คุณค่าทางโภชนาการ อาหารบางอย่างยังเกี่ยวข้องกับชนชั้น เพศ ภาวะสุขภาพ และพิธีกรรมความเชื่อ ปัจจัยเหล่านี้กลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมของการบริโภค อันเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาและและเครื่องบ่งชี้ทางวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชากรในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“ทีม Singora Heritage” ชนะเลิศประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบฯ สำนักศิลปะฯ มรภ.สงขลา เตรียมเสนอยูเนสโก ปั้น จ.สงขลา เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร
มรภ.สงขลา ประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ทีม Singora Heritage คว้ารางวัลชนะเลิศ ถ่ายทอดเรื่องราว สร้างมูลค่าเพิ่มวัตถุดิบลุ่มน้ำ-ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สำนักศิลปะฯ เตรียมเสนอยูเนสโกปี พ.ศ.2566 ขับเคลื่อน จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร
วันที่ 9 สิงหาคม 2565 ดร.บรรจง ทองสร้าง ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เป็นประธานเปิดการประกวดอาหารพื้นถิ่น เมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ณ อาคารปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ซึ่งเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ) และมีความพร้อมด้านอุปกรณ์ต่างๆ อย่างดียิ่ง โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 5 ทีม คณะกรรมการผู้ตัดสินประกอบด้วย ผศ.ฐิติมาพร ศรีรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ เชฟสมพร อินทสุวรรณ สมาคมพ่อครัวไทยภูเก็ต และ นายพรศักดิ์ พงศาปาน ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาอาหารภาคใต้ วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และถ่ายทอดเรื่องราวอาหารของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารพื้นถิ่นลุ่มน้ำฯ นำไปสู่การผลักดันให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร
สำหรับเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่ใช้ในการประกวดแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กับข้าว 2. ของแนมหรือเครื่องจิ้ม ที่รับประทานร่วมกับกับข้าวในสำรับ 3. ของหวาน โดยใช้วัตถุดิบจากทะเลสาบสงขลา ได้แก่ ปลากะพง กุ้งแชบ๊วย และวัตถุดิบจากท้องถิ่น ได้แก่ ไข่ครอบ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารของทางภาคใต้โดยเฉพาะบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา และ ข้าวช่อขิง ข้าวพันธุ์โบราณของภาคใต้ตอนล่าง เป็นส่วนประกอบหลักในเมนูอาหาร
ผลการแข่งขันปรากฏว่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Singora Heritage (ทำเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฉู่ฉี่ปลากะพง ยำสาหร่ายผมนาง น้ำชุบหยำผักสด บัวลอยไข่ครอบ และ น้ำชาช่อขิง) รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล รางวัลรองชนะเลิศ ทีมชุมชนท่องเที่ยวเวียงกลางบางแก้ว รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และ รางวัลชมเชย 3 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร ได้แก่ ทีมกระแสสินธุ์เลใน ทีมคลองอู่ตะเภาตอนล่าง แม่ทอม-คูเต่า และ ทีม The Hybrid Histarian SKRU ประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม
ดร.บรรจง กล่าวว่า มรภ.สงขลา โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนให้ จ.สงขลา เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร โดยมีแผนที่จะเสนอต่อองค์การยูเนสโกในปี พ.ศ.2566 หาก จ.สงขลา ผ่านการพิจารณาและได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร จะส่งผลให้อาหารพื้นถิ่นโดยเฉพาะเมนูสำรับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้มาเยือน ซึ่ง จ.สงขลา มีความเป็นพหุวัฒนธรรมและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ ส่งผลให้อาหารของผู้คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีความหลากหลายและมีอัตลักษณ์เฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นไข่ครอบ กุ้งหวาน หรือแม้แต่ขนมต่างๆ ที่เกิดจากการหลอมรวมวัฒนธรรมของไทยพุทธ ไทยมุสลิม จนเกิดเมนูอาหารที่เป็นที่นิยมบริโภคของผู้คนที่มาเยือน
ดร.บรรจง กล่าวอีกว่า ผู้คนในภาคใต้มักกล่าวถึงรสชาติอาหารที่มีความอร่อยว่า “กินดี กินหรอย” ซึ่งสะท้อนว่าอาหารมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การมีอาหารบริโภคที่เหมาะสมและพอเพียง จึงเป็นเครื่องชี้วัดการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรในชุมชนอีกด้วย รวมไปถึงการบ่งชี้ประโยชน์หรือคุณค่าทางโภชนาการที่มนุษย์แต่ละคนสมควรได้รับ อันเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการ หากแต่ในขณะเดียวกันอาหารยังเป็นเครื่องแสดงถึงพลัง ศักยภาพ และอัตลักษณ์ทางสังคมที่แต่ละแห่งมีพัฒนาการมาอย่างยาวนาน สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย ทั้งรูปแบบ สีสัน วิธีการปรุงแต่ง รสชาติ กลิ่น ความนิยมของผู้คน คุณค่าทางโภชนาการ อาหารบางอย่างยังเกี่ยวข้องกับชนชั้น เพศ ภาวะสุขภาพ และพิธีกรรมความเชื่อ ปัจจัยเหล่านี้กลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมของการบริโภค อันเป็นผลผลิตที่เกิดจากภูมิปัญญาและและเครื่องบ่งชี้ทางวัฒนธรรม ซึ่งควรค่าแก่การศึกษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชากรในพื้นที่ได้ตระหนักและเข้าใจถึงความสำคัญ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024