คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เดินหน้าสืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระบรมราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ปีที่ 3 กิจกรรมปักดำ เพิ่มทักษะอาชีพกลุ่มเกษตรกร ต.เกาะแต้ว ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ควบคู่ฟื้นฟูการปลูกข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ตนพร้อมด้วยคณาจารย์ทุกหลักสูตรของทางคณะฯ อาทิ ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อ.สุเพ็ญ ด้วงทอง ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม ผศ.ดร.ธิติมา พานิชย์ ดร.อดิศรา ตันตสุทธิกุล อ.ทวีศักดิ์ ทองไฝ ผศ.สบาย ต้นไทย ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา อ.ปิยนันท์ นวลหนูปล้อง อ.ขนิษฐา พันชูกลาง ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล และ ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง แม่งานหลัก รวมถึงเจ้าหน้าที่และนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร ลงพื้นที่ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง สืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระบรมราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 (ปีที่ 3) กิจกรรมปักดำ
ดร.มงคล กล่าวว่า มรภ.สงขลา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่เข้าร่วมยุทธศาสตร์ใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) โดยหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญ คือ ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี น้อมนำแนวพระราชดำริ และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีแนวทางที่จะพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายได้ โดยการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เพื่อเพิ่มทักษะวิชาชีพและพัฒนาอาชีพของกลุ่มเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชุมชน ต.เกาะแต้ว ภายใต้โครงการ “การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง”
คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวอีกว่า เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าว มีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีความหลากหลายพันธุ์ ได้แก่ เล็บนก หอมกระดังงา หอมจันทร์ ดอกพะยอม รวงรี ลูกปลา ดำเบา และจำปา เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ดี ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรู จึงสามารถจัดการผลิตแบบอินทรีย์ได้ง่าย นอกจากนั้น ข้าวพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน และมีคุณสมบัติที่ดีเกี่ยวกับความหอมนุ่มและรสชาติ
ด้าน ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้บรรยายเรื่องการจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีการเกษตรเล็งเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูการปลูกข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมืองในแหล่งที่ปลูก เพื่อช่วยไม่ให้พันธุกรรมข้าวสูญหายไปจากธรรมชาติ และเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการใน 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ในชุมชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคัดพันธุ์ข้าว และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี จึงทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วปลูกนั้นมีการปะปนพันธุ์ ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำลง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอกเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต
นอกจากนั้น เกษตรกรยังมีการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้แกะ ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ทางคณะฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าวที่กำลังหายไปจากสังคมเกษตรกรไทย ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้าน ชุมชนที่อาศัยอีกด้วย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10” ปีที่ 1 และ 2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชุมชนเกาะแต้วที่มีความบริสุทธิ์ทางสายพันธุ์ และร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีอันดีของการลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเกษตรกร
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ผู้บรรยายเรื่องการเตรียมต้นกล้าข้าวเพื่อปักดำแล้ว กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาจากการสอบถามเกษตรกร พบว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์แบบปักดำและการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งจะต้องดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ปีที่ 3” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดิน การเตรียมต้นกล้าข้าวเพื่อปักดำในการผลิตข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วได้ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้ร่วมกิจกรรมลงแขกปักดำข้าวในพื้นที่นาประมาณ 3 ไร่ ซึ่งการลงแขกเกี่ยวข้าวถือเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาแต่เดิมของไทย และเป็นการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.ศุภัครชา อภิรติกร กล่าวเสริมว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นแหล่งแปลงนาตัวอย่างในการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้แก่นักศึกษาในด้านการเรียนการสอน และเป็นแหล่งรองรับการทำวิจัยในด้านการตอบสนองพันธกิจของ มรภ.สงขลา ในการพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือกันระหว่างชุมชน กลุ่มเกษตรกร และทางมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในการลงแขกปักดำต้นกล้า และการลงแขกเกี่ยวข้าวในการผลิตข้าวพื้นเมืองอินทรีย์อย่างถูกวิธีของกลุ่มเกษตรกร ต.เกาะแต้ว
ขณะที่ นางหวันสะเร๊าะ บินมุสา ตัวแทนเกษตรกร ต.เกาะแต้ว ผู้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า ตนได้เตรียมต้นกล้าและการจัดการดินตามที่ได้รับคำแนะนำมาก่อน ทำให้ตนมีความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพิ่มจากสิ่งที่ตนรู้มาแต่เดิม ที่ตกทอดกันมาจากคนในชุมชน ทั้งนี้ ตนและพวกสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อให้สามารถคัดพันธุ์ข้าว และนำมาใช้ในการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองต่อได้อย่างถูกวิธี ที่สำคัญ ตนยินดีที่จะร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน
ปิดท้ายด้วย นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า รู้สึกชอบที่ได้ทำโครงการร่วมกับชุมชน ตนได้เรียนรู้การปลูกข้าวและได้ร่วมกันสืบสานประเพณีลงแขกดำนา และตนจะรอมาเกี่ยวข้าวกับเกษตรด้วย ทั้งนี้ ตนรู้สึกสนุกและคิดว่าโครงการนี้ช่วยสร้างความผูกพัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรักและความสามัคคีกันของคนในชุมชน รวมถึงระหว่างตนเองและเพื่อนๆ ด้วย.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
คณะเกษตร มรภ.สงขลา สืบสานวัฒนธรรมข้าว ปีที่ 3 กิจกรรมปักดำ ตามแนวพระบรมราโชบายถวายในหลวง ร.10
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เดินหน้าสืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระบรมราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ปีที่ 3 กิจกรรมปักดำ เพิ่มทักษะอาชีพกลุ่มเกษตรกร ต.เกาะแต้ว ให้มีความมั่นคงและยั่งยืน ควบคู่ฟื้นฟูการปลูกข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ตนพร้อมด้วยคณาจารย์ทุกหลักสูตรของทางคณะฯ อาทิ ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อ.สุเพ็ญ ด้วงทอง ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม ผศ.ดร.ธิติมา พานิชย์ ดร.อดิศรา ตันตสุทธิกุล อ.ทวีศักดิ์ ทองไฝ ผศ.สบาย ต้นไทย ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา อ.ปิยนันท์ นวลหนูปล้อง อ.ขนิษฐา พันชูกลาง ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล และ ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง แม่งานหลัก รวมถึงเจ้าหน้าที่และนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร สาขาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร ลงพื้นที่ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง สืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระบรมราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 (ปีที่ 3) กิจกรรมปักดำ
ดร.มงคล กล่าวว่า มรภ.สงขลา เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่เข้าร่วมยุทธศาสตร์ใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) โดยหนึ่งในพันธกิจที่สำคัญ คือ ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี น้อมนำแนวพระราชดำริ และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีแนวทางที่จะพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายได้ โดยการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตรได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2560 เพื่อเพิ่มทักษะวิชาชีพและพัฒนาอาชีพของกลุ่มเกษตรกรให้มีความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชุมชน ต.เกาะแต้ว ภายใต้โครงการ “การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พันธุ์ข้าวพื้นเมือง”
คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวอีกว่า เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายดังกล่าว มีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีความหลากหลายพันธุ์ ได้แก่ เล็บนก หอมกระดังงา หอมจันทร์ ดอกพะยอม รวงรี ลูกปลา ดำเบา และจำปา เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเป็นพันธุ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นนั้นๆ ได้ดี ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรู จึงสามารถจัดการผลิตแบบอินทรีย์ได้ง่าย นอกจากนั้น ข้าวพันธุ์พื้นเมืองแต่ละสายพันธุ์มีคุณค่าทางโภชนาการที่แตกต่างกัน และมีคุณสมบัติที่ดีเกี่ยวกับความหอมนุ่มและรสชาติ
ด้าน ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ผู้บรรยายเรื่องการจัดการดินเพื่อการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีการเกษตรเล็งเห็นความสำคัญในการฟื้นฟูการปลูกข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นเมืองในแหล่งที่ปลูก เพื่อช่วยไม่ให้พันธุกรรมข้าวสูญหายไปจากธรรมชาติ และเป็นแหล่งพันธุกรรมที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต จากการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการใน 3 ปีที่ผ่านมา พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ในชุมชนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคัดพันธุ์ข้าว และเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี จึงทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วปลูกนั้นมีการปะปนพันธุ์ ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำลง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอกเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต
นอกจากนั้น เกษตรกรยังมีการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้แกะ ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ทางคณะฯ จึงเล็งเห็นความสำคัญของประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าวที่กำลังหายไปจากสังคมเกษตรกรไทย ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังสามารถสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้าน ชุมชนที่อาศัยอีกด้วย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563 คณะเทคโนโลยีการเกษตรได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10” ปีที่ 1 และ 2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชุมชนเกาะแต้วที่มีความบริสุทธิ์ทางสายพันธุ์ และร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีอันดีของการลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งได้รับความสนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเกษตรกร
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ผู้บรรยายเรื่องการเตรียมต้นกล้าข้าวเพื่อปักดำแล้ว กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาจากการสอบถามเกษตรกร พบว่ายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์แบบปักดำและการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว ซึ่งจะต้องดำเนินการในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สืบสานวัฒนธรรมข้าว ตามแนวพระราโชบาย ถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ปีที่ 3” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการดิน การเตรียมต้นกล้าข้าวเพื่อปักดำในการผลิตข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วได้ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้ร่วมกิจกรรมลงแขกปักดำข้าวในพื้นที่นาประมาณ 3 ไร่ ซึ่งการลงแขกเกี่ยวข้าวถือเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาแต่เดิมของไทย และเป็นการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.ศุภัครชา อภิรติกร กล่าวเสริมว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่เป็นแหล่งแปลงนาตัวอย่างในการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้แก่นักศึกษาในด้านการเรียนการสอน และเป็นแหล่งรองรับการทำวิจัยในด้านการตอบสนองพันธกิจของ มรภ.สงขลา ในการพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชา อีกทั้งยังเป็นการสร้างความร่วมมือกันระหว่างชุมชน กลุ่มเกษตรกร และทางมหาวิทยาลัย ในการพัฒนาสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในการลงแขกปักดำต้นกล้า และการลงแขกเกี่ยวข้าวในการผลิตข้าวพื้นเมืองอินทรีย์อย่างถูกวิธีของกลุ่มเกษตรกร ต.เกาะแต้ว
ขณะที่ นางหวันสะเร๊าะ บินมุสา ตัวแทนเกษตรกร ต.เกาะแต้ว ผู้เข้าร่วมโครงการฯ กล่าวว่า ตนได้เตรียมต้นกล้าและการจัดการดินตามที่ได้รับคำแนะนำมาก่อน ทำให้ตนมีความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเพิ่มจากสิ่งที่ตนรู้มาแต่เดิม ที่ตกทอดกันมาจากคนในชุมชน ทั้งนี้ ตนและพวกสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เพื่อให้สามารถคัดพันธุ์ข้าว และนำมาใช้ในการผลิตข้าวพันธุ์พื้นเมืองต่อได้อย่างถูกวิธี ที่สำคัญ ตนยินดีที่จะร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน
ปิดท้ายด้วย นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า รู้สึกชอบที่ได้ทำโครงการร่วมกับชุมชน ตนได้เรียนรู้การปลูกข้าวและได้ร่วมกันสืบสานประเพณีลงแขกดำนา และตนจะรอมาเกี่ยวข้าวกับเกษตรด้วย ทั้งนี้ ตนรู้สึกสนุกและคิดว่าโครงการนี้ช่วยสร้างความผูกพัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความรักและความสามัคคีกันของคนในชุมชน รวมถึงระหว่างตนเองและเพื่อนๆ ด้วย.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024