คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน ชวนคนรุ่นใหม่อนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ วิถีปลูกข้าวนาดำ สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตร ควบคู่สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ วิถีการปลูกข้าวนาดำ ณ สถานีปฏิบัติการพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่า ตนรู้สึกชื่นชมและเห็นดีงามด้วยในการปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน โดยการพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย สร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมความรู้ในการวางแผนชีวิตที่เหมาะสมกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมบนรากฐานความรู้ทางวิชาการ พัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการให้ทุกภาคส่วนในสังคม เช่น นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในสาขาวิชาต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางคณะฯ ตอบโจทย์การสร้างคนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมกับบริบท เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับตามปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา และมีระบบความรับผิดชอบทางการศึกษา บนพื้นฐานสมรรถนะหลักของผู้เรียน ผลักดันให้มีการนำวัฒนาธรรมการทำงานที่พึงประสงค์ไปใช้ปฏิบัติจนเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของคนไทย อาทิ การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การทำงานเป็นทีม การเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง การทำงานอย่างกระตือรือร้น นอกจากนั้น ยังเป็นการสืบสานวิถีชีวิตชุมชนในการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพตลอดช่วงชีวิต และเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและบัณฑิตที่มีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศ ด้าน ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า ข้าวคืออาหารหลักและเป็นพืชที่เลี้ยงชีวิตคนไทยมาแต่โบราณ อีกทั้งเป็นสินค้าเกษตรที่สามารถส่งออกเป็นสินค้าหลักของประเทศ ข้าวถือเป็นพืชดั้งเดิมที่คนไทยเพาะปลูกมาเป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษ ผูกพันกันมานานกับวิถีชีวิตของคนไทย และมีส่วนสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมข้าวที่เป็นเสมือนภาพสะท้อนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยมีพิธีที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการเพาะปลูกต่อเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอให้การเพาะปลูกข้าวในปีนั้นๆ ผ่านไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นคน ข้าว สัตว์ ต่างก็ประสบแต่ความสวัสดีมีชัย ปราศจากอันตรายต่างๆ เช่น พิธีแรกไถนา พิธีแรกดำนา พิธีปักข้าวตาแฮก พิธีแรกหว่านข้าว พิธีเชิญแม่โพสพใส่ข้าวปลูก พิธีบูชาแม่ธรณี เป็นต้น ดังนั้น ข้าวจึงเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทยที่แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตระหนักถึงความสำคัญของชาวนาไทยที่มีอาชีพหลัก คือ ปลูกข้าว ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการโคกกูแว จ.นราธิวาส พ.ศ. 2536 ความว่า “…ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก…” ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรศาสตร์ กล่าวเสริมว่า เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จึงมีโครงการต่างๆ ที่เป็นสื่อกลางที่จะหล่อหลอมให้บุคลากรในหน่วยงาน นักศึกษา และชาวนา ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป็นการอนุรักษ์วิถีการปลูกข้าว เช่น โครงการสืบสานพระบรมราโชบาย อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และโครงการให้คำปรึกษาเสริมรายได้จากพืชหลังนาอินทรีย์แก่เกษตรกรใน ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา เป็นต้น สำหรับในปี พ.ศ. 2563 ทางคณะฯ ได้จัดโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ : วิถีการปลูกขาวนาดำ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร และหน่วยงานอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าว ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยากรบรรยายเรื่อง “การปลูกข้าวแบบนาดำ” ให้แก่นักศึกษา กล่าวว่า นอกจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา มีพันธกิจเพื่อจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาทางการเกษตร วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการเกษตร และบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแล้ว ทางคณะฯ ยังมีพันธกิจด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการเกษตรและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ซึ่งวัฒนธรรมข้าวเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทย ขณะที่ ตัวแทนนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นในการดำนาครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยทำมาก่อน เนื่องจากที่บ้านไม่ได้ทำนา ซึ่งกิจกรรมที่ทางคณะฯ จัดขึ้นจะช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมการปลูกข้าวของภาคใต้ให้คงอยู่ ทำให้ตนได้รู้ถึงการดำนากว่าจะได้ข้าวมาในแต่ละปีของชาวนา นักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์อีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ชอบและรู้สึกได้ถึงความสามัคคีในการปลูกข้าวร่วมกัน แม้ว่าแดดจะร้อนแต่ก็รู้สึกได้ถึงความพยายามของชาวนาในการลงแขกปลูกข้าว และการรักษาวัฒนธรรมการปลูกข้าวแบบเดิมไว้ รู้สึกประทับใจและรอวันที่จะเกี่ยวข้าวในอีกประมาณ 90 วันข้างหน้า.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“เกษตร” มรภ.สงขลา อนุรักษ์วิถีปลูกข้าวนาดำ สืบสานวัฒนธรรมข้าวภาคใต้
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน ชวนคนรุ่นใหม่อนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ วิถีปลูกข้าวนาดำ สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตร ควบคู่สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ
ผศ.ดร.ทัศนา ศิริโชติ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ วิถีการปลูกข้าวนาดำ ณ สถานีปฏิบัติการพืชไร่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่า ตนรู้สึกชื่นชมและเห็นดีงามด้วยในการปลูกฝังและพัฒนาทักษะนอกห้องเรียน โดยการพัฒนาคนในทุกมิติและทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี เก่ง และมีคุณภาพ สร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย สร้างครอบครัวที่เหมาะสมกับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยส่งเสริมความรู้ในการวางแผนชีวิตที่เหมาะสมกับค่านิยมของคนรุ่นใหม่ และการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมบนรากฐานความรู้ทางวิชาการ พัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้ การทำงาน และการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการให้ทุกภาคส่วนในสังคม เช่น นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะครุศาสตร์ และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ในสาขาวิชาต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางคณะฯ ตอบโจทย์การสร้างคนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสมกับบริบท เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับตามปรัชญาและเป้าหมายของสถานศึกษา และมีระบบความรับผิดชอบทางการศึกษา บนพื้นฐานสมรรถนะหลักของผู้เรียน ผลักดันให้มีการนำวัฒนาธรรมการทำงานที่พึงประสงค์ไปใช้ปฏิบัติจนเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของคนไทย อาทิ การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การทำงานเป็นทีม การเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง การทำงานอย่างกระตือรือร้น นอกจากนั้น ยังเป็นการสืบสานวิถีชีวิตชุมชนในการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพตลอดช่วงชีวิต และเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและบัณฑิตที่มีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศ
ด้าน ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและกิจการพิเศษ ผู้เสนอโครงการ
กล่าวว่า ข้าวคืออาหารหลักและเป็นพืชที่เลี้ยงชีวิตคนไทยมาแต่โบราณ อีกทั้งเป็นสินค้าเกษตรที่สามารถส่งออกเป็นสินค้าหลักของประเทศ ข้าวถือเป็นพืชดั้งเดิมที่คนไทยเพาะปลูกมาเป็นระยะเวลานานหลายศตวรรษ ผูกพันกันมานานกับวิถีชีวิตของคนไทย และมีส่วนสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมข้าวที่เป็นเสมือนภาพสะท้อนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของชาติได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยมีพิธีที่เกี่ยวข้องกับข้าวและการเพาะปลูกต่อเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอให้การเพาะปลูกข้าวในปีนั้นๆ ผ่านไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นคน ข้าว สัตว์ ต่างก็ประสบแต่ความสวัสดีมีชัย ปราศจากอันตรายต่างๆ เช่น พิธีแรกไถนา พิธีแรกดำนา พิธีปักข้าวตาแฮก พิธีแรกหว่านข้าว พิธีเชิญแม่โพสพใส่ข้าวปลูก พิธีบูชาแม่ธรณี เป็นต้น
ดังนั้น ข้าวจึงเป็นบ่อเกิดแห่งวัฒนธรรมไทยที่แม้แต่พระมหากษัตริย์ไทยทรงตระหนักถึงความสำคัญของชาวนาไทยที่มีอาชีพหลัก คือ ปลูกข้าว ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการโคกกูแว จ.นราธิวาส พ.ศ. 2536 ความว่า “…ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้
เราก็ต้องปลูก…”
ดร.ศุภัครชา อภิรติกร อาจารย์ประจำหลักสูตรเกษตรศาสตร์ กล่าวเสริมว่า เพื่อสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา จึงมีโครงการต่างๆ ที่เป็นสื่อกลางที่จะหล่อหลอมให้บุคลากรในหน่วยงาน นักศึกษา และชาวนา ได้ทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป็นการอนุรักษ์วิถีการปลูกข้าว เช่น โครงการสืบสานพระบรมราโชบาย อนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเฉพาะถิ่น และโครงการให้คำปรึกษาเสริมรายได้จากพืชหลังนาอินทรีย์แก่เกษตรกรใน ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา เป็นต้น สำหรับในปี พ.ศ. 2563 ทางคณะฯ ได้จัดโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมข้าวภาคใต้ : วิถีการปลูกขาวนาดำ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะเทคโนโลยีการเกษตร และหน่วยงานอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้าว
ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิทยากรบรรยายเรื่อง “การปลูกข้าวแบบนาดำ” ให้แก่นักศึกษา กล่าวว่า นอกจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา มีพันธกิจเพื่อจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาทางการเกษตร วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการเกษตร และบริการวิชาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นแล้ว ทางคณะฯ ยังมีพันธกิจด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นทางการเกษตรและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ซึ่งวัฒนธรรมข้าวเป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาของคนไทย
ขณะที่ ตัวแทนนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวว่า รู้สึกตื่นเต้นในการดำนาครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ยังไม่เคยทำมาก่อน เนื่องจากที่บ้านไม่ได้ทำนา ซึ่งกิจกรรมที่ทางคณะฯ จัดขึ้นจะช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมการปลูกข้าวของภาคใต้ให้คงอยู่ ทำให้ตนได้รู้ถึงการดำนากว่าจะได้ข้าวมาในแต่ละปีของชาวนา
นักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์อีกคนหนึ่ง กล่าวว่า ชอบและรู้สึกได้ถึงความสามัคคีในการปลูกข้าวร่วมกัน แม้ว่าแดดจะร้อนแต่ก็รู้สึกได้ถึงความพยายามของชาวนาในการลงแขกปลูกข้าว และการรักษาวัฒนธรรมการปลูกข้าวแบบเดิมไว้ รู้สึกประทับใจและรอวันที่จะเกี่ยวข้าวในอีกประมาณ 90 วันข้างหน้า.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024