สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมสรุปโครงการ หลักสูตรฝึกอบรมการ จัดการนวัตกรรม สําหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ Deep South Innovation Business Coaching Program 2020
สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมสรุปโครงการ หลักสูตรฝึกอบรมการ จัดการนวัตกรรม สําหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ Deep South Innovation Business Coaching Program 2020
สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมสรุปโครงการ หลักสูตรฝึกอบรมการ จัดการนวัตกรรม สําหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ Deep South Innovation Business Coaching Program 2020
สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมสรุปโครงการ หลักสูตรฝึกอบรมการ จัดการนวัตกรรม สําหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ Deep South Innovation Business Coaching Program 2020 ใน วันที่ 8 กันยายน 2563 เวลา13.00 น.-16.00 น.ณ ห้องกลางชล ชั้น 8 โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี
นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดโต๊ะแถลงข่าวของสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การ มหาชน)ร่วมกับจังหวัดปัตตานี ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) เทศบาลเมืองปัตตานี ธนาคาร SME BANK และ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี ได้พูดคุยถึง ทิศทางความร่วมมือและการ สนับสนุนการขับเคลื่อนนวักรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ซึ่งทางสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ (สนช.) นั้นได้มีการให้ทุนสนับสนุน ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ 2 ลักษณะ คือ
1.ทุนสนับสนุนด้านนวัตกรรมทุน Open Innovation ซึ่งเป็นทุนเริ่มต้นให้กับผู้ประกอบการทั้ง Smart SMEs และ Startup มูลค่าสูงสุดสูงถึง 1,500,000 บาท
2.ทุนนวัตกรรมมุ้งเป้า (Thematic Innovation) เป็นทุนสําหรับผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่ มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและยกระดับความสามารถทางนวัตกรรมในระดับ อุตสาหกรรมนําไปสู่ การปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ธุรกิจ นวัตกรรมดูแลสุขภาพ,ธุรกิจอาหารและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ และธุรกิจนวัตกรรมการบริการทางการแพทย์
โดยการเข้าร่วมกิจกรรม “หลักสูตรฝึกอบรมการจัดการนวัตกรรมสําหรับพัฒนาผู้ประกอบการ ธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (Deep South Innovation Business Coaching Program)” เป็นหนึ่งในแผนโครงการ “บูรณาการการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักและความตื่นตัว ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมให้แก่ ผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้งในกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม(Smart SMEs) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Start-up) ผ่าน กระบวนการบ่มเพาะและการพัฒนาผู้ประกอบการในกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ ทั้งเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์
ตลอดจนการผลักดันนวัตกรรมในการดําเนินธุรกิจ อันจะนํามาซึ่งการยกระดับธุรกิจนวัตกรรมและวิสาหกิจ เริ่มต้นที่จะเป็นตัวแปรสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่
การดําเนินงานดังกล่าวเป็นผลจากความร่วมมือระหว่าง สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ( สนช.), ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัด ชายแดนใต้ นับตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา โดยการจัดกิจกรรมในปี 2563 ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ ความสามารถด้านธุรกิจนวัตกรรม จนกระทั่งสามารถพัฒนาเป็นข้อเสนอโครงการนวัตกรรมและได้รับการ สนับสนุนจาก สนช. เป็นจํานวนทั้งสิ้น 21 โครงการ ทั้งนี้ สําหรับการจัดกิจกรรม “หลักสูตรฝึกอบรมการ จัดการนวัตกรรมสําหรับพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้” ในปีนี้ สนช. ยังคง ดําเนินกิจกรรมการอบรม 2 ส่วน ได้แก่
1) กิจกรรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ (3 Days Smart SMEs/Startup) ที่เน้นให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง SMEs และ Startup เรียนรู้เครื่องมือ วิเคราะห์โครงสร้างทางธุรกิจแบบย่อ พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนา นวัตกรรมทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสงั คม ซึ่งได้มีการจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2563 โดยในปีนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมจํานวนมากกว่า 200 คน และ
2) กิจกรรมหลักสูตรสร้างความสามารถทางนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการใหม่ ซึ่งกําหนดจัด ขึ้นในวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – 3 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเน้นให้ความรู้แก่ผู้ที่ผ่านการ คัดเลือกจากกิจกรรม 3 Days Smart SMEs/Startup ให้สามารถนําไปใช้ได้จริงกับธุรกิจของตนเอง รวมไปถึง การวางแผนพัฒนาข้อเสนอโครงการ และนําเข้าไปสู่ขั้นตอนในการดําเนินการขอทุนสนับสนุนโครงการจาก สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติต่อไป ซึ่งมีผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามาทั้งสิ้น 34 ธุรกิจ
ในปีนี้มีผู้ประกอบการที่ได้รับทุนไปแล้วทั้งสิ้น 3 ธุรกิจ คือ โครงการพัฒนากระบวนการดองไข่เค็ม ด้วยเครื่องดองไข่เค็มความดันสูง, โครงการท่องเที่ยวเสมือนจริง Traveler’s Souvenir และโครงการ กรวยยางธรรมชาติอุดรูระเบิดเพื่อการเหมืองแร่ ส่วนธุรกิจอื่น ๆ ก็ยังคงมีการพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อความพร้อมสําหรับขอรับทุนในปี 2563 นี้ สําหรับผู้ใดที่สนใจสามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ https://open.nia.or.th หรือ หรือ www.facebook.com/DeepSouthIBCProgram หรือโทร 02-017- 5555 (คุณอภิวัฒน์ ถาวรแก้ว).
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024