วันที่ 28 สิงหาคม 2563 เวลา 5:30 น นายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมด้วย นายธนาธิป พรมชื่น ที่ปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาล นายอุดม ไชยสาลี ที่ปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และพันเอก ชัยวัฒน์ คำน่าน ฝ่ายอำนวยการผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพพื้นที่ ได้ประสานการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้าง จุดชมวิวพื้นกระจก sky walk ซึ่งก่อสร้าง นั้นได้กำหนดให้มีทางเดินยื่นออกจากหน้าผา 61 เมตร พร้อมทั้งมีระเบียงกระจก ให้นักท่องเที่ยวได้ชมหมอก จัดว่าเป็นสกายวอล์คที่ยาวที่สุดในอาเซียน ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,038 ฟุต สามารถมองเห็นหมอกตลอดทั้งปี โดยมี พันจ่าโท อนันต์ บุญสำราญ นายอำเภอเบตง และนายอารี หนูชูสุข ปลัดนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุป ความคืบหน้าของผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา และแผนการดำเนินโครงการในห้วงเดือนกันยายน 2563 ดังนี้ ในวันที่ 20 กันยายน 2563 การก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ จะส่งมอบให้กับจังหวัดยะลา เพื่อรายงานให้กรมธนารักษ์กระทรวงการคลังรับทราบ และลงทะเบียนเป็นสมบัติของแผ่นดิน แล้วส่งคืนให้กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
สำหรับแผนการใช้ประโยชน์ในอนาคต กรมป่าไม้จังหวัดยะลาและองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ร่วมกันกำหนดการบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์ร่วมกันก่อนที่จะมีการออกระเบียบการใช้ประโยชน์ โดยอาจจะมีการเปิดบริการให้ประชาชน มาใช้บริการอย่างไม่เป็นทางการ ทันทีเพราะเนื่องจาก ปัจจุบันมีประชาชนมาเยี่ยมชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ประมาณ 300 ถึง 1000 คนต่อวัน เป็นอย่างน้อย
จากนั้นเวลา 9:00 น ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลพร้อมคณะ ได้ประสานการขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนนากอ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวบ้านนากอ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติระดับอาเซียน ในปี พ.ศ 2571 ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการในวันหยุดประมาณ 100 ถึง 300 คน ในขั้นต้น มีกำหนดให้มีความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว 4 ประเด็น ดังนี้ 1 บ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติ 2 ชุมชนเผ่าอัสรี 3 น้ำตกนากอ 4 ดงบัวผุด
เวลา 15:00 น เดินทางไปประสานการขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอสุไหงปาดี ปาดีคอมเพล็กซ์(Padee Complex) โดยมีการขับเคลื่อนโครงการป่าชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยโครงการป่าชุมชนของอำเภอสุไหงปาดี ได้ตอบโจทย์ของรัฐบาลอย่างดียิ่ง ตั้งแต่ช่วงระบาดของโรคโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนอำเภอสุไหงปาดี โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาจำนวน 26 คน ไม่มีรายได้และว่างงาน โดยการจ้างแรงงานเยาวชนดังกล่าว ให้มาทำการเพาะพันธุ์กล้าไม้ 5 กลุ่ม ได้แก่ 1 ต้นตะเคียน 2 ต้นยางนา 3 ต้นหลุมพอ 4 ต้นกุลอม 5 ต้นกันเกลา(ตำเสา) โดยได้เพาะพันธุ์และนำไปปลูกบริเวณป่าชุมชนจำนวน 50,000 ต้น โดยเยาวชนดังกล่าวมีรายได้ 400 บาทต่อวัน ซึ่งโครงการดังกล่าว แก้ไขปัญหาป่าไม้บางส่วนในจังหวัดนราธิวาสที่ถูกทำลาย ส่งผลกระทบให้ประชาชนขาดน้ำในการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง เป็นการเพิ่มรายได้จากการปลูกป่าดังกล่าวในอนาคต รวมทั้งประชาชนที่ปลูกป่าชุมชนดังกล่าว นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ โครงการปลูกป่าชุมชน อำเภอสุไหงปาดี สามารถเป็นต้นแบบ โครงการนำร่อง เพื่อนำไปใช้ในอนาคตต่อไป
เวลา 16:00 น ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลพร้อมคณะ และนายเศวต เพชรนุ้ย นายอำเภอสุไหงปาดี ร่วมประสานการขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอสุไหงปาดี โดยมีการขับเคลื่อนโครงการ ดัดจัดสรีระ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ และแก้ไขการขาดแคลนรายได้ ให้แก่เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมทั้งประชาชนที่ประกอบอาชีพ ต้มยำกุ้ง ที่กลับมาจากประเทศมาเลเซีย จากผลกระทบ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีการฝึกอบรมเยาวชนดังกล่าวจำนวน 18 คน ณ อาคารโรงทาน วัดประชุมชลธารา อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยมีนายแพทย์ พูลชัย จิตอนันตวิทยา ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัทวิสาหกิจสุขภาพชุมชน เป็นผู้ฝึกและถ่ายทอด การดัดจัดสรีระ รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์ อาคารสถานที่ฝึกอบรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จากพระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส/ เจ้าอาวาสวัดประชุมชลธารา และบริษัทโปรอินโนเวชั่นเทคโนโลยี จำกัด สนับสนุนหน้ากากป้องกันเชื้อ covid19 ตรา Selene Mask ให้กับผู้ได้รับการฝึกอบรม โดยครูฝึกและผู้ช่วย รวม 11 คน จากบริษัทวิสาหกิจสุขภาพชุมชน ตลอดระยะเวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลา 28 วัน โดย 20 วันเป็นการฝึกอบรม และอีก 8 วัน เป็นการทดสอบปฏิบัติโดยการออกเคส ผลการฝึกอบรมในครั้งนี้ ผู้ผ่านการฝึก สามารถสร้างรายได้แต่ละวัน ตั้งแต่ 200 ถึง 500 บาทต่อคนต่อวัน โดยผู้สำเร็จหลักสูตรดังกล่าว จะมาปฏิบัติงานบริการ ในโครงการ ปาดีคอมเพล็กซ์ เพื่อดัด จัดสรีระ ให้แก่ประชาชนทั่วไป.
ภาพ/ข่าว โดย ส่วนสร้างการรับรู้ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า
ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลประสานการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้าง จุดชมวิวพื้นกระจก sky walk
วันที่ 28 สิงหาคม 2563 เวลา 5:30 น นายจำนัล เหมือนดำ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมด้วย นายธนาธิป พรมชื่น ที่ปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาล นายอุดม ไชยสาลี ที่ปรึกษาผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และพันเอก ชัยวัฒน์ คำน่าน ฝ่ายอำนวยการผู้แทนพิเศษของรัฐบาล กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและศักยภาพพื้นที่ ได้ประสานการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้าง จุดชมวิวพื้นกระจก sky walk ซึ่งก่อสร้าง นั้นได้กำหนดให้มีทางเดินยื่นออกจากหน้าผา 61 เมตร พร้อมทั้งมีระเบียงกระจก ให้นักท่องเที่ยวได้ชมหมอก จัดว่าเป็นสกายวอล์คที่ยาวที่สุดในอาเซียน ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 2,038 ฟุต สามารถมองเห็นหมอกตลอดทั้งปี โดยมี พันจ่าโท อนันต์ บุญสำราญ นายอำเภอเบตง และนายอารี หนูชูสุข ปลัดนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในพื้นที่ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุป ความคืบหน้าของผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา และแผนการดำเนินโครงการในห้วงเดือนกันยายน 2563 ดังนี้
ในวันที่ 20 กันยายน 2563 การก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ จะส่งมอบให้กับจังหวัดยะลา เพื่อรายงานให้กรมธนารักษ์กระทรวงการคลังรับทราบ และลงทะเบียนเป็นสมบัติของแผ่นดิน แล้วส่งคืนให้กรมป่าไม้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
สำหรับแผนการใช้ประโยชน์ในอนาคต กรมป่าไม้จังหวัดยะลาและองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ร่วมกันกำหนดการบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์ร่วมกันก่อนที่จะมีการออกระเบียบการใช้ประโยชน์ โดยอาจจะมีการเปิดบริการให้ประชาชน มาใช้บริการอย่างไม่เป็นทางการ ทันทีเพราะเนื่องจาก ปัจจุบันมีประชาชนมาเยี่ยมชมทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ประมาณ 300 ถึง 1000 คนต่อวัน เป็นอย่างน้อย
จากนั้นเวลา 9:00 น ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลพร้อมคณะ ได้ประสานการขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนท่องเที่ยวบ่อน้ำพุร้อนนากอ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวบ้านนากอ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติระดับอาเซียน ในปี พ.ศ 2571
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการในวันหยุดประมาณ 100 ถึง 300 คน ในขั้นต้น มีกำหนดให้มีความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว 4 ประเด็น ดังนี้
1 บ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติ
2 ชุมชนเผ่าอัสรี
3 น้ำตกนากอ
4 ดงบัวผุด
เวลา 15:00 น เดินทางไปประสานการขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอสุไหงปาดี ปาดีคอมเพล็กซ์(Padee Complex) โดยมีการขับเคลื่อนโครงการป่าชุมชนตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ โดยโครงการป่าชุมชนของอำเภอสุไหงปาดี ได้ตอบโจทย์ของรัฐบาลอย่างดียิ่ง ตั้งแต่ช่วงระบาดของโรคโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนอำเภอสุไหงปาดี โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาจำนวน 26 คน ไม่มีรายได้และว่างงาน โดยการจ้างแรงงานเยาวชนดังกล่าว ให้มาทำการเพาะพันธุ์กล้าไม้ 5 กลุ่ม ได้แก่
1 ต้นตะเคียน
2 ต้นยางนา
3 ต้นหลุมพอ
4 ต้นกุลอม
5 ต้นกันเกลา(ตำเสา)
โดยได้เพาะพันธุ์และนำไปปลูกบริเวณป่าชุมชนจำนวน 50,000 ต้น โดยเยาวชนดังกล่าวมีรายได้ 400 บาทต่อวัน ซึ่งโครงการดังกล่าว แก้ไขปัญหาป่าไม้บางส่วนในจังหวัดนราธิวาสที่ถูกทำลาย ส่งผลกระทบให้ประชาชนขาดน้ำในการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้ง เป็นการเพิ่มรายได้จากการปลูกป่าดังกล่าวในอนาคต รวมทั้งประชาชนที่ปลูกป่าชุมชนดังกล่าว นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ โครงการปลูกป่าชุมชน อำเภอสุไหงปาดี สามารถเป็นต้นแบบ โครงการนำร่อง เพื่อนำไปใช้ในอนาคตต่อไป
เวลา 16:00 น ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลพร้อมคณะ และนายเศวต เพชรนุ้ย นายอำเภอสุไหงปาดี ร่วมประสานการขับเคลื่อนและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ศูนย์จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอสุไหงปาดี โดยมีการขับเคลื่อนโครงการ ดัดจัดสรีระ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชน ในพื้นที่ และแก้ไขการขาดแคลนรายได้ ให้แก่เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมทั้งประชาชนที่ประกอบอาชีพ ต้มยำกุ้ง ที่กลับมาจากประเทศมาเลเซีย จากผลกระทบ การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีการฝึกอบรมเยาวชนดังกล่าวจำนวน 18 คน ณ อาคารโรงทาน วัดประชุมชลธารา อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยมีนายแพทย์ พูลชัย จิตอนันตวิทยา ตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัทวิสาหกิจสุขภาพชุมชน เป็นผู้ฝึกและถ่ายทอด การดัดจัดสรีระ รวมทั้งได้รับความอนุเคราะห์ อาคารสถานที่ฝึกอบรม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จากพระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดนราธิวาส/ เจ้าอาวาสวัดประชุมชลธารา และบริษัทโปรอินโนเวชั่นเทคโนโลยี จำกัด สนับสนุนหน้ากากป้องกันเชื้อ covid19 ตรา Selene Mask ให้กับผู้ได้รับการฝึกอบรม โดยครูฝึกและผู้ช่วย รวม 11 คน จากบริษัทวิสาหกิจสุขภาพชุมชน ตลอดระยะเวลาในการฝึกอบรมเป็นเวลา 28 วัน โดย 20 วันเป็นการฝึกอบรม และอีก 8 วัน เป็นการทดสอบปฏิบัติโดยการออกเคส ผลการฝึกอบรมในครั้งนี้ ผู้ผ่านการฝึก สามารถสร้างรายได้แต่ละวัน ตั้งแต่ 200 ถึง 500 บาทต่อคนต่อวัน โดยผู้สำเร็จหลักสูตรดังกล่าว จะมาปฏิบัติงานบริการ ในโครงการ ปาดีคอมเพล็กซ์ เพื่อดัด จัดสรีระ ให้แก่ประชาชนทั่วไป.
ภาพ/ข่าว โดย ส่วนสร้างการรับรู้ สำนักงาน คปต.ส่วนหน้า
ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี 94170
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024