ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน และ โรคหัวใจ มีอัตราตายค่อนข้างสูง และโดยทั่วไปใช้การรักษาโดยใช้วิธี renin angiotensin system ( RAS ) เป็นตัวขัดขวาง blockers เช่น angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEIs) หรือ angiotensin-receptor blockers (ARBs) การใช้วิธี ACEIs/ARBs กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นเรื่องที่ได้มีการพูดถึงมาก
อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยของ Dr James Diaz, Professor และ เป็น Head of Environmental Health Sciences ที่ Louisiana State University Health และ New Orleans School of Public Health พบว่า การใช้วิธี ACEIs/ARBs กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทำให้เกิดตัวรับ ACE2 เพิ่มขึ้นในปอด ทำให้เกิดการจับกับโปรตีน S ของ ไวรัส SARs-CoV-2 กับ ACE2 ได้มากขึ้น เป็นเหตุให้มีการเพิ่มความเสี่ยงของความรุนแรงของโรคโควิด-19สูงขึ้น [12]
จากงานวิจัยของ Fang L และทีม ซึ่งตีพิมพ์ Lancet ออนไลน์ ปี 2563 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 หัวข้อเรื่อง Are patients with hypertension and diabetes mellitus at increased risk for COVID-19 infection? พบว่าจากการทดลองกับหนูที่ติดเชื้อไข้หวัด H5N1 และรักษาด้วยยา losartan พบว่ามีส่วนสัมพันธ์ในการที่จะลดอาการ ภาวะปอดบวมน้ำ ( pulmonary oedema ) หรือ น้ำท่วมปอด และ pulmonary neutrophil infiltration ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตที่ดีขึ้น [2] [3]
ส่วนงานวิจัยที่ได้มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงโรคโควิด-19 ของ มหาวิทยาลัย University of Kansas Medical Center เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยให้ขนาดยา losartan 25 mg ต่อวันตั้งแต่วันแรก ไปถึงวันที่ 3 และเพิ่มเป็นขนาด 50 mg ต่อวันไปจนครบการรักษา 14 วัน [4] มีการทดลองกับผู้ป่วยนอก (ClinicalTrials.gov identifier: NCT04311177) ของมหาวิทยาลัย University of Minnesota [5] และ มีการทดลองกับผู้ป่วยใน (ClinicalTrials.gov identifier: NCT04312009)[6]ด้วย
ทำไม นักวิจัยสหรัฐฯ แนะนำให้ใช้ ยาลดความดัน Losartan รักษา โรคโควิด-19
ทำไม นักวิจัยสหรัฐฯ แนะนำให้ใช้ ยาลดความดัน Losartan รักษา โรคโควิด-19
โดย ดร. สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล
นักวิชาการ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์กัญชาทางการแพทย์ ( Cannabiologist, CannaEngineer )
ดร.สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยกัญชาทางการแพทย์ หาดใหญ่, ศูนย์วิจัยวัคซีนและพัฒนายาโควิด-19 ( Hatyai Development of Therapeutic Drugs & Vaccines for Covid-19 Research Center ) กล่าวว่าจากการที่นักวิจัย และ นักวิทยาศาสตร์ ร่วมกันพยายามหาแนวทางที่เร็วที่สุดในการใช้ยาเพื่อรักษาโรคโควิด-19 การใช้วัคซีนซึ่งต้องใช้เวลาในการผลิตและทดลองกับคนอย่างน้อย 18 เดือน อีกแนวทางหนึ่งคือการคัดกรองยาที่มีอยู่และมีฤทธิ์ทางยาที่ใกล้เคียงมากที่สุดเพื่อนำมารักษาโรคโควิด-19 หนึ่งในหลายชนิดและกลุ่มยา ที่ได้มีการคัดกรอง นั่นคือ ยาลอซาร์แทน (losartan) เป็นยาลดความดันโลหิตสูง ซึ่งมีคำถามตามมาว่า เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง และหยุดการแพร่กระจายเชื้อ SARs-CoV-2 ได้ดีขนาดไหน และ มีความสัมพันธ์กับอัตราการตายหรืออัตราการฟื้นตัวของผู้ป่วยโรคโควิด-19 อย่างไร
จริง ๆ แล้วมีนักวิจัยที่ University of Minnesota สหรัฐฯ เริ่มการศึกษา โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 1,500 คน และอาศัยข้อมูลจากงานวิจัยก่อนหน้านี้ของนักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศที่ว่า ยารักษาโรคมาลาเรียที่มีชื่อว่า ไฮดร็อกซีคลอโรควีน (hydroxychloroquine) จะสามารถใช้ป้องกันหรือลดความรุนแรงจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้หรือไม่ ยารักษามาลาเรียชนิดนี้กำลังได้รับการทดสอบอยู่ในประเทศจีน ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีการทดสอบยาลดความดันโลหิต ลอซาร์แทน (losartan) ว่าจะช่วยรักษาอาการจากเชื้อโควิด-19 ได้หรือไม่เช่นกัน
ยาลอซาร์แทน (losartan) เป็นยาลดความดันใน กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน( angiotensin converting enzyme inhibitors :ACEIs) เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเออาบี (ARBs) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin receptor blockers นอกจากยาลอซาร์แทน (losartan) ยังมียาเออบิซาร์แทน (irbesartan) ยาวาลซาร์แทน (valsartan) และ ยาแคนดิซาร์แทน (candesartan) ที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ง่ายขึ้นเช่นเดียวกัน [1]
ยา Losartan นอกจากใช้สำหรับรักษาโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) แล้วใช้ช่วยปกป้องไตไม่ให้ถูกทำลายจากโรคเบาหวาน และยังใช้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Strokes) ในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยที่มีหัวใจโต เมื่อความดันโลหิตลดลงจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Strokes) โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (Heart attacks) และโรคไต
ผลของการขัดขวางไม่ให้แอนจิโอแทนซินจับกับตัวรับนี้จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง แต่มีผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง ทำให้หน้ามืด เป็นลม มีอาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันสูง โรคเบาหวาน และ โรคหัวใจ มีอัตราตายค่อนข้างสูง และโดยทั่วไปใช้การรักษาโดยใช้วิธี renin angiotensin system ( RAS ) เป็นตัวขัดขวาง blockers เช่น angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEIs) หรือ angiotensin-receptor blockers (ARBs) การใช้วิธี ACEIs/ARBs กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 เป็นเรื่องที่ได้มีการพูดถึงมาก
อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยของ Dr James Diaz, Professor และ เป็น Head of Environmental Health Sciences ที่ Louisiana State University Health และ New Orleans School of Public Health พบว่า การใช้วิธี ACEIs/ARBs กับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทำให้เกิดตัวรับ ACE2 เพิ่มขึ้นในปอด ทำให้เกิดการจับกับโปรตีน S ของ ไวรัส SARs-CoV-2 กับ ACE2 ได้มากขึ้น เป็นเหตุให้มีการเพิ่มความเสี่ยงของความรุนแรงของโรคโควิด-19สูงขึ้น [12]
จากงานวิจัยของ Fang L และทีม ซึ่งตีพิมพ์ Lancet ออนไลน์ ปี 2563 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 หัวข้อเรื่อง Are patients with hypertension and diabetes mellitus at increased risk for COVID-19 infection? พบว่าจากการทดลองกับหนูที่ติดเชื้อไข้หวัด H5N1 และรักษาด้วยยา losartan พบว่ามีส่วนสัมพันธ์ในการที่จะลดอาการ ภาวะปอดบวมน้ำ ( pulmonary oedema ) หรือ น้ำท่วมปอด และ pulmonary neutrophil infiltration ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตที่ดีขึ้น [2] [3]
ส่วนงานวิจัยที่ได้มีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงโรคโควิด-19 ของ มหาวิทยาลัย University of Kansas Medical Center เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยให้ขนาดยา losartan 25 mg ต่อวันตั้งแต่วันแรก ไปถึงวันที่ 3 และเพิ่มเป็นขนาด 50 mg ต่อวันไปจนครบการรักษา 14 วัน [4] มีการทดลองกับผู้ป่วยนอก (ClinicalTrials.gov identifier: NCT04311177) ของมหาวิทยาลัย University of Minnesota [5] และ มีการทดลองกับผู้ป่วยใน (ClinicalTrials.gov identifier: NCT04312009)[6]ด้วย
สมาคมวิชาชีพหลายแห่งได้หยิบยกแนวทางของพวกเขาเกี่ยวกับการใช้ ACEIs / ARBs ในผู้ป่วย COVID-19 โดยสรุปแนวทางทั้งหมดแนะนำให้ใช้ ACEIs / ARBs ต่อไปในผู้ป่วยที่มี COVID-19 เว้นแต่จะระบุทางคลินิก นอกจากนี้พวกเขาไม่แนะนำให้เริ่มต้น ACEIs / ARB ในผู้ที่ไม่มีอาการทางคลินิกอื่น (เช่นความดันโลหิตสูง, หัวใจล้มเหลว, เบาหวาน) เนื่องจากขาดหลักฐานที่แข็งแกร่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของยาเหล่านี้ใน COVID-19 [7]
จากงานวิจัย เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ( hypokalemia ) พบในผู้ป่วยที่มี COVID-19 การแก้ไขภาวะ hypokalemia นั้นท้าทายเนื่องจากการสูญเสีย K + ของไตอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นผลมาจากการเสื่อมของ ACE2 ดังนั้นการสิ้นสุดของการสูญเสีย K + ในปัสสาวะบ่งชี้ว่ามีการพยากรณ์โรคที่ดีและอาจเป็นสิ่งบ่งชี้ทางชีวภาพที่เชื่อถือได้ตรงเวลาและละเอียดอ่อนซึ่งสะท้อนถึงการสิ้นสุดของผลกระทบของอาการข้างเคียงต่อระบบ RAS [8] มีการแนะนำให้โพแทสเซียมเสริม ( K+ supplements )แก่ผู้ป่วยที่มีอาการ hypokalemia รุนแรง 3 กรัม/วัน หรือเฉลี่ยจำนวน 34 กรัม ตลอดระยะเวลาที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการฟื้นตัวได้เร็วดีมาก
ถึงแม้ว่าการใช้ ยาลอซาร์แทน (losartan) กับผู้ป่วยโควิด-19 มีผลข้างเคียงเกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง การให้โพแทสเซียมเสริม ( K+ supplements ) จะต้องมีการปรับให้สมดุลย์ตามความเหมาะสมด้วย
เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ จะมีอาการ หน้ามืด เป็นลม ภาวะลำไส้อืด ภาวะหายใจล้มเหลว สูญเสียเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เป็นอัมพาต ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจห้องบนหรือห้องล่างเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ หัวใจหยุดเต้น เมื่อมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำมากเกินไป [9]
ผู้ป่วยภาวะ Hypokalemia อาจรักษาและป้องกันภาวะนี้ได้ด้วยการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ส้ม กล้วย มะเขือเทศ แครอท อะโวคาโด ผักโขม รำข้าว จมูกข้าวสาลี สาหร่ายทะเล เนยถั่ว มันฝรั่งอบ นม ปลาแซลมอน และ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และปรุงสุก
ปัจจุบันแนวทางทั้งหมดที่แนะนำการใช้ ACEIs / ARBs ในผู้ป่วยที่วินิจฉัยว่าติดเชื้อ COVID- 19 จนกว่าหลักฐานโดยรวมจะกระชับขึ้น มีดังนี้
1.ในผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อและผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงไม่มีเหตุผลที่หยุดการใช้การขัดขวางระบบ RAS (RAS blockade)
2.ผู้ที่สุขภาพดี แต่มีความเสี่ยง แต่หลักฐานไม่เพียงพอที่จะแนะนำการใช้ การขัดขวางระบบ RAS ในการป้องกัน
3.ถ้ามีความกังวลกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ที่ใช้การขัดขวาง ACEIs หรือ ARBs ควรปรับเปลี่ยนมาใช้วิธี Direct renin inhibitors (DRIs) ชั่วคราว เป็นกลุ่มยายับยั้ง Renin ตั้งแต่ต้นทางเป็นยากลุ่มใหม่
4.ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ใช้วิธีการขัดขวางระบบ RAS ควรดำเนินการใช้ยา อย่างต่อเนื่อง
5.ผู้ป่วยที่มีไข้และมีอาการทางปอดที่ใช้การขัดขวางระบบ RAS แนะนำให้มีการติดตามดุความดันโลหิตและการทำงานของไตอย่างใกล้ชิด การหยุดใช้การขัดขวางระบบ RAS ก็ต่อเมื่อมีแสดงอาการระบุทางคลินิคเท่านั้น [10]
นอกจากนี้ ดร. สุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล กล่าวว่า เมื่อพูดถึง สารแคนนาบินอยด์ในกัญชาทั้ง THC และ CBD เป็นที่ทราบกันดีว่า มีฤทธิ์ทางยาที่ช่วยในเรื่องของการลดความดันสำหรับผู้ที่มีความดันสูง และลดระดับน้ำตาลลดลง ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ด้วยสาร THCv
สายพันธ์กัญชาที่ดีที่เหมาะสำหรับผู้เที่มีความดันสูง (Hypertension ) ได้แก่สายพันธุ์กัญชา Blue Dream (Hybrid) ช่วยให้ผ่อนคลายและ สงบอารมณ์ สายพันธุ์กัญชา Purple Kush (Indica) ช่วยในเรื่องความเครียด (stress) ทำให้พักผ่อนสบาย สายพันธุ์กัญชา Northern Lights (Indica) ลดความตึงของกล้ามเนื้อและความปวด ทำให้การไหลเวียนของเลือดผ่านร่างกาย สายพันธุ์กัญชา Sour Diesel (Sativa) ลดความกังวลและความเครียดซึ่งมีความสัมพันธ์กับความดันสูง สายพันธุ์กัญชา Mango Kush (Indica) and Jillybean (Hybrid) ลดอาการคลื่นไส้ และสายพันธุ์กัญชา Harlequin (Sativa) and Pennywise (Indica) ช่วยอาการซึมเศร้าได้ดีเยี่ยม
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่ายาลอซาร์แทน (losartan) เป็นยาลดความดันโลหิตใน กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน( angiotensin converting enzyme inhibitors :ACEIs) / ARBs แต่ก็ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมและการทดลองที่จะคาดหวัง เพื่อทำการพิสูจน์ว่า ACEIs/ARBs จะมีความสัมพันธ์กับการลดอัตราการตายของผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือไม่ หรือ มีความสัมพันธ์กับ อาการ Acute Lung Injury (ALI )หรือ acute respiratory distress syndrome ( ARDS ) อย่างไร ในทั้งผู้ป่วยที่มีและไม่มีการระบุอาการทางคลินิกกับการใช้ ACEIs/ARBs [11]
เอกสารอ้างอิง
https://www.facebook.com/groups/559881408089289/
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024