มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน สานต่อโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ส่งเสริมนักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานสะท้อนเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และความสามารถผู้ประกอบการให้มีความมั่นคงทางอาชีพ
ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ณ ห้องประชุมพวงชมพู อาคารศูนย์เครื่องมือกลาง เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า การแก้ปัญหาความยากจนถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และกำหนดให้ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องผนึกกำลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานของความพอดีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกิจการที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการ ส่งเสริมการจ้างงาน โดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรอย่างเดียว แต่เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมด้วย
ดร.นราวดี กล่าวว่า งานศูนย์เครื่องมือกลาง สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา ได้ร่วมกับธนาคารออมสิน จัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ซึ่งเป็นการส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มผู้ประกอบ OTOP ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มของนักศึกษา การทำงานต่อยอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะเป็นแนวทางในการก่อเกิดประสบการณ์ด้านการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน นำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่
ด้าน ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและยุทธศาสตร์สถาบัน สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา กล่าวว่า โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงในอาชีพและรายได้ การมีวินัยทางการเงินและศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้มีความมั่นคง เกิดผลที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกันนักศึกษาของ มรภ.สงขลา ที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิตเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรอันมีค่า เพื่อจะช่วยกันจรรโลงรักษาให้คงอยู่คู่สังคมไทย
นอกจากนั้น ยังเป็นการสนับสนุนและเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาตระหนักและรู้จักรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม รักประเทศชาติ จึงได้ร่วมกันจัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ณ มรภ.สงขลา และ สถานที่กลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตาลโตนด โหนด นา เล ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา 2. กลุ่มสวนเพชรปลายนา ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา 3. กลุ่มเกษตรหมู่บ้านตัวอย่าง ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา 4. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา บ้านทุ่งหลุมนก ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา 5. วิสาหกิจชุมชนสวนปันสุข ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา 6. กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาบ้านหัวเขา ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา 7. กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานเชือกพลาสติกบ้านน้ำน้อยนอก ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยในปีที่ 2 นี้เป็นการนำเสนอผลงานของนักศึกษา 7 ทีม จำนวน 70 คน จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ คณะวิทยาการจัดการ เพื่อร่วมกันพัฒนา ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และความสามารถของผู้ประกอบการให้มีความมั่นคงในอาชีพและรายได้.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ผนึก ธ.ออมสิน เดินหน้า “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ปี 2 ส่งเสริม นศ. สร้างสรรค์ผลงาน ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
มรภ.สงขลา จับมือธนาคารออมสิน สานต่อโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ส่งเสริมนักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานสะท้อนเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และความสามารถผู้ประกอบการให้มีความมั่นคงทางอาชีพ
ดร.นราวดี บัวขวัญ รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ณ ห้องประชุมพวงชมพู อาคารศูนย์เครื่องมือกลาง เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ที่ผ่านมาว่า การแก้ปัญหาความยากจนถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของประเทศไทยที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และกำหนดให้ทุกภาคส่วนในสังคมจะต้องผนึกกำลังร่วมกันในการแก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนบนพื้นฐานของความพอดีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น รัฐบาลมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งภายในประเทศด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก สนับสนุนให้มีการจัดตั้งกิจการที่เป็นประโยชน์แก่คนในชุมชน เพื่อผลิตสินค้าหรือให้บริการ ส่งเสริมการจ้างงาน โดยไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างกำไรอย่างเดียว แต่เพื่อแก้ปัญหา พัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมด้วย
ดร.นราวดี กล่าวว่า งานศูนย์เครื่องมือกลาง สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา ได้ร่วมกับธนาคารออมสิน จัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ซึ่งเป็นการส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มผู้ประกอบ OTOP ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มของนักศึกษา การทำงานต่อยอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะเป็นแนวทางในการก่อเกิดประสบการณ์ด้านการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน นำไปสู่การสร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่
ด้าน ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและยุทธศาสตร์สถาบัน สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา กล่าวว่า โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนา ยกระดับขีดความสามารถและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการเสริมความมั่นคงในอาชีพและรายได้ การมีวินัยทางการเงินและศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้แก่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้มีความมั่นคง เกิดผลที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกันนักศึกษาของ มรภ.สงขลา ที่เข้าร่วมโครงการเกิดการเรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิตเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาไทยและทรัพยากรอันมีค่า เพื่อจะช่วยกันจรรโลงรักษาให้คงอยู่คู่สังคมไทย
นอกจากนั้น ยังเป็นการสนับสนุนและเสริมสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาตระหนักและรู้จักรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม รักประเทศชาติ จึงได้ร่วมกันจัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ 2 ณ มรภ.สงขลา และ สถานที่กลุ่มผู้ประกอบการทั้ง 7 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตาลโตนด โหนด นา เล ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา 2. กลุ่มสวนเพชรปลายนา ต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา 3. กลุ่มเกษตรหมู่บ้านตัวอย่าง ต.สะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา 4. กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา บ้านทุ่งหลุมนก ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา 5. วิสาหกิจชุมชนสวนปันสุข ต.แม่ทอม อ.บางกล่ำ จ.สงขลา 6. กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาบ้านหัวเขา ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา 7. กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานเชือกพลาสติกบ้านน้ำน้อยนอก ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยในปีที่ 2 นี้เป็นการนำเสนอผลงานของนักศึกษา 7 ทีม จำนวน 70 คน จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และ คณะวิทยาการจัดการ เพื่อร่วมกันพัฒนา ยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และความสามารถของผู้ประกอบการให้มีความมั่นคงในอาชีพและรายได้.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024