นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ไอเดียเจ๋ง ประยุกต์ใช้ความรู้จากห้องเรียนเพิ่มมูลค่าอาหารไทย ทำไส้กรอกแบบคั่วกลิ้ง ไก่เชียงแกงเขียวหวาน ผสมผสานวัฒนธรรมอาหารกลางและใต้ ต่อยอดสู่อาชีพ
ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้สอนให้นักศึกษาแปรรูปผลิตเนื้อในรูปแบบต่างๆ ในรายวิชาเทคโนโลยีการจัดการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก ซึ่งเป็นรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร โดยสอนตั้งแต่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนาดเดิม เช่น การทำแฮมและบาร์บีคิว หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ลดขนาดแบบบดหยาบ เช่น การทำไส้กรอกอีสาน แหนม และกลุ่มการผลิตที่เป็นอิมัลชั่น ได้แก่การทำไส้กรอกอีมัลชั่น ลูกชิ้น หรือกลุ่มทำแห้งอย่างการผลิตไก่แผ่น ไก่เชียง เป็นต้น
ดร.กมลทิพย์ กล่าวว่า จากที่นักศึกษาได้เรียนรู้การผลิตในหลากหลายรูปแบบมาแล้ว จึงมีการประยุกต์ใช้และต่อยอดผสมผสานความเป็นวัฒนธรรมไทยลงไปในตัวผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาคิดผลิตขึ้น ได้แก่ ไส้กรอกคั่วกลิ้ง (กลุ่มอีมัลชั่น) ไก่เชียงแกงเขียวหวาน (กลุ่มทำแห้ง) ตัวผลิตภัณฑ์บ่งบอกถึงกลิ่นและรสของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกแบบคั่วกลิ้ง (ภาคใต้) และไก่เชียงแกงเขียวหวาน (ภาคกลาง) มีความลงตัวของผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้น โดยมีขั้นตอนการผลิตแบบพาสเจอไรส์ ทำให้สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน ซึ่งไส้กรอกคั่วกลิ้งเป็นการให้ความร้อนในระดับพาสเจอไรส์ สามารถเก็บรักษาได้นานราว 2 สัปดาห์ในตู้เย็น ส่วนไก่เชียงแกงเขียวหวานใช้หลักการทำแห้งในการยืดอายุการเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 เดือนที่อุณหภูมิห้อง ถือเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียน ผสมผสานวัฒนธรรมกลางและใต้เข้ากับวัฒนธรรมอาหารไทย ทั้งยังสามารถต่อยอดเป็นอาชีพได้อีกด้วย.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
นศ.เกษตร มรภ.สงขลา ทำไส้กรอกคั่วกลิ้ง ไก่เชียงแกงเขียวหวาน ต่อยอดความรู้แปรรูปผลิตเนื้อ เพิ่มมูลค่าอาหารไทย พัฒนาสู่อาชีพ
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ไอเดียเจ๋ง ประยุกต์ใช้ความรู้จากห้องเรียนเพิ่มมูลค่าอาหารไทย ทำไส้กรอกแบบคั่วกลิ้ง ไก่เชียงแกงเขียวหวาน ผสมผสานวัฒนธรรมอาหารกลางและใต้ ต่อยอดสู่อาชีพ
ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ตนได้สอนให้นักศึกษาแปรรูปผลิตเนื้อในรูปแบบต่างๆ ในรายวิชาเทคโนโลยีการจัดการผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และสัตว์ปีก ซึ่งเป็นรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาการผลิตและการจัดการผลิตภัณฑ์อาหาร โดยสอนตั้งแต่การแปรรูปผลิตภัณฑ์ขนาดเดิม เช่น การทำแฮมและบาร์บีคิว หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ลดขนาดแบบบดหยาบ เช่น การทำไส้กรอกอีสาน แหนม และกลุ่มการผลิตที่เป็นอิมัลชั่น ได้แก่การทำไส้กรอกอีมัลชั่น ลูกชิ้น หรือกลุ่มทำแห้งอย่างการผลิตไก่แผ่น ไก่เชียง เป็นต้น
ดร.กมลทิพย์ กล่าวว่า จากที่นักศึกษาได้เรียนรู้การผลิตในหลากหลายรูปแบบมาแล้ว จึงมีการประยุกต์ใช้และต่อยอดผสมผสานความเป็นวัฒนธรรมไทยลงไปในตัวผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาคิดผลิตขึ้น ได้แก่ ไส้กรอกคั่วกลิ้ง (กลุ่มอีมัลชั่น) ไก่เชียงแกงเขียวหวาน (กลุ่มทำแห้ง) ตัวผลิตภัณฑ์บ่งบอกถึงกลิ่นและรสของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกแบบคั่วกลิ้ง (ภาคใต้) และไก่เชียงแกงเขียวหวาน (ภาคกลาง) มีความลงตัวของผลิตภัณฑ์ที่จัดทำขึ้น โดยมีขั้นตอนการผลิตแบบพาสเจอไรส์ ทำให้สามารถเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน ซึ่งไส้กรอกคั่วกลิ้งเป็นการให้ความร้อนในระดับพาสเจอไรส์ สามารถเก็บรักษาได้นานราว 2 สัปดาห์ในตู้เย็น ส่วนไก่เชียงแกงเขียวหวานใช้หลักการทำแห้งในการยืดอายุการเก็บรักษาได้นานประมาณ 1 เดือนที่อุณหภูมิห้อง ถือเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียน ผสมผสานวัฒนธรรมกลางและใต้เข้ากับวัฒนธรรมอาหารไทย ทั้งยังสามารถต่อยอดเป็นอาชีพได้อีกด้วย.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024