คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.เกาะแต้ว ผนึกความร่วมมือชุมชนทำโครงการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ร่วมใจปักดำ ตามแนวพระราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ร่วมใจปักดำ ตามแนวพระราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ณ ต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า มรภ.สงขลา มีพันธกิจจัดการศึกษาที่หลากหลาย ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีคุณภาพและคุณธรรม และสามารถแข่งขันได้ นอกจากนั้น ยังมีพันธกิจบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วม ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระบรมราโชบายและแนวพระราชดำริ ตลอดจนส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นและของชาติ คณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงดำเนินโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนและการมีส่วนร่วมของบุคลากร นักศึกษา และชุมชน
ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า ในพื้นที่ชุมชน ต.เกาะแต้ว มีกลุ่มเกษตรกรที่มีอาชีพทำนา แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคัดพันธุ์ข้าวและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี จึงทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วปลูกมีการปะปนพันธุ์ ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ จำต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอก ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต ทางคณะฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ร่วมใจปักดำ ตามแนวพระราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ รวมถึงการจัดการดินและการเตรียมต้นกล้าข้าวในการปักดำ และร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
“เกษตรกรใช้แกะในการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ดังนั้น กิจกรรมที่ทางคณะฯ จัดขึ้นจึงเป็นการสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวที่กำลังเลือนหายไปจากสังคมเกษตรกรไทย และแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วม ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวถือเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นหมู่บ้าน ชุมชนที่อาศัยอีกด้วย” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าว
ด้าน ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า โครงการที่จัดขึ้นนี้มีการบรูณาการการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจากสถานที่จริง ก่อให้เกิดทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกร ต.เกาะแต้ว ในการใช้พื้นที่ดังกล่าวให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ และใช้เป็นแปลงสาธิตในการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ขณะเดียวกันตัวเกษตรกรเองก็ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์แบบปักดำ ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง
ดร.ภัทรพร กล่าวอีกว่า ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันลงแขกปักดำข้าวในพื้นที่นาประมาณ 3 ไร่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำนา อันเป็นประเพณีดั้งเดิมของอาชีพเกษตรกร จรรโลงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม และสร้างความมีจิตอาสาให้แก่นักศึกษา ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะระหว่างอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา เป็นการร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย และเป็นการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ผนึกชุมชน ปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ร่วมใจปักดำ ถวายในหลวง ร.10
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา ลงพื้นที่ ต.เกาะแต้ว ผนึกความร่วมมือชุมชนทำโครงการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ร่วมใจปักดำ ตามแนวพระราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10
ดร.มงคล เทพรัตน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ร่วมใจปักดำ ตามแนวพระราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 ณ ต.เกาะแต้ว อ.เมืองสงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า มรภ.สงขลา มีพันธกิจจัดการศึกษาที่หลากหลาย ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีคุณภาพและคุณธรรม และสามารถแข่งขันได้ นอกจากนั้น ยังมีพันธกิจบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วม ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระบรมราโชบายและแนวพระราชดำริ ตลอดจนส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นและของชาติ คณะเทคโนโลยีการเกษตรจึงดำเนินโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนและการมีส่วนร่วมของบุคลากร นักศึกษา และชุมชน
ผศ.ดร.อมรรัตน์ ชุมทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า ในพื้นที่ชุมชน ต.เกาะแต้ว มีกลุ่มเกษตรกรที่มีอาชีพทำนา แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการคัดพันธุ์ข้าวและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธี จึงทำให้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรในชุมชนเกาะแต้วปลูกมีการปะปนพันธุ์ ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่ำ ทำให้เกษตรกรไม่สามารถพึ่งตนเองได้ จำต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอก ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต ทางคณะฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเพื่อตอบสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน จึงจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ร่วมใจปักดำ ตามแนวพระราโชบายถวายในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ รวมถึงการจัดการดินและการเตรียมต้นกล้าข้าวในการปักดำ และร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว
“เกษตรกรใช้แกะในการเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งต้องใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ดังนั้น กิจกรรมที่ทางคณะฯ จัดขึ้นจึงเป็นการสืบสานประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวที่กำลังเลือนหายไปจากสังคมเกษตรกรไทย และแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ในการพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วม ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวถือเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นหมู่บ้าน ชุมชนที่อาศัยอีกด้วย” รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กล่าว
ด้าน ดร.ภัทรพร ภักดีฉนวน อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา กล่าวว่า โครงการที่จัดขึ้นนี้มีการบรูณาการการเรียนการสอนเข้าด้วยกัน นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจากสถานที่จริง ก่อให้เกิดทักษะความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นความร่วมมือของกลุ่มเกษตรกร ต.เกาะแต้ว ในการใช้พื้นที่ดังกล่าวให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ และใช้เป็นแปลงสาธิตในการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ ขณะเดียวกันตัวเกษตรกรเองก็ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกข้าวพื้นเมืองอินทรีย์แบบปักดำ ช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง
ดร.ภัทรพร กล่าวอีกว่า ผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันลงแขกปักดำข้าวในพื้นที่นาประมาณ 3 ไร่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำนา อันเป็นประเพณีดั้งเดิมของอาชีพเกษตรกร จรรโลงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอันดีงาม และสร้างความมีจิตอาสาให้แก่นักศึกษา ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะระหว่างอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา เป็นการร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย และเป็นการพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบายอย่างยั่งยืน.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024