เวลา ๐๙.๓๕ น. วันนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปทรงติดตามผลการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ บ้านปากซวด ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ และส่วนท้องถิ่นร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากความสำเร็จการบริหารจัดการน้ำของชุมชน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาเป็นหลักคิด และประยุกต์ใช้ในพื้นที่ จำนวน ๕,๐๐๐ ไร่ มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาถ่ายทอด เพื่อใช้บริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ สร้างการเรียนรู้จากการทำงาน, การสำรวจพื้นที่ควบคู่กับการใช้แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมเครื่องระบุพิกัด หรือ GPS ในการบริหารจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การสร้างฝายชะลอและกักเก็บน้ำ มีการกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาทิ ขอบเขตป่าอนุรักษ์ และที่ทำกินของชาวบ้าน ตลอดจนการจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อเป็นสวัสดิการของชุมชน ทำให้บ้านปากซวดเป็นชุมชนตัวอย่างการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่าง มีส่วนร่วม ระหว่างชุมชนและอุทยานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หลังจากเคยประสบปัญหาการบุกรุกทำลายป่า จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบน้ำ เช่น การขาดแคลนน้ำ และการเกิดน้ำป่าไหลหลาก
ในการนี้ ทอดพระเนตรฝายเก็บกักน้ำและเฝ้าระวังน้ำหลากของหมู่บ้าน ที่มีความจุ ๑๘,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ใช้เก็บกักน้ำลำน้ำสาขาในหมู่บ้าน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นของพื้นที่ชุมชน ๒๐๐ ไร่ มีการติดตั้งขีดระดับของปริมาณน้ำ เพื่อแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย
เวลา ๑๐.๔๒ น. เสด็จไปยังโรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี ในการพระราชทานอุปกรณ์กีฬา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญไปพระราชทานแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ด้วยทรงห่วงใยสุขภาพและคุณภาพชีวิต พร้อมกันนี้ พระราชทานข้าวสารและยารักษาโรคของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อเป็นคลังอาหาร และคลังยาเพื่อนพึ่ง ภาฯ รองรับผู้ประสบอุทกภัยแก่ผู้แทนตำบลตะกุกเหนือ
โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๑ ปัจจุบันเปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียน ๕๑๐ คน ครูและบุคลากร ๓๑ คน จากผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาประจำปี ๒๕๖๑ ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ วิชาภาษาไทยสูงกว่าระดับชาติ และผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ความสามารถด้านเหตุผลสูงกว่าระดับประเทศ
นอกจากนี้โปรดให้ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เชิญอุปกรณ์กีฬาพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประกอบด้วย ลูกบอล บาสเก็ตบอล และตะกร้อ ไปมอบแก่โรงเรียนวัดไม้เสียบ ตำบลเกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังความปลาบปลื้ม และรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ทั้งนี้ โรงเรียนวัดไม้เสียบ อยู่ห่างจากตัวอำเภอชะอวด ๑๓ กิโลเมตร เปิดสอนระดับอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๔๐๑ คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม ๒๓ คน
เวลา ๑๑.๑๓ น. เสด็จไปยังเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ วังหัวสะพาน บริเวณคลองยัน บ้านหัวสะพาน ทรงติดตามการดำเนินงานของเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมินิเวศลุ่มน้ำคลองยัน ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๘ เครือข่ายชุมชนเตือนภัยพิบัติของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๒ เพื่อเฝ้าระวังเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการจับปลา โดยปี ๒๕๕๓ เกิดดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก จึงได้ขยายการดำเนินงานเพื่อการเตือนภัยพิบัติ โดยจัดทำระบบเตือนภัยครอบคลุม ๔๖ หมู่บ้าน ใน ๔ ตำบลของ ๒ อำเภอ มีอาสาสมัครกว่า ๓๐๐ คน มีการปลูกป่าชุมชน ๑๑ เขต ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ ปลูกหญ้าแฝกและไม้พื้นถิ่น อาทิ ต้นไคร้น้ำ มะเดื่อ และกุ่ม เพื่อรักษาแนวตลิ่งทั้ง ๒ ฝั่ง ลุ่มน้ำคลองยัน, จัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ รวม ๒๗ เขต เป็นเขตอภัยทาน ทั้งยังมีการใช้วิทยุสื่อสารช่วยในการเฝ้าระวัง ซึ่งจะทดสอบสัญญาณวิทยุสื่อสารทุกวัน เพื่อตรวจสอบสภาพดิน ฟ้า อากาศ ปริมาณน้ำในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจะได้เตรียมแผนรับมือได้ทันเวลา
โอกาสนี้ ทอดพระเนตรการสาธิตการช่วยเหลือและอพยพผู้ประสบภัยของเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมินิเวศลุ่มน้ำคลองยัน ซึ่งร่วมกับศูนย์การจัดการภัยพิบัติตำบล เกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการอพยพด้วยวิธีการใช้เชือก และเรือ อพยพจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง แล้วจะมีการคัดกรองผู้ประสบภัย เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป โดยบริเวณนี้ ยังมีโทรมาตรติดตั้งที่สะพาน เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามสถานการณ์น้ำด้วย
ก่อนเสด็จกลับ พระราชทานอาหารปลา และทรงปล่อยปลาพลวง ปลาตะเพียนขาว และปลาตะเพียนทอง ลงในคลองยัน โดยบริเวณนี้เป็น ๑ ในเขตอภัยทาน ซึ่งชุมชนร่วมกันไม่จับปลา ทำให้ปัจจุบันมีปลาชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมกว่า ๖๐ ชนิด.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เวลา ๐๙.๓๕ น. วันนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จไปทรงติดตามผลการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ บ้านปากซวด ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ และส่วนท้องถิ่นร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้จากความสำเร็จการบริหารจัดการน้ำของชุมชน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมาเป็นหลักคิด และประยุกต์ใช้ในพื้นที่ จำนวน ๕,๐๐๐ ไร่ มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาถ่ายทอด เพื่อใช้บริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพ สร้างการเรียนรู้จากการทำงาน, การสำรวจพื้นที่ควบคู่กับการใช้แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมเครื่องระบุพิกัด หรือ GPS ในการบริหารจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ การสร้างฝายชะลอและกักเก็บน้ำ มีการกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน อาทิ ขอบเขตป่าอนุรักษ์ และที่ทำกินของชาวบ้าน ตลอดจนการจัดตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อเป็นสวัสดิการของชุมชน ทำให้บ้านปากซวดเป็นชุมชนตัวอย่างการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำอย่าง มีส่วนร่วม ระหว่างชุมชนและอุทยานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หลังจากเคยประสบปัญหาการบุกรุกทำลายป่า จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบน้ำ เช่น การขาดแคลนน้ำ และการเกิดน้ำป่าไหลหลาก
ในการนี้ ทอดพระเนตรฝายเก็บกักน้ำและเฝ้าระวังน้ำหลากของหมู่บ้าน ที่มีความจุ ๑๘,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ใช้เก็บกักน้ำลำน้ำสาขาในหมู่บ้าน เพื่อสร้างความชุ่มชื้นของพื้นที่ชุมชน ๒๐๐ ไร่ มีการติดตั้งขีดระดับของปริมาณน้ำ เพื่อแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย
เวลา ๑๐.๔๒ น. เสด็จไปยังโรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี ในการพระราชทานอุปกรณ์กีฬา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญไปพระราชทานแก่นักเรียนโรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ด้วยทรงห่วงใยสุขภาพและคุณภาพชีวิต พร้อมกันนี้ พระราชทานข้าวสารและยารักษาโรคของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อเป็นคลังอาหาร และคลังยาเพื่อนพึ่ง ภาฯ รองรับผู้ประสบอุทกภัยแก่ผู้แทนตำบลตะกุกเหนือ
โรงเรียนบ้านท่านหญิงวิภา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๑ ปัจจุบันเปิดสอนระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีนักเรียน ๕๑๐ คน ครูและบุคลากร ๓๑ คน จากผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาประจำปี ๒๕๖๑ ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ วิชาภาษาไทยสูงกว่าระดับชาติ และผลการสอบประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ NT ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ความสามารถด้านเหตุผลสูงกว่าระดับประเทศ
นอกจากนี้โปรดให้ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เชิญอุปกรณ์กีฬาพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประกอบด้วย ลูกบอล บาสเก็ตบอล และตะกร้อ ไปมอบแก่โรงเรียนวัดไม้เสียบ ตำบลเกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังความปลาบปลื้ม และรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ทั้งนี้ โรงเรียนวัดไม้เสียบ อยู่ห่างจากตัวอำเภอชะอวด ๑๓ กิโลเมตร เปิดสอนระดับอนุบาล ถึงประถมศึกษาปีที่ ๖ มีนักเรียน ๔๐๑ คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม ๒๓ คน
เวลา ๑๑.๑๓ น. เสด็จไปยังเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ วังหัวสะพาน บริเวณคลองยัน บ้านหัวสะพาน ทรงติดตามการดำเนินงานของเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมินิเวศลุ่มน้ำคลองยัน ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๘ เครือข่ายชุมชนเตือนภัยพิบัติของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง ภาฯ ยามยาก สภากาชาดไทย ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๒ เพื่อเฝ้าระวังเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการจับปลา โดยปี ๒๕๕๓ เกิดดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก จึงได้ขยายการดำเนินงานเพื่อการเตือนภัยพิบัติ โดยจัดทำระบบเตือนภัยครอบคลุม ๔๖ หมู่บ้าน ใน ๔ ตำบลของ ๒ อำเภอ มีอาสาสมัครกว่า ๓๐๐ คน มีการปลูกป่าชุมชน ๑๑ เขต ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๒๐,๐๐๐ ไร่ ปลูกหญ้าแฝกและไม้พื้นถิ่น อาทิ ต้นไคร้น้ำ มะเดื่อ และกุ่ม เพื่อรักษาแนวตลิ่งทั้ง ๒ ฝั่ง ลุ่มน้ำคลองยัน, จัดทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ รวม ๒๗ เขต เป็นเขตอภัยทาน ทั้งยังมีการใช้วิทยุสื่อสารช่วยในการเฝ้าระวัง ซึ่งจะทดสอบสัญญาณวิทยุสื่อสารทุกวัน เพื่อตรวจสอบสภาพดิน ฟ้า อากาศ ปริมาณน้ำในแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงจะได้เตรียมแผนรับมือได้ทันเวลา
โอกาสนี้ ทอดพระเนตรการสาธิตการช่วยเหลือและอพยพผู้ประสบภัยของเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมินิเวศลุ่มน้ำคลองยัน ซึ่งร่วมกับศูนย์การจัดการภัยพิบัติตำบล เกาะขันธ์ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเป็นการอพยพด้วยวิธีการใช้เชือก และเรือ อพยพจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง แล้วจะมีการคัดกรองผู้ประสบภัย เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป โดยบริเวณนี้ ยังมีโทรมาตรติดตั้งที่สะพาน เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามสถานการณ์น้ำด้วย
ก่อนเสด็จกลับ พระราชทานอาหารปลา และทรงปล่อยปลาพลวง ปลาตะเพียนขาว และปลาตะเพียนทอง ลงในคลองยัน โดยบริเวณนี้เป็น ๑ ในเขตอภัยทาน ซึ่งชุมชนร่วมกันไม่จับปลา ทำให้ปัจจุบันมีปลาชนิดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น รวมกว่า ๖๐ ชนิด.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024