อาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ระดับดี กลุ่มเทคโนโลยี โชว์ศักยภาพเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 บูรณาการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนักศึกษาสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จำนวน 4 คน คือ น.ส.ฮัปเสาะห์ มะเด็ง น.ส.ธีราพร หมุดกะเหล็ม น.ส.กาญจนา หนูจีน และ นายสุไหลหมาน เบญฤทธิ์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร (The 4th National Conference on Informatics, Agriculture, Management, Business administration, Engineering, Sciences and Technology) เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “บูรณาการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้น 228 ผลงาน จาก 53 สถานศึกษา
ดร.วัชรินทร์ กล่าวว่า ตนและทีมงานเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ 2 ผลงาน และกลุ่มเทคโนโลยี 1 ผลงาน ดังนี้ กลุ่มเทคโนโลยี บทความเรื่อง “การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนเพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์” โดย สุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส กลุ่มวิทยาศาสตร์ 1. บทความเรื่อง “อิทธิพลของปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตต่อการผ่อนคลายความเค้นของยางธรรมชาติคอมพาวนด์โดยใช้เครื่องทดสอบความหนืดมูนนี่” โดย ฮัปเสาะห์ มะเด็ง และ วัชรินทร์ สายน้ำใส 2. บทความเรื่อง “การประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนองในการออกสูตรยางคอมพาวนด์ : กรณีศึกษาผลของปริมาณเอ็มบีทีเอสและปริมาณกำมะถัน” โดย ธีราพร หมุดกะเหล็ม กาญจนา หนูจีน และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ในการนี้ ผลงานวิจัยเรื่อง การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนเพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ภาคโปสเตอร์ ระดับดี กลุ่มเทคโนโลยี
งานวิจัยดังกล่าว เป็นการศึกษาการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนในยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ เพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันกับยางธรรมชาติที่ผสมเขม่าดำปริมาณ 40 phr โดยใช้เขม่าดำเกรด N550 เป็นสารตัวเติมร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาเกรด Hi-Sil 233 แล้วใช้เส้นแนวโน้มทำนายปริมาณที่เหมาะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกา พบว่ายางธรรมชาติผสมเขม่าดำเกรด N550ปริมาณ 30 phr ร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาเกรด Hi-Sil 233 ปริมาณ 41.31 และ 39.36 phr ตามลำดับ มีพลังงานสูญหายรวมในระดับเดียวกับยางธรรมชาติที่ผสมเขม่าดำเกรด N550 เพียงอย่างเดียวในปริมาณ 40 phrโดยที่ยางธรรมชาติผสมเขม่าดำเกรด N550 ปริมาณ 10, 20 และ 30 phr สามารถทดแทนด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตปริมาณ 94.38, 62.07 และ 41.31 phr ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางต่อไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
อาจารย์-นศ.เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ระดับดี
อาจารย์ นักศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ระดับดี กลุ่มเทคโนโลยี โชว์ศักยภาพเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 บูรณาการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนักศึกษาสาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ จำนวน 4 คน คือ น.ส.ฮัปเสาะห์ มะเด็ง น.ส.ธีราพร หมุดกะเหล็ม น.ส.กาญจนา หนูจีน และ นายสุไหลหมาน เบญฤทธิ์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร (The 4th National Conference on Informatics, Agriculture, Management, Business administration, Engineering, Sciences and Technology) เมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “บูรณาการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ โดยมีผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้น 228 ผลงาน จาก 53 สถานศึกษา
ดร.วัชรินทร์ กล่าวว่า ตนและทีมงานเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคโปสเตอร์ ในกลุ่มวิทยาศาสตร์ 2 ผลงาน และกลุ่มเทคโนโลยี 1 ผลงาน ดังนี้ กลุ่มเทคโนโลยี บทความเรื่อง “การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนเพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์” โดย สุไหลหมาน เบญฤทธิ์ และ วัชรินทร์ สายน้ำใส กลุ่มวิทยาศาสตร์ 1. บทความเรื่อง “อิทธิพลของปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตต่อการผ่อนคลายความเค้นของยางธรรมชาติคอมพาวนด์โดยใช้เครื่องทดสอบความหนืดมูนนี่” โดย ฮัปเสาะห์ มะเด็ง และ วัชรินทร์ สายน้ำใส 2. บทความเรื่อง “การประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนองในการออกสูตรยางคอมพาวนด์ : กรณีศึกษาผลของปริมาณเอ็มบีทีเอสและปริมาณกำมะถัน” โดย ธีราพร หมุดกะเหล็ม กาญจนา หนูจีน และ วัชรินทร์ สายน้ำใส ในการนี้ ผลงานวิจัยเรื่อง การใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนเพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ภาคโปสเตอร์ ระดับดี กลุ่มเทคโนโลยี
งานวิจัยดังกล่าว เป็นการศึกษาการใช้แคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาทดแทนเขม่าดำบางส่วนในยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ เพื่อให้มีพลังงานสูญหายในระดับเดียวกันกับยางธรรมชาติที่ผสมเขม่าดำปริมาณ 40 phr โดยใช้เขม่าดำเกรด N550 เป็นสารตัวเติมร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาเกรด Hi-Sil 233 แล้วใช้เส้นแนวโน้มทำนายปริมาณที่เหมาะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกา พบว่ายางธรรมชาติผสมเขม่าดำเกรด N550ปริมาณ 30 phr ร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตและซิลิกาเกรด Hi-Sil 233 ปริมาณ 41.31 และ 39.36 phr ตามลำดับ มีพลังงานสูญหายรวมในระดับเดียวกับยางธรรมชาติที่ผสมเขม่าดำเกรด N550 เพียงอย่างเดียวในปริมาณ 40 phrโดยที่ยางธรรมชาติผสมเขม่าดำเกรด N550 ปริมาณ 10, 20 และ 30 phr สามารถทดแทนด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตปริมาณ 94.38, 62.07 และ 41.31 phr ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางต่อไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024