พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เข้าพบอุปทูตซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ (8 ม.ค.62) หลังจากที่ตัดสินใจไม่ส่งตัว น.ส.ราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน กลับประเทศ นับตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมาที่หญิงซาอุดีอาระเบียวัย 18 ปี ถูกกักตัวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขณะพยายามจะเดินทางหนีจากครอบครัวไปออสเตรเลีย รัฐบาลไทยพยายามที่จะส่งตัวเธอกลับประเทศ แต่ท่าทีของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เปลี่ยนไปในช่วงบ่ายของวันจันทร์ (7 ม.ค.) หลังจากที่ น.ส.ราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน ปิดประตูไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้ามาภายในห้องและปฏิเสธที่จะออกจากห้องพักในโรงแรมภายในสนามบินสุวรรณภูมิจนเลยเวลา และทำให้เที่ยวบินดังกล่าวเดินทางออกจากสุวรรณภูมิไปโดยปราศจากตัวเธอ “วันนี้ถ้าเขาต้องถูกทำร้ายถูกลงโทษ ลงทัณฑ์ ถูกฆ่า อย่างนี้ เป็นต้น เราก็คงต้องใช้หลักสิทธิมนุษยชน หลักของศีลธรรม เข้ามาเดินคู่ขนานไปด้วย” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ “วันนี้เขาหนีร้อนมาพึ่งเย็น ถ้าส่งเขากลับไปเขาจะต้องถึงแก่ชีวิต ผมก็มั่นใจว่าคงจะไม่มีประเทศไหนในโลกที่ทำ” นักสิทธิมนุษยชนที่ติดตามเรื่องนี้ให้ความเห็นว่า พลังของโซเชียลมีเดียมีส่วนสำคัญที่ทำให้ทางการไทยเปลี่ยนท่าที ยังไม่ส่งตัว น.ส.แอล-เคนูน กลับประเทศ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า น่าจะเป็นเพราะกระแสโซเชียลทั้งในและต่างประเทศที่ร่วมกันตั้งคำถามกับการละเมิดสิทธิสตรีในบริบทของสังคมอิสลาม กรณี น.ส.แอล-เคนูนจึงเป็นตัวแทนของประเด็นนี้ “เมื่อเธอเป็นผู้หญิงในสังคมมุสลิม และเป็นผู้เสียหายที่ออกมาต่อต้านการกดขี่สตรีด้วยตนเอง จึงมีการแสดงออกของสังคมที่ต้องการปกป้องเธอจากทุกมุมโลก” น.ส.พรเพ็ญ กล่าวกับบีบีซีไทย “เจ้าหน้าที่ไทยที่ไม่ได้มีกรอบของการคุ้มครองสตรีแบบอิสลาม โดยเฉพาะบุคลากรที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยอย่างบิ๊กโจ๊ก [พล.ต.ท.สุรเชษฐ์] จึงแสดงตนทำหน้าที่ปกป้องสตรี ไม่อาจจะยอมรับการถูกมองว่ารังแกผู้หญิงตัวเล็กอายุ 18 ปีได้ แม้ว่าเธอจะไม่ได้มองตัวเองแบบนั้น เธอเข้มแข็งมาก” บัญชีทวิตเตอร์ของ น.ส.แอล-เคนูน เพิ่งถูกสร้างขึ้นมาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และปัจจุบันได้โพสต์ข้อความออกไปกว่า 190 ข้อความ และมีผู้ติดตามกว่า 90,000 คน ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์พร้อมใจติดแฮชแท็ก #SaveRahaf จนกลายเป็นหนึ่งในเทรนด์ทวิตเตอร์ยอดนิยมในประเทศไทย ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบีย ในช่วงสามวันที่ผ่านมา นักการเมืองและนักสิทธิมนุษยชนในไทยเองก็แสดงความคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดียที่ไม่เห็นด้วยกับการส่งตัว น.ส.แอล-เคนูน กลับประเทศ รวมถึงนายเกออร์ค ชมิดท์ (Georg Schmidt) เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ที่ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า มีความเป็นห่วง น.ส.แอล-เคนูน อย่างยิ่ง และได้ติดต่อกับฝ่ายไทย รวมถึงสถานทูตต่างๆ ของประเทศที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ น.ส.พรเพ็ญกล่าวว่า กรณีการหายตัวไปของนายจามาล คาชูจกิ ผู้สื่อข่าวอิสระของวอชิงตันโพสต์ ที่คาดว่าถูกลอบสังหารที่สถานกงสุลใหญ่ซาอุดีอาระเบีย ที่ประเทศตุรกี ที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจของผู้นำในประเทศ ทำให้สิ่งที่ น.ส.แอล-เคนูนอ้างว่าจะถูกฆ่าตายหากส่งตัวกลับประเทศ มีความเป็นไปได้สูง คำบรรยายภาพ น.ส.ราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน หญิงซาอุฯ วัย 18 ปี ยอมพบกับ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อนหน้านี้ น.ส.แอล-เคนูน บอกกับบีบีซีว่า เธอละทิ้งศาสนาอิสลามและกลัวจะถูกส่งตัวกลับไปซาอุดีอาระเบียและถูกครอบครัวตัวเองฆ่า “ความกลัวมีมาก เรื่องผู้หญิง เรื่องซาอุฯ แล้วตำรวจไทยพร้อมที่จะเป็นเจนเทิลแมน (สุภาพบุรุษ) ในเวลาที่จำเป็นได้” น.ส.พรเพ็ญ กล่าว วันนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้เดินทางไปพบกับอุปทูตซาอุดีอาระเบีย ที่สถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย เพื่อชี้แจงถึงการอนุญาตให้ น.ส.แอล-เคนูนเข้ามาอยู่ในไทยเป็นการชั่วคราว บีบีซีไทยพยายามติดต่อ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ เพื่อขอความเห็นประกอบบทความนี้ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ณ เวลาที่บทความนี้ถูกเผยแพร่ คำบรรยายภาพ น.ส.แอล-เคนูน ขณะยังอยู่ภายในห้องพักภายในสนามบินสุวรรณภูมิ องค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ได้ระบุในแถลงการณ์ว่า น.ส.แอล-เคนูนมีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะได้รับอันตรายหากถูกส่งคืนให้ครอบครัว และยังเสี่ยงที่จะถูกแจ้งข้อหา “ไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง” ซึ่งมีบทลงโทษคือ ถูกส่งตัวกลับไปที่บ้านของผู้ปกครอง หรือคุมขัง และข้อหา “ทำลายชื่อเสียงของราชอาณาจักร” ในการที่เธอร้องขอความช่วยเหลือจากสาธารณชน ปัจจุบันผู้หญิงซาอุดีอาระเบียต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่เรียกว่า “กฎหมายการคุ้มครองโดยผู้ชาย” (Male guardianship laws) ทำให้การมีหนังสือเดินทาง การท่องเที่ยวในต่างประเทศ แต่งงาน การเปิดบัญชีธนาคาร ศัลยกรรม หรือกระทั่งการได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ไม่สามารถทำได้หากไม่ได้รับอนุญาตยินยอมจากผู้ปกครองที่ผู้ชาย ซึ่งอาจเป็นสามี บิดา พี่ชาย หรือกระทั่งลูกชาย น.ส.พุทธณี กางกั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน องค์กร Fortify Rights กล่าวว่า การที่ น.ส.แอล-เคนูน สื่อสารกับสาธารณะผ่านโซเชียลมีเดียตลอด เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้หลายๆ คน “ต้องขยับ” เนื่องจากเธอจะต้องเผชิญภัยประหัตรประหารอย่างแน่นอนหลังจากที่ปฏิเสธศาสนาอิสลาม คำบรรยายภาพ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้อนุญาตให้ตัวแทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้าพบ น.ส.แอล-เคนูน เมื่อวานนี้ แต่วันนี้สถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าซาอุดีอาระเบียไม่ได้ร้องขอให้นำตัว น.ส.แอล-เคนูน กลับประเทศแต่อย่างใด อีกทั้งกรณีนี้เป็นเรื่องภายในครอบครัว แต่สถานทูตยินดีให้ความดูแลและห่วงใยต่อเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ พ่อและพี่ชาย น.ส.แอล-เคนูน จะเดินทางมายังประเทศไทยในวันนี้ “ตอนแรกดูเป็นเรื่องครอบครัว พอเป็นเรื่องครอบครัว มันก็เลยโต้แย้งว่าเข้าข่ายการเป็นผู้ลี้ภัยหรือเปล่า ถ้าถามพี่เขายังเข้าข่ายเป็นผู้ลี้ภัยได้ เพราะกลับไปก็ยังเผชิญภัยประหัตรประหารด้วยวัฒนธรรมของสังคมที่เป็นที่รู้กันอยู่ เพียงแต่ไม่ใช่ภัยประหัตรประหารจากรัฐหรือผู้มีอิทธิพล แต่อาจะเป็นจากครอบครัว” น.ส.พุทธณี กล่าว “แต่ด้วยเหตุผลที่เขาบอกว่าปฏิเสธศาสนา มันปฏิเสธไม่ได้ว่าเข้าข่ายผู้ลี้ภัย เพราะไม่ใช่แค่เรื่องครอบครัว” เช่นเดียวกันกับนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ให้ความเห็นเรื่องท่าทีที่เปลี่ยนไปของทางการไทยว่า น่าจะเป็นเพราะมีกระแสจากโลกโซเชียล และจากหลายฝ่ายที่แสดงความกังวล ทำให้ระดับนโยบายมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อวานนี้ทาง กสม.เองได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพหลักการไม่ผลักดันบุคคลสู่อันตราย โดยควรหารือกับยูเอ็นเอชซีอาร์เพื่อคุ้มครองในเบื้องต้นและหาข้อเท็จจริง คำบรรยายภาพ นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ที่ทั่วโลกเป็นกังวลน่าจะมาจากกรณีนักข่าวที่ถูกฆ่า [ที่สถานกงสุลใหญ่ซาอุดีอาระเบีย ที่ประเทศตุรกี] เลยทำให้ทั่วโลกรู้สึกเป็นกังวลกับคนที่มีปัญหากับประเทศทางซาอุฯ และโดยเฉพาะกรณีนี้เป็นเยาวชน และเป็นผู้หญิง เลยทำให้ทั่วโลกออกมาปกป้องผู้หญิงคนนี้มากขึ้น” นางอังคณา กล่าว ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ดังนั้น ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัย ตกอยู่ภายใต้กฎหมายเข้าเมือง หากพวกเขาไม่มีวีซ่าที่ถูกต้อง เขาอาจจะถูกมองว่าเป็น “คนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย” (illegal alien) และอาจถูกกักกันโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ รัฐบาลไทยอยู่ในระหว่างการสร้างกลไกภายในประเทศที่จะคัดกรอง ปกป้องคุ้มครอง และให้สิทธิกับคนต่างด้าวผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างที่อยู่เมืองไทย ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือน ม.ค.2560 โดยหนึ่งในมาตรการดังกล่าวคือการยุติการกักขังเด็ก ซึ่งนางอังคณากล่าวว่า หากระบบคัดกรองนี้ออกมาแล้ว จะทำให้เจ้าหน้าที่มีแนวทางปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยได้ดีมากขึ้น โดยไม่มีการ “เหมารวม” ปัจจุบัน น.ส.แอล-เคนูน อยู่ในการดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) โดยอาจต้องใช้เวลาหลายวันเพื่อประเมินความต้องการการคุ้มครองทางการลี้ภัยจากนานาชาติ แต่ไม่สามารถที่จะให้ความเห็นรายบุคคลได้ คำบรรยายภาพ ตัวแทนจาก UNHCR เดินทางมาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเมื่อวานนี้’.!!!”.
นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย.รายงาน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
“ทำไม? ไทยเปลี่ยนใจไม่ส่งสาวซาอุฯ กลับประเทศ’.!!!”
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เข้าพบอุปทูตซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันที่ (8 ม.ค.62) หลังจากที่ตัดสินใจไม่ส่งตัว น.ส.ราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน กลับประเทศ นับตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมาที่หญิงซาอุดีอาระเบียวัย 18 ปี ถูกกักตัวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขณะพยายามจะเดินทางหนีจากครอบครัวไปออสเตรเลีย รัฐบาลไทยพยายามที่จะส่งตัวเธอกลับประเทศ แต่ท่าทีของ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เปลี่ยนไปในช่วงบ่ายของวันจันทร์ (7 ม.ค.) หลังจากที่ น.ส.ราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน ปิดประตูไม่ให้เจ้าหน้าที่เข้ามาภายในห้องและปฏิเสธที่จะออกจากห้องพักในโรงแรมภายในสนามบินสุวรรณภูมิจนเลยเวลา และทำให้เที่ยวบินดังกล่าวเดินทางออกจากสุวรรณภูมิไปโดยปราศจากตัวเธอ “วันนี้ถ้าเขาต้องถูกทำร้ายถูกลงโทษ ลงทัณฑ์ ถูกฆ่า อย่างนี้ เป็นต้น เราก็คงต้องใช้หลักสิทธิมนุษยชน หลักของศีลธรรม เข้ามาเดินคู่ขนานไปด้วย” พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวานนี้ “วันนี้เขาหนีร้อนมาพึ่งเย็น ถ้าส่งเขากลับไปเขาจะต้องถึงแก่ชีวิต ผมก็มั่นใจว่าคงจะไม่มีประเทศไหนในโลกที่ทำ” นักสิทธิมนุษยชนที่ติดตามเรื่องนี้ให้ความเห็นว่า พลังของโซเชียลมีเดียมีส่วนสำคัญที่ทำให้ทางการไทยเปลี่ยนท่าที ยังไม่ส่งตัว น.ส.แอล-เคนูน กลับประเทศ น.ส.พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า น่าจะเป็นเพราะกระแสโซเชียลทั้งในและต่างประเทศที่ร่วมกันตั้งคำถามกับการละเมิดสิทธิสตรีในบริบทของสังคมอิสลาม กรณี น.ส.แอล-เคนูนจึงเป็นตัวแทนของประเด็นนี้ “เมื่อเธอเป็นผู้หญิงในสังคมมุสลิม และเป็นผู้เสียหายที่ออกมาต่อต้านการกดขี่สตรีด้วยตนเอง จึงมีการแสดงออกของสังคมที่ต้องการปกป้องเธอจากทุกมุมโลก” น.ส.พรเพ็ญ กล่าวกับบีบีซีไทย “เจ้าหน้าที่ไทยที่ไม่ได้มีกรอบของการคุ้มครองสตรีแบบอิสลาม โดยเฉพาะบุคลากรที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยอย่างบิ๊กโจ๊ก [พล.ต.ท.สุรเชษฐ์] จึงแสดงตนทำหน้าที่ปกป้องสตรี ไม่อาจจะยอมรับการถูกมองว่ารังแกผู้หญิงตัวเล็กอายุ 18 ปีได้ แม้ว่าเธอจะไม่ได้มองตัวเองแบบนั้น เธอเข้มแข็งมาก” บัญชีทวิตเตอร์ของ น.ส.แอล-เคนูน เพิ่งถูกสร้างขึ้นมาเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา และปัจจุบันได้โพสต์ข้อความออกไปกว่า 190 ข้อความ และมีผู้ติดตามกว่า 90,000 คน ก่อนหน้านี้ ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์พร้อมใจติดแฮชแท็ก #SaveRahaf จนกลายเป็นหนึ่งในเทรนด์ทวิตเตอร์ยอดนิยมในประเทศไทย ออสเตรเลีย และซาอุดีอาระเบีย ในช่วงสามวันที่ผ่านมา นักการเมืองและนักสิทธิมนุษยชนในไทยเองก็แสดงความคิดเห็นผ่านโซเชียลมีเดียที่ไม่เห็นด้วยกับการส่งตัว น.ส.แอล-เคนูน กลับประเทศ รวมถึงนายเกออร์ค ชมิดท์ (Georg Schmidt) เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ที่ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ว่า มีความเป็นห่วง น.ส.แอล-เคนูน อย่างยิ่ง และได้ติดต่อกับฝ่ายไทย รวมถึงสถานทูตต่างๆ ของประเทศที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ น.ส.พรเพ็ญกล่าวว่า กรณีการหายตัวไปของนายจามาล คาชูจกิ ผู้สื่อข่าวอิสระของวอชิงตันโพสต์ ที่คาดว่าถูกลอบสังหารที่สถานกงสุลใหญ่ซาอุดีอาระเบีย ที่ประเทศตุรกี ที่แสดงให้เห็นถึงอำนาจของผู้นำในประเทศ ทำให้สิ่งที่ น.ส.แอล-เคนูนอ้างว่าจะถูกฆ่าตายหากส่งตัวกลับประเทศ มีความเป็นไปได้สูง คำบรรยายภาพ น.ส.ราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน หญิงซาอุฯ วัย 18 ปี ยอมพบกับ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อนหน้านี้ น.ส.แอล-เคนูน บอกกับบีบีซีว่า เธอละทิ้งศาสนาอิสลามและกลัวจะถูกส่งตัวกลับไปซาอุดีอาระเบียและถูกครอบครัวตัวเองฆ่า “ความกลัวมีมาก เรื่องผู้หญิง เรื่องซาอุฯ แล้วตำรวจไทยพร้อมที่จะเป็นเจนเทิลแมน (สุภาพบุรุษ) ในเวลาที่จำเป็นได้” น.ส.พรเพ็ญ กล่าว วันนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้เดินทางไปพบกับอุปทูตซาอุดีอาระเบีย ที่สถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย เพื่อชี้แจงถึงการอนุญาตให้ น.ส.แอล-เคนูนเข้ามาอยู่ในไทยเป็นการชั่วคราว บีบีซีไทยพยายามติดต่อ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ เพื่อขอความเห็นประกอบบทความนี้ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ณ เวลาที่บทความนี้ถูกเผยแพร่ คำบรรยายภาพ น.ส.แอล-เคนูน ขณะยังอยู่ภายในห้องพักภายในสนามบินสุวรรณภูมิ องค์กรสิทธิมนุษยชนฮิวแมนไรท์วอทช์ได้ระบุในแถลงการณ์ว่า น.ส.แอล-เคนูนมีความเสี่ยงอย่างยิ่งที่จะได้รับอันตรายหากถูกส่งคืนให้ครอบครัว และยังเสี่ยงที่จะถูกแจ้งข้อหา “ไม่เชื่อฟังผู้ปกครอง” ซึ่งมีบทลงโทษคือ ถูกส่งตัวกลับไปที่บ้านของผู้ปกครอง หรือคุมขัง และข้อหา “ทำลายชื่อเสียงของราชอาณาจักร” ในการที่เธอร้องขอความช่วยเหลือจากสาธารณชน ปัจจุบันผู้หญิงซาอุดีอาระเบียต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่เรียกว่า “กฎหมายการคุ้มครองโดยผู้ชาย” (Male guardianship laws) ทำให้การมีหนังสือเดินทาง การท่องเที่ยวในต่างประเทศ แต่งงาน การเปิดบัญชีธนาคาร ศัลยกรรม หรือกระทั่งการได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ไม่สามารถทำได้หากไม่ได้รับอนุญาตยินยอมจากผู้ปกครองที่ผู้ชาย ซึ่งอาจเป็นสามี บิดา พี่ชาย หรือกระทั่งลูกชาย น.ส.พุทธณี กางกั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน องค์กร Fortify Rights กล่าวว่า การที่ น.ส.แอล-เคนูน สื่อสารกับสาธารณะผ่านโซเชียลมีเดียตลอด เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้หลายๆ คน “ต้องขยับ” เนื่องจากเธอจะต้องเผชิญภัยประหัตรประหารอย่างแน่นอนหลังจากที่ปฏิเสธศาสนาอิสลาม คำบรรยายภาพ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้อนุญาตให้ตัวแทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เข้าพบ น.ส.แอล-เคนูน เมื่อวานนี้ แต่วันนี้สถานเอกอัครราชทูตซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าซาอุดีอาระเบียไม่ได้ร้องขอให้นำตัว น.ส.แอล-เคนูน กลับประเทศแต่อย่างใด อีกทั้งกรณีนี้เป็นเรื่องภายในครอบครัว แต่สถานทูตยินดีให้ความดูแลและห่วงใยต่อเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ พ่อและพี่ชาย น.ส.แอล-เคนูน จะเดินทางมายังประเทศไทยในวันนี้ “ตอนแรกดูเป็นเรื่องครอบครัว พอเป็นเรื่องครอบครัว มันก็เลยโต้แย้งว่าเข้าข่ายการเป็นผู้ลี้ภัยหรือเปล่า ถ้าถามพี่เขายังเข้าข่ายเป็นผู้ลี้ภัยได้ เพราะกลับไปก็ยังเผชิญภัยประหัตรประหารด้วยวัฒนธรรมของสังคมที่เป็นที่รู้กันอยู่ เพียงแต่ไม่ใช่ภัยประหัตรประหารจากรัฐหรือผู้มีอิทธิพล แต่อาจะเป็นจากครอบครัว” น.ส.พุทธณี กล่าว “แต่ด้วยเหตุผลที่เขาบอกว่าปฏิเสธศาสนา มันปฏิเสธไม่ได้ว่าเข้าข่ายผู้ลี้ภัย เพราะไม่ใช่แค่เรื่องครอบครัว” เช่นเดียวกันกับนางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ให้ความเห็นเรื่องท่าทีที่เปลี่ยนไปของทางการไทยว่า น่าจะเป็นเพราะมีกระแสจากโลกโซเชียล และจากหลายฝ่ายที่แสดงความกังวล ทำให้ระดับนโยบายมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อวานนี้ทาง กสม.เองได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพหลักการไม่ผลักดันบุคคลสู่อันตราย โดยควรหารือกับยูเอ็นเอชซีอาร์เพื่อคุ้มครองในเบื้องต้นและหาข้อเท็จจริง คำบรรยายภาพ นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ที่ทั่วโลกเป็นกังวลน่าจะมาจากกรณีนักข่าวที่ถูกฆ่า [ที่สถานกงสุลใหญ่ซาอุดีอาระเบีย ที่ประเทศตุรกี] เลยทำให้ทั่วโลกรู้สึกเป็นกังวลกับคนที่มีปัญหากับประเทศทางซาอุฯ และโดยเฉพาะกรณีนี้เป็นเยาวชน และเป็นผู้หญิง เลยทำให้ทั่วโลกออกมาปกป้องผู้หญิงคนนี้มากขึ้น” นางอังคณา กล่าว ปัจจุบันประเทศไทยไม่มีกฎหมายระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัย ดังนั้น ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัย ตกอยู่ภายใต้กฎหมายเข้าเมือง หากพวกเขาไม่มีวีซ่าที่ถูกต้อง เขาอาจจะถูกมองว่าเป็น “คนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย” (illegal alien) และอาจถูกกักกันโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ รัฐบาลไทยอยู่ในระหว่างการสร้างกลไกภายในประเทศที่จะคัดกรอง ปกป้องคุ้มครอง และให้สิทธิกับคนต่างด้าวผิดกฎหมายและผู้ลี้ภัยระหว่างที่อยู่เมืองไทย ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือน ม.ค.2560 โดยหนึ่งในมาตรการดังกล่าวคือการยุติการกักขังเด็ก ซึ่งนางอังคณากล่าวว่า หากระบบคัดกรองนี้ออกมาแล้ว จะทำให้เจ้าหน้าที่มีแนวทางปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยได้ดีมากขึ้น โดยไม่มีการ “เหมารวม” ปัจจุบัน น.ส.แอล-เคนูน อยู่ในการดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) โดยอาจต้องใช้เวลาหลายวันเพื่อประเมินความต้องการการคุ้มครองทางการลี้ภัยจากนานาชาติ แต่ไม่สามารถที่จะให้ความเห็นรายบุคคลได้ คำบรรยายภาพ ตัวแทนจาก UNHCR เดินทางมาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเมื่อวานนี้’.!!!”.
นันท์ชนก วงษ์สมุทร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย.รายงาน.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024