โครงการผลิตไฟฟ้ากังหันลมลำตะคอง ทดสอบระบบ Wind Hydrogen Hybrid เตรียมความพร้อมประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานลมให้กับศูนย์เรียนรู้ลำตะคองในปี 62
ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคม 2561 โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้า หรือ Reliability Test ของระบบพัฒนาเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม (Wind Hydrogen Hybrid) จำนวน 72 ชั่วโมงต่อเนื่อง โดยมี ผู้แทนจากบริษัทคู่สัญญา Hydrogenics Corporation จากประเทศเบลเยียมและประเทศแคนาดา เป็นผู้ทดสอบระบบ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ณ อุทยานพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เขายายเที่ยง จังหวัดนครราชสีมา
นายธีระชัย ลีโทชวลิต หัวหน้าโครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 กฟผ. กล่าวว่า ระบบ Wind Hydrogen Hybrid เป็นระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ที่ กฟผ. มาใช้งานกับกังหันลมจำนวน 12 ต้น ขนาดกำลังผลิตรวม 24 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนของโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยติดตั้งร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลิตไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์ เพื่อลดข้อจำกัดของการจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานลมให้เสถียร สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งการทดสอบในครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้าจากกังหันลมมายังระบบกักเก็บพลังงาน Wind Hydrogen Hybrid อย่างต่อเนื่องจำนวน 72 ชั่วโมง เตรียมความพร้อมก่อนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ให้กับศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคองในปี 2562 ต่อไป
Wind Hydrogen Hybrid มีอุปกรณ์หลัก คือ Electrolyzer ทำหน้าที่ผลิตก๊าซไฮโดรเจนด้วยกระบวนการแยกน้ำออกเป็นออกซิเจน (O2) และไฮโดรเจน (H2) โดยใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลมซึ่งมักจะพัดมากในเวลากลางคืน เมื่อต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน ก๊าซไฮโดรเจนที่ถูกกักเก็บไว้ในถังจะถูกส่งผ่านไปยังเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เพื่อผลิตไฟฟ้าออกมาในรูปแบบกระแสตรง (DC) จากนั้น อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะเปลี่ยนไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับ (AC) เข้าสู่อาคารศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง กฟผ. เตรียมสร้างให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพลังงานส่วนเกินจะถูกส่งเข้าระบบต่อไป
“ข้อดีของระบบกักเก็บพลังงานด้วย Fuel Cell นั้น นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการแปลงไฮโดรเจนเป็นไฟฟ้ามากกว่าวิธีอื่นๆ ร้อยละประมาณ 30-40 แล้ว ยังเป็นระบบที่ไม่ใช้สารเคมี จึงไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศและน้ำ นอกจากนี้แล้ว กฟผ. ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในการก่อสร้าง โดยนำอุปกรณ์ป้องกันการระเบิดเบื้องต้น (Explosion Proof) มาติดตั้งในโครงการ ทั้งนี้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 37.8 ล้านหน่วย ทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้า ได้ประมาณ 22,000 ตัน/ปี” นายธีระชัย กล่าว
นับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ กฟผ. ได้นำนวัตกรรมการกักเก็บพลังงานจาก Wind Hydrogen Hybrid และเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell ที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม มาใช้ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม จึงมั่นใจได้ว่า ประชาชนจะได้ใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
โครงการกังหันลมลำตะคอง ทดสอบระบบ Wind Hydrogen Hybrid เตรียมพร้อมส่งไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดสู่ศูนย์เรียนรู้ กฟผ.
โครงการผลิตไฟฟ้ากังหันลมลำตะคอง ทดสอบระบบ Wind Hydrogen Hybrid เตรียมความพร้อมประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานลมให้กับศูนย์เรียนรู้ลำตะคองในปี 62
ระหว่างวันที่ 5-8 ธันวาคม 2561 โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบประสิทธิภาพการจ่ายไฟฟ้า หรือ Reliability Test ของระบบพัฒนาเสถียรภาพในการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม (Wind Hydrogen Hybrid) จำนวน 72 ชั่วโมงต่อเนื่อง โดยมี ผู้แทนจากบริษัทคู่สัญญา Hydrogenics Corporation จากประเทศเบลเยียมและประเทศแคนาดา เป็นผู้ทดสอบระบบ ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ณ อุทยานพลังงานหมุนเวียน กฟผ. เขายายเที่ยง จังหวัดนครราชสีมา
นายธีระชัย ลีโทชวลิต หัวหน้าโครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าลำตะคอง ระยะที่ 2 กฟผ. กล่าวว่า ระบบ Wind Hydrogen Hybrid เป็นระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ที่ กฟผ. มาใช้งานกับกังหันลมจำนวน 12 ต้น ขนาดกำลังผลิตรวม 24 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่บริเวณอ่างพักน้ำตอนบนของโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยติดตั้งร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) ผลิตไฟฟ้าขนาด 300 กิโลวัตต์ เพื่อลดข้อจำกัดของการจ่ายไฟฟ้าจากพลังงานลมให้เสถียร สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง ซึ่งการทดสอบในครั้งนี้ ดำเนินการเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการจ่ายไฟฟ้าจากกังหันลมมายังระบบกักเก็บพลังงาน Wind Hydrogen Hybrid อย่างต่อเนื่องจำนวน 72 ชั่วโมง เตรียมความพร้อมก่อนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ให้กับศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ลำตะคองในปี 2562 ต่อไป
Wind Hydrogen Hybrid มีอุปกรณ์หลัก คือ Electrolyzer ทำหน้าที่ผลิตก๊าซไฮโดรเจนด้วยกระบวนการแยกน้ำออกเป็นออกซิเจน (O2) และไฮโดรเจน (H2) โดยใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลมซึ่งมักจะพัดมากในเวลากลางคืน เมื่อต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน ก๊าซไฮโดรเจนที่ถูกกักเก็บไว้ในถังจะถูกส่งผ่านไปยังเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เพื่อผลิตไฟฟ้าออกมาในรูปแบบกระแสตรง (DC) จากนั้น อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะเปลี่ยนไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับ (AC) เข้าสู่อาคารศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง กฟผ. เตรียมสร้างให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงาน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพลังงานส่วนเกินจะถูกส่งเข้าระบบต่อไป
“ข้อดีของระบบกักเก็บพลังงานด้วย Fuel Cell นั้น นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการแปลงไฮโดรเจนเป็นไฟฟ้ามากกว่าวิธีอื่นๆ ร้อยละประมาณ 30-40 แล้ว ยังเป็นระบบที่ไม่ใช้สารเคมี จึงไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศและน้ำ นอกจากนี้แล้ว กฟผ. ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในการก่อสร้าง โดยนำอุปกรณ์ป้องกันการระเบิดเบื้องต้น (Explosion Proof) มาติดตั้งในโครงการ ทั้งนี้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 37.8 ล้านหน่วย ทดแทนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตไฟฟ้า ได้ประมาณ 22,000 ตัน/ปี” นายธีระชัย กล่าว
นับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ กฟผ. ได้นำนวัตกรรมการกักเก็บพลังงานจาก Wind Hydrogen Hybrid และเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell ที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม มาใช้ร่วมกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม จึงมั่นใจได้ว่า ประชาชนจะได้ใช้ไฟฟ้าที่มาจากพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024