บรรยายภาพ – นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร (กลาง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานสรุปผลโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 กิจกรรมส่งต่อแรงบันดาลใจ เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น และร่วมเฉลิมฉลองวันดินโลก โดยมี (จากซ้าย) นายสัญญา คุณากร พิธีกรรายการเจาะใจ นายโจน จันใด ประธานธรรมธุรกิจ นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง นายพิษณุ นิ่มสกุล (บอย) นักร้องและนักแสดง รวมพลังร่วมกันในงาน ณ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 เมื่อเร็ว ๆ นี้
กรุงเทพมหานคร – บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมพันธมิตรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน ถือฤกษ์วันดินโลก ประกาศความสำเร็จโครงการ ’พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ ปี 6 จบเฟสที่ 2 “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ด้วยชุมชนต้นแบบใน 4 จังหวัดทั่วประเทศ เตรียมเปิดเฟส 3 ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เนื่องในวันดินโลก พ.ศ.2561 ที่จะมาถึงในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร
“โครงการ ‘พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ เองมุ่งเน้นในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาในการจัดการดิน น้ำ ป่า ตลอด 6 ปีเต็มที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ชุมชนทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำอื่นๆ ร่วมกันฟื้นฟูดิน ด้วยการสร้างหลุมขนมครกเพื่อกักเก็บน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อฟื้นฟูดินและป้องกันดินพังทลาย ส่งเสริมการทำกสิกรรมธรรมชาติ ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์โดยให้ความรู้ในเรื่องการใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมีในการป้องกันแมลงที่เป็นศัตรูพืช การทำปุ๋ยชีวภาพ และการล้างพิษสารเคมีในดินด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร จึงนับว่าเป็นโครงการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของวันดินโลกในปีนี้โดยตรง”
โครงการฯ ปีนี้ นับเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานในเฟสที่ 2 คือ ระยะของการแตกตัว ซึ่งในปีถัดไปโครงการฯ จะก้าวต่อไปสู่เฟสที่ 3 คือ การขยายผลเชื่อมโยงทั้งระบบ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศต่อไป
นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการฯ นี้ตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านสังคมขององค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างคน องค์ความรู้ และจิตสำนึกที่ดี จึงทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเห็นว่าศาสตร์พระราชานั้นพิสูจน์แล้วว่าแก้ปัญหาได้ในทุกพื้นที่หากลงมือทำจริง และสามารถสร้างต้นแบบและแรงบันดาลใจให้เกิดการขยายผลต่อไป
“เราทำโครงการนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 9 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ที่เป็นปีแรกที่เชฟรอนน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในการจัดการดิน-น้ำ-ป่า-คน สู่การปฏิบัติ เพื่อหยุดท่วม หยุดแล้งอย่างยั่งยืน และขยายผลจากลุ่มน้ำป่าสักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงริเริ่มไว้ ไปสู่ลุ่มน้ำอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในปีแรก ๆ สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องแปลกในสังคม วันนี้เราเห็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้กระจายตัวทั่วประเทศ และมีคนสนใจแนวคิดนี้มากขึ้น เราจะยังทำงานร่วมกับพันธมิตร ลงมือและเรียนรู้ระหว่างทางไปตลอดว่าแบบไหนทำแล้วสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ พอไปถึงจุดหนึ่งเราจะมองหาคอขวดตัวต่อ ๆ ไป” นายอาทิตย์กล่าว
และเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จและความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา เชฟรอนได้รวบรวมข้อมูลในรูปแบบสปอต คลิปวิดีโอ และภาพอินโฟกราฟฟิกต่าง ๆ มาเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ครบทุกช่องทาง เฟซบุ๊ก:พลังคนสร้างสรรค์โลกรวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line@ ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking
สำหรับปีนี้ โครงการฯ ประสบความสำเร็จในดำเนินงานตามแนวคิด “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” โดยมีผู้ให้ความสนใจร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นกว่า 2,500 คน เข้าร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี สระบุรี และน่าน โดยแต่ละพื้นที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “คนต้นแบบ” ที่หลากหลายให้ผู้คนมาเรียนรู้และส่งต่อแรงบันดาลใจต่อไป
ในปีนี้ กิจกรรมเอามื้อสามัคคีเริ่มต้นขึ้นที่ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2561 มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 300 คน นำโดย นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการธรรมธุรกิจ หนึ่งในผู้จัดตั้งฐานธรรมธุรกิจ กล่าวว่า “เราตั้งใจให้ที่นี่ เป็นตลาดกลางกระจายสินค้าของเครือข่ายจากทั่วประเทศ ในราคาเป็นธรรมต่อผู้ซื้อและผู้ผลิต และมีเป้าหมายในการสร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชากลางเมืองหลวง โดยวางแผนจะขยายงานไปที่เชียงใหม่ และบ้านศรีฐาน ยโสธรในอนาคตด้วย”
ส่วนกิจกรรมครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ของนางแววศิริ ฤทธิโยธี เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน โดยมุ่งให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค พร้อมแนะแนวทางการรับรองมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) หรือ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมคือเกษตรกรด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมตรวจสอบ โดยอิงระบบการรับรองตามมาตรฐาน IFOAM : International Federation of Organic Agriculture Movements ซึ่งมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า โดยได้รับเกียรติจาก นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี เข้าร่วมงาน
ครั้งที่ 3 จัดขึ้นบนพื้นที่ 47 ไร่ ที่บ้านโคกสมอ อ.หนองแซง จ.สระบุรี เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 มีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนกสิกรรมวิถีในพื้นที่ของกลุ่มคนหลากหลายอาชีพที่มีแนวคิดเดียวกัน มาร่วมกันพัฒนาพื้นที่เกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชา โดย บอย-พิษณุ นิ่มสกุล หนึ่งในเจ้าของพื้นที่ พร้อมด้วย นายบุญล้อม เต้าแก้ว คณะทำงาน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ให้ข้อมูลว่า การออกแบบพื้นที่เป็นไปตามหลักภูมิสังคม คือตามวัตถุประสงค์และความต้องการของสมาชิก ซึ่งทำให้ได้พบกับบทพิสูจน์ว่า ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหนทางรอดที่แท้จริง จากเหตุการณ์ฝนตกหนักก่อนหน้าวันจัดกิจกรรมเพียง 2 วัน ทำให้พื้นที่โดยรอบโดนน้ำท่วมกันหมด เหลือแต่พื้นที่กิจกรรมที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้เกือบ 1,000 คน และทำกิจกรรมร่วมกันให้สำเร็จลุล่วงไปได้
นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมปั่นจักรยานรณรงค์จาก “ป่าสักโมเดล” ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จัดตั้งขึ้นในปีที่ 4 ของการดำเนินโครงการ ณ ห้วยกระแทก หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี มายังที่บ้านโคกสมอ จ.สระบุรี รวมระยะทาง 60 กม. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่การเรียนรู้วิถีพอเพียงตามรอยพ่อ โดยมีเครือข่ายนักปั่นสะพานบุญ ชมรมจักรยานทีมรบพิเศษ นักปั่นในพื้นที่ และนักปั่นเชฟรอนอีกรวมทั้งสิ้นกว่า 380 คน
และครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ณ พื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน บนพื้นที่ของนางสาววริศรา จันธี (กานต์) ผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยาน โดยมีนายบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่านเป็นแกนนำ ทำกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายกว่า 320 คน เพื่อสร้างต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่าคนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
“เดิมทีชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ไม่ถูกกัน ผมจึงใช้แนวทางปลูกป่าในใจคน ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยลงพื้นที่เข้าหาอย่างเป็นมิตร และทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ชวนให้ชาวบ้านปลูกข้าวแทนการกู้เงินมาซื้อข้าวกินแทน ซึ่งตอนนี้มีชาวบ้านเข้าอบรมและลงมือทำตามแล้ว 9 คน ยังมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งสมัครใจลงชื่อเข้าอบรมและสนใจพร้อมลงมือทำตามหลายร้อยคน เพราะถ้าทุกคนทำตามศาสตร์พระราชาแล้ว ชาวบ้านก็สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องบุกรุกป่า อุทยานก็จะได้พื้นที่ป่าเพิ่ม” นายบัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เพิ่มเติมได้หลายช่องทาง อาทิ เฟซบุ๊ก: พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking.
ภาพ/ข่าว เชฟรอน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เชฟรอน-สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง-สจล. ผนึกภาคีทุกภาคส่วน ถือฤกษ์วันดินโลก แถลงความสำเร็จโครงการ “รวมพลังตามรอยพ่อฯ” ปี 6
บรรยายภาพ – นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร (กลาง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานสรุปผลโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 กิจกรรมส่งต่อแรงบันดาลใจ เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น และร่วมเฉลิมฉลองวันดินโลก โดยมี (จากซ้าย) นายสัญญา คุณากร พิธีกรรายการเจาะใจ นายโจน จันใด ประธานธรรมธุรกิจ นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง นายพิษณุ นิ่มสกุล (บอย) นักร้องและนักแสดง รวมพลังร่วมกันในงาน ณ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 เมื่อเร็ว ๆ นี้
กรุงเทพมหานคร – บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมพันธมิตรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน ถือฤกษ์วันดินโลก ประกาศความสำเร็จโครงการ ’พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ ปี 6 จบเฟสที่ 2 “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ด้วยชุมชนต้นแบบใน 4 จังหวัดทั่วประเทศ เตรียมเปิดเฟส 3 ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เนื่องในวันดินโลก พ.ศ.2561 ที่จะมาถึงในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร
“โครงการ ‘พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ เองมุ่งเน้นในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาในการจัดการดิน น้ำ ป่า ตลอด 6 ปีเต็มที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ชุมชนทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำอื่นๆ ร่วมกันฟื้นฟูดิน ด้วยการสร้างหลุมขนมครกเพื่อกักเก็บน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อฟื้นฟูดินและป้องกันดินพังทลาย ส่งเสริมการทำกสิกรรมธรรมชาติ ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์โดยให้ความรู้ในเรื่องการใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมีในการป้องกันแมลงที่เป็นศัตรูพืช การทำปุ๋ยชีวภาพ และการล้างพิษสารเคมีในดินด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร จึงนับว่าเป็นโครงการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของวันดินโลกในปีนี้โดยตรง”
โครงการฯ ปีนี้ นับเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานในเฟสที่ 2 คือ ระยะของการแตกตัว ซึ่งในปีถัดไปโครงการฯ จะก้าวต่อไปสู่เฟสที่ 3 คือ การขยายผลเชื่อมโยงทั้งระบบ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศต่อไป
นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการฯ นี้ตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านสังคมขององค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างคน องค์ความรู้ และจิตสำนึกที่ดี จึงทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเห็นว่าศาสตร์พระราชานั้นพิสูจน์แล้วว่าแก้ปัญหาได้ในทุกพื้นที่หากลงมือทำจริง และสามารถสร้างต้นแบบและแรงบันดาลใจให้เกิดการขยายผลต่อไป
“เราทำโครงการนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 9 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ที่เป็นปีแรกที่เชฟรอนน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในการจัดการดิน-น้ำ-ป่า-คน สู่การปฏิบัติ เพื่อหยุดท่วม หยุดแล้งอย่างยั่งยืน และขยายผลจากลุ่มน้ำป่าสักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงริเริ่มไว้ ไปสู่ลุ่มน้ำอื่น ๆ ทั่วประเทศ ในปีแรก ๆ สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องแปลกในสังคม วันนี้เราเห็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้กระจายตัวทั่วประเทศ และมีคนสนใจแนวคิดนี้มากขึ้น เราจะยังทำงานร่วมกับพันธมิตร ลงมือและเรียนรู้ระหว่างทางไปตลอดว่าแบบไหนทำแล้วสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ พอไปถึงจุดหนึ่งเราจะมองหาคอขวดตัวต่อ ๆ ไป” นายอาทิตย์กล่าว
และเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จและความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา เชฟรอนได้รวบรวมข้อมูลในรูปแบบสปอต คลิปวิดีโอ และภาพอินโฟกราฟฟิกต่าง ๆ มาเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ครบทุกช่องทาง เฟซบุ๊ก:พลังคนสร้างสรรค์โลกรวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line@ ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking
สำหรับปีนี้ โครงการฯ ประสบความสำเร็จในดำเนินงานตามแนวคิด “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” โดยมีผู้ให้ความสนใจร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นกว่า 2,500 คน เข้าร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี สระบุรี และน่าน โดยแต่ละพื้นที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “คนต้นแบบ” ที่หลากหลายให้ผู้คนมาเรียนรู้และส่งต่อแรงบันดาลใจต่อไป
ในปีนี้ กิจกรรมเอามื้อสามัคคีเริ่มต้นขึ้นที่ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2561 มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 300 คน นำโดย นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการธรรมธุรกิจ หนึ่งในผู้จัดตั้งฐานธรรมธุรกิจ กล่าวว่า “เราตั้งใจให้ที่นี่ เป็นตลาดกลางกระจายสินค้าของเครือข่ายจากทั่วประเทศ ในราคาเป็นธรรมต่อผู้ซื้อและผู้ผลิต และมีเป้าหมายในการสร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชากลางเมืองหลวง โดยวางแผนจะขยายงานไปที่เชียงใหม่ และบ้านศรีฐาน ยโสธรในอนาคตด้วย”
ส่วนกิจกรรมครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ของนางแววศิริ ฤทธิโยธี เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน โดยมุ่งให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค พร้อมแนะแนวทางการรับรองมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) หรือ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมคือเกษตรกรด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมตรวจสอบ โดยอิงระบบการรับรองตามมาตรฐาน IFOAM : International Federation of Organic Agriculture Movements ซึ่งมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า โดยได้รับเกียรติจาก นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี เข้าร่วมงาน
ครั้งที่ 3 จัดขึ้นบนพื้นที่ 47 ไร่ ที่บ้านโคกสมอ อ.หนองแซง จ.สระบุรี เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 มีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนกสิกรรมวิถีในพื้นที่ของกลุ่มคนหลากหลายอาชีพที่มีแนวคิดเดียวกัน มาร่วมกันพัฒนาพื้นที่เกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชา โดย บอย-พิษณุ นิ่มสกุล หนึ่งในเจ้าของพื้นที่ พร้อมด้วย นายบุญล้อม เต้าแก้ว คณะทำงาน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ให้ข้อมูลว่า การออกแบบพื้นที่เป็นไปตามหลักภูมิสังคม คือตามวัตถุประสงค์และความต้องการของสมาชิก ซึ่งทำให้ได้พบกับบทพิสูจน์ว่า ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหนทางรอดที่แท้จริง จากเหตุการณ์ฝนตกหนักก่อนหน้าวันจัดกิจกรรมเพียง 2 วัน ทำให้พื้นที่โดยรอบโดนน้ำท่วมกันหมด เหลือแต่พื้นที่กิจกรรมที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้เกือบ 1,000 คน และทำกิจกรรมร่วมกันให้สำเร็จลุล่วงไปได้
นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมปั่นจักรยานรณรงค์จาก “ป่าสักโมเดล” ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่จัดตั้งขึ้นในปีที่ 4 ของการดำเนินโครงการ ณ ห้วยกระแทก หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จ.ลพบุรี มายังที่บ้านโคกสมอ จ.สระบุรี รวมระยะทาง 60 กม. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจสู่การเรียนรู้วิถีพอเพียงตามรอยพ่อ โดยมีเครือข่ายนักปั่นสะพานบุญ ชมรมจักรยานทีมรบพิเศษ นักปั่นในพื้นที่ และนักปั่นเชฟรอนอีกรวมทั้งสิ้นกว่า 380 คน
และครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ณ พื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน บนพื้นที่ของนางสาววริศรา จันธี (กานต์) ผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยาน โดยมีนายบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่านเป็นแกนนำ ทำกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายกว่า 320 คน เพื่อสร้างต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่าคนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
“เดิมทีชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ไม่ถูกกัน ผมจึงใช้แนวทางปลูกป่าในใจคน ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยลงพื้นที่เข้าหาอย่างเป็นมิตร และทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ชวนให้ชาวบ้านปลูกข้าวแทนการกู้เงินมาซื้อข้าวกินแทน ซึ่งตอนนี้มีชาวบ้านเข้าอบรมและลงมือทำตามแล้ว 9 คน ยังมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งสมัครใจลงชื่อเข้าอบรมและสนใจพร้อมลงมือทำตามหลายร้อยคน เพราะถ้าทุกคนทำตามศาสตร์พระราชาแล้ว ชาวบ้านก็สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องบุกรุกป่า อุทยานก็จะได้พื้นที่ป่าเพิ่ม” นายบัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เพิ่มเติมได้หลายช่องทาง อาทิ เฟซบุ๊ก: พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking.
ภาพ/ข่าว เชฟรอน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024