วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ที่บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เทศบาลนครสงขลา จัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2561 โดยมีนายราชิต สุดพุ่ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา นางจิ้น ยี่ หลิน รักษาการกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา รองนายกเทศมนตรีนครสงขลา นางกัลยา บุญญามณี ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดศาลาหัวยาง) นายสมชาติ เหลืองสะอาด นางสาวพรพรรณ กิติคุณ ผู้อำนวยการโทรเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) และนางสาวลัดดาวัลย์ วิจิตรจินดา รองผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนราชการ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และประชาชนร่วมงานฯ
สำหรับบรรยากาศภายในงานมีการประดับไฟเพิ่มความสว่างและตกแต่งอย่างสวยงาม โดยมีประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา รวมทั้งนักท่องเที่ยวมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทงที่นำมาลอยจะทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง หยวกกล้วย กลีบดอกไม้ ใบไม้ ขนมปังสีสันสวยงามหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีการแสดงจากชมรมไลน์แดนซ์ และการแสดงดนตรีจากนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) มามอบความสุขให้กับประชาชนที่มาร่วมงานสืบสานประเพณีในวันนี้
วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีความเชื่อว่าเป็นพิธีรับเสด็จพระพุทธองค์กลับลงมาจากสวรรค์หลังเสด็จไปโปรดพุทธมารดา บูชารอยพระพุทธบาท บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บางก็เชื่อว่าบูชาพระอุปคุตเถระ หรือเป็นการบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อ แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณพระแม่คงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่างๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ แม้เวลาจะล่วงเลยมานาน แต่ประเพณีลอยกระทงก็ยังยึดมั่นอยู่กับคนไทย เพราะนอกจากเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยไว้แล้วยังเป็นการระลึกถึงคุณค่าของแม่น้ำ อีกทั้งเป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในแหล่งน้ำต่างๆ พร้อมลอยทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์.
ภาพ/ข่าว กิตติพัฒน์ พรนิมิตมงคล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
May 27, 2025
May 26, 2025
May 25, 2025
May 23, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เทศบาลนครสงขลาจัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2561
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 ที่บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชินี อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เทศบาลนครสงขลา จัดงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2561 โดยมีนายราชิต สุดพุ่ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธีเปิดงานฯ พร้อมด้วย ดร.สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา นางจิ้น ยี่ หลิน รักษาการกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดสงขลา นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา รองนายกเทศมนตรีนครสงขลา นางกัลยา บุญญามณี ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดศาลาหัวยาง) นายสมชาติ เหลืองสะอาด นางสาวพรพรรณ กิติคุณ ผู้อำนวยการโทรเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) และนางสาวลัดดาวัลย์ วิจิตรจินดา รองผู้อำนวยการ หัวหน้าส่วนราชการ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และประชาชนร่วมงานฯ
สำหรับบรรยากาศภายในงานมีการประดับไฟเพิ่มความสว่างและตกแต่งอย่างสวยงาม โดยมีประชาชนในเขตเทศบาลนครสงขลา รวมทั้งนักท่องเที่ยวมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทงที่นำมาลอยจะทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง หยวกกล้วย กลีบดอกไม้ ใบไม้ ขนมปังสีสันสวยงามหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ยังมีการแสดงจากชมรมไลน์แดนซ์ และการแสดงดนตรีจากนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) มามอบความสุขให้กับประชาชนที่มาร่วมงานสืบสานประเพณีในวันนี้
วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีความเชื่อว่าเป็นพิธีรับเสด็จพระพุทธองค์กลับลงมาจากสวรรค์หลังเสด็จไปโปรดพุทธมารดา บูชารอยพระพุทธบาท บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บางก็เชื่อว่าบูชาพระอุปคุตเถระ หรือเป็นการบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อ แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณพระแม่คงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่างๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ แม้เวลาจะล่วงเลยมานาน แต่ประเพณีลอยกระทงก็ยังยึดมั่นอยู่กับคนไทย เพราะนอกจากเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยไว้แล้วยังเป็นการระลึกถึงคุณค่าของแม่น้ำ อีกทั้งเป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในแหล่งน้ำต่างๆ พร้อมลอยทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เชฟรอน-มูลนิธิรักษ์ไทย หนุนสตรีชายแดนใต้แปรรูปผลผลิตท้องถิ่น เสริมแกร่งเสาหลักครอบครัว สร้างรายได้ชุมชนอย่างยั่งยืน
May 27, 2025
โรงไฟฟ้าขนอมร่วมมหกรรมมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 3 หนุนเกษตรอินทรีย์ สร้างระบบอาหารปลอดภัย
May 26, 2025
“สงขลา พร้อม” เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 51 หลังประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการเป็นเจ้าภาพเมื่อปีที่ผ่านมา
May 25, 2025
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำนครศรีธรรมราช ปล่อยกุ้งแชบ๊วย 2.7 ล้านตัว ดันเศรษฐกิจชุมชน-ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
May 23, 2025