วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมด้วย พลโทอำพน ชูประทุม พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ พลเอก ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ และผู้แทนจากคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพลังงานฟอสซิล คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพลังงานทดแทน คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านไฟฟ้า คณะอนุกรรมาธิการด้านกิจการพิเศษ ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะถ่านหินและชีวมวลอัดแท่ง เพื่อรับทราบแผนการดำเนินงาน ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งพบว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงปีละประมาณ 16 ล้านตัน มีกำลังผลิตเครื่องที่ 4-13 รวม 2,400 เมกะวัตต์ เฉลี่ยผลิตไฟฟ้าปีละ 18,000 ล้านหน่วย ขณะนี้กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 4-7 (MMRP1) กำลังผลิต 655 เมกะวัตต์ ตามแผนจะเชื่อมต่อระบบในเดือนพฤศจิกายน 2561 ส่วน MMRP2 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 8-9 ตามแผน PDP2015 ซึ่งมีขนาดกำลังผลิต 513 MW ในปี 2565 โรงไฟฟ้าแม่เมาะจะเหลือกำลังผลิต 1,168 MW โดยเหมืองถ่านหินแม่เมาะ เป็นเหมืองแบบเปิด มีปริมาณสำรองทางธรณีวิทยาราว 1,088 ล้านตัน โดยมีปริมาณความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ 827 ล้านตัน ปัจจุบันขุดขึ้นมาใช้แล้ว 459 ล้านตัน ยังเหลือปริมาณสำรองทางเศรษฐกิจอีกราว 368 ล้านตัน โดยจะนำไปใช้กับ MMRP1 และ MMRP2 ถึงปี 2594 อีก 242 ล้านตัน ทั้งนี้ยังคงต้องเก็บถ่านไว้ค้ำยันพื้นที่ Fossil หอยประมาณ 126 ล้านตัน โดยยังไม่มีแผนที่จะนำขึ้นมาใช้ โดยโรงไฟฟ้าแม่เมาะและเหมืองถ่านหินแม่เมาะ มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ และใช้เทคโนโลยีถ่านหินที่มีความทันสมัยมาใช้ในการดำเนินงาน ส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และลดปริมาณฝุ่นให้อยู่ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด รวมถึงมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 15 สถานี ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบผลคุณภาพอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนโดยรอบบริเวณโครงการ โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อติดตามเฝ้าระวังด้านสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง.
ภาพ/ข่าว ประชาสัมพันธ์ สนช.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สนช. ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า
วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอกสกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมด้วย พลโทอำพน ชูประทุม พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ พลเอก ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ และผู้แทนจากคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพลังงานฟอสซิล คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพลังงานทดแทน คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านไฟฟ้า คณะอนุกรรมาธิการด้านกิจการพิเศษ ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะถ่านหินและชีวมวลอัดแท่ง เพื่อรับทราบแผนการดำเนินงาน ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งพบว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงปีละประมาณ 16 ล้านตัน มีกำลังผลิตเครื่องที่ 4-13 รวม 2,400 เมกะวัตต์ เฉลี่ยผลิตไฟฟ้าปีละ 18,000 ล้านหน่วย ขณะนี้กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 4-7 (MMRP1) กำลังผลิต 655 เมกะวัตต์ ตามแผนจะเชื่อมต่อระบบในเดือนพฤศจิกายน 2561 ส่วน MMRP2 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 8-9 ตามแผน PDP2015 ซึ่งมีขนาดกำลังผลิต 513 MW ในปี 2565 โรงไฟฟ้าแม่เมาะจะเหลือกำลังผลิต 1,168 MW โดยเหมืองถ่านหินแม่เมาะ เป็นเหมืองแบบเปิด มีปริมาณสำรองทางธรณีวิทยาราว 1,088 ล้านตัน โดยมีปริมาณความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ 827 ล้านตัน ปัจจุบันขุดขึ้นมาใช้แล้ว 459 ล้านตัน ยังเหลือปริมาณสำรองทางเศรษฐกิจอีกราว 368 ล้านตัน โดยจะนำไปใช้กับ MMRP1 และ MMRP2 ถึงปี 2594 อีก 242 ล้านตัน ทั้งนี้ยังคงต้องเก็บถ่านไว้ค้ำยันพื้นที่ Fossil หอยประมาณ 126 ล้านตัน โดยยังไม่มีแผนที่จะนำขึ้นมาใช้ โดยโรงไฟฟ้าแม่เมาะและเหมืองถ่านหินแม่เมาะ มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ และใช้เทคโนโลยีถ่านหินที่มีความทันสมัยมาใช้ในการดำเนินงาน ส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และลดปริมาณฝุ่นให้อยู่ภายใต้มาตรฐานที่กำหนด รวมถึงมีการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 15 สถานี ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบผลคุณภาพอากาศได้ตลอด 24 ชั่วโมง และส่งเสริมสุขภาพของชุมชนโดยรอบบริเวณโครงการ โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อติดตามเฝ้าระวังด้านสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง.
ภาพ/ข่าว ประชาสัมพันธ์ สนช.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024