อาจารย์ มรภ.สงขลา ส่ง 2 ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย “โลมาสีน้ำเงิน-โกงกาง” บอกเล่าความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเมืองกระบี่ โชว์งานมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก ไทยแลนด์ เบียนนาเล่
นางสาวจุฑารัตน์ บุตรเผียน อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ กระบี่ 2018 ณ หาดนพรัตน์ธารา จ.กระบี่ ซึ่งผลงานประติมากรรมร่วมสมัยของตนที่มีชื่อว่า “โลมาสีน้ำเงิน” และ “โกงกาง” ได้รับเลือกให้จัดแสดงในครั้งนี้ด้วย โดยผลงานโลมาสีน้ำเงินที่ติดตั้ง ณ ศาลาท่าเรือสวนสาธารณธารา จ.กระบี่ เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความอบอุ่น และความอุดสมบูรณ์ ความสวยงามของโครงสร้างแสดงถึงลักษณะความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันของวิถีชีวิต ส่วนผลงานโกงกางมีแนวความคิดว่าป่าโกงกางคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่น บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของเมืองกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตมากมายอาศัยอยู่ร่วมกันและเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ ตนจึงต้องการนำเสนอโครงสร้างความสวยงามของต้นโกงกางผสมผสานกับรูปทรงปลา ที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์โครงสร้างความสัมพันธ์ความงามแห่งชีวิต
นางสาวจุฑารัตน์ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยในเวทีระดับโลก ในเทศกาลศิลปะนานาชาติที่มีความเก่าแก่และยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งเป็นเทศกาลศิลปะที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนางานศิลปะร่วมสมัยของโลก และครั้งนี้ก็จัดขึ้นที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ จ.กระบี่ ภายใต้แนวคิด Ede of the Wonderland “สุดขอบฟ้าแห่งแดนมหัศจรรย์” ตนมีความยินดีและภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นในหนึ่งในศิลปินไทย ศิลปินท้องถิ่น และเป็นตัวแทนของหน่วยงานการศึกษาที่มีคณะศิลปกรรมศาสตร์ และเกี่ยวข้องกับงานประติมากรรม ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานสร้างชื่อเสียงให้กับทางคณะฯ และมหาวิทยาลัย รวมถึงสร้างชื่อเสียงและผลงานให้กับประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกที่เข้าชมงานตลอดระยะเวลา 4 เดือน
อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาศิลปกรรม มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ในส่วนของโครงการถนนประติมากรรมจากพื้นถิ่นสู่นานานาชาติ ประกอบไปด้วยศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานทั้งหมด 14 ท่าน ประกอบด้วยกลุ่มศิลปินท้องถิ่นและศิลปินจากมหาวิทยาลัย ซึ่งมีผลงานประติมากรรมจำนวน 22 ผลงาน ถูกจัดวางในพื้นที่กลางแจ้งตามจุดต่างๆ ถือเป็นการนำศิลปะมาช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและผู้คนทั่วไป โดยมีความโดดเด่นของธรรมชาติและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ความร่วมสมัย นอกจากนั้น ในฐานะที่ตนมีถิ่นฐานเป็นคนกระบี่ ไม่มีสิ่งไหนน่ายินดีเท่ากับการได้พัฒนาศักยภาพ และมีส่วนร่วมในความภาคภูมิใจที่ได้เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ในการร่วมแสดงศิลปะที่หาชมได้ยากในครั้งนี้.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สุดเจ๋ง อาจารย์ มรภ.สงขลา ส่ง 2 ผลงาน “โลมาสีน้ำเงิน-โกงกาง” จัดแสดงมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก
อาจารย์ มรภ.สงขลา ส่ง 2 ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย “โลมาสีน้ำเงิน-โกงกาง” บอกเล่าความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเมืองกระบี่ โชว์งานมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก ไทยแลนด์ เบียนนาเล่
นางสาวจุฑารัตน์ บุตรเผียน อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้เข้าร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก ไทยแลนด์ เบียนนาเล่ กระบี่ 2018 ณ หาดนพรัตน์ธารา จ.กระบี่ ซึ่งผลงานประติมากรรมร่วมสมัยของตนที่มีชื่อว่า “โลมาสีน้ำเงิน” และ “โกงกาง” ได้รับเลือกให้จัดแสดงในครั้งนี้ด้วย โดยผลงานโลมาสีน้ำเงินที่ติดตั้ง ณ ศาลาท่าเรือสวนสาธารณธารา จ.กระบี่ เป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความอบอุ่น และความอุดสมบูรณ์ ความสวยงามของโครงสร้างแสดงถึงลักษณะความสัมพันธ์ของการอยู่ร่วมกันของวิถีชีวิต ส่วนผลงานโกงกางมีแนวความคิดว่าป่าโกงกางคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่น บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติของเมืองกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตมากมายอาศัยอยู่ร่วมกันและเป็นแหล่งที่อยู่ของสัตว์น้ำ ตนจึงต้องการนำเสนอโครงสร้างความสวยงามของต้นโกงกางผสมผสานกับรูปทรงปลา ที่แสดงออกถึงสัญลักษณ์โครงสร้างความสัมพันธ์ความงามแห่งชีวิต
นางสาวจุฑารัตน์ กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยในเวทีระดับโลก ในเทศกาลศิลปะนานาชาติที่มีความเก่าแก่และยิ่งใหญ่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งเป็นเทศกาลศิลปะที่มีความสำคัญมากต่อการพัฒนางานศิลปะร่วมสมัยของโลก และครั้งนี้ก็จัดขึ้นที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ จ.กระบี่ ภายใต้แนวคิด Ede of the Wonderland “สุดขอบฟ้าแห่งแดนมหัศจรรย์” ตนมีความยินดีและภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นในหนึ่งในศิลปินไทย ศิลปินท้องถิ่น และเป็นตัวแทนของหน่วยงานการศึกษาที่มีคณะศิลปกรรมศาสตร์ และเกี่ยวข้องกับงานประติมากรรม ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานสร้างชื่อเสียงให้กับทางคณะฯ และมหาวิทยาลัย รวมถึงสร้างชื่อเสียงและผลงานให้กับประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกที่เข้าชมงานตลอดระยะเวลา 4 เดือน
อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาศิลปกรรม มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า ในส่วนของโครงการถนนประติมากรรมจากพื้นถิ่นสู่นานานาชาติ ประกอบไปด้วยศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานทั้งหมด 14 ท่าน ประกอบด้วยกลุ่มศิลปินท้องถิ่นและศิลปินจากมหาวิทยาลัย ซึ่งมีผลงานประติมากรรมจำนวน 22 ผลงาน ถูกจัดวางในพื้นที่กลางแจ้งตามจุดต่างๆ ถือเป็นการนำศิลปะมาช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวและผู้คนทั่วไป โดยมีความโดดเด่นของธรรมชาติและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ความร่วมสมัย นอกจากนั้น ในฐานะที่ตนมีถิ่นฐานเป็นคนกระบี่ ไม่มีสิ่งไหนน่ายินดีเท่ากับการได้พัฒนาศักยภาพ และมีส่วนร่วมในความภาคภูมิใจที่ได้เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์ในการร่วมแสดงศิลปะที่หาชมได้ยากในครั้งนี้.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024