มรภ.สงขลา เปิดบ้านต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมคณะ หารือจัดการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน พร้อมเยี่ยมชมการเรียนการสอนด้านศิลปะนักศึกษาพิเศษ เผยต้นปี 62 เตรียมผนึกความร่วมมือจัดอบรมครูอาจารย์กลุ่มภาคใต้
ผศ.ดร.โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นางสุเพียงพิชญ์ พรฤกษ์งาม และ นางปรียวรรณ สาครเย็น ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมด้วย นางนาถฤดี ตัณฑวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา สถานสอนภาษาเอยูเอ เดินทางมาเยี่ยมชมสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา และพบปะพูดคุยกับคณะผู้บริหาร นำโดย ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร รองอธิการบดี ดร.มนตรี เด่นดวง คณบดีคณะครุศาสตร์ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน ตลอดจนหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาคนหูหนวกในประเทศไทย
ผศ.ดร.โสภณ กล่าวว่า จากการพูดคุยร่วมกันได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าช่วงประมาณต้นปี 2562 ทางสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยและสถานสอนภาษาเอยูเอ จะร่วมกับ มรภ.สงขลา ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูอาจารย์ด้านการศึกษาพิเศษในโรงเรียนกลุ่มภาคใต้ทั้งหมด และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราว 100 คน โดยมีวิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะหารือในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง นอกจากนั้น คณะผู้ศึกษาดูงานยังได้เข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนในรายวิชาศิลปะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ที่มีนักศึกษาพิเศษผู้มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินเรียนอยู่ด้วย ซึ่งนักศึกษาพิเศษได้สกรีนเสื้อรูปหนูและแมว สัญลักษณ์ประจำ จ.สงขลา มอบให้คณะผู้ศึกษาดูงานเป็นที่ระลึกด้วย.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สถานทูตอเมริกา ดูงานการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา เตรียมผนึกความร่วมมือจัดอบรม ครู ร.ร. กลุ่มภาคใต้
มรภ.สงขลา เปิดบ้านต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมคณะ หารือจัดการศึกษาสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน พร้อมเยี่ยมชมการเรียนการสอนด้านศิลปะนักศึกษาพิเศษ เผยต้นปี 62 เตรียมผนึกความร่วมมือจัดอบรมครูอาจารย์กลุ่มภาคใต้
ผศ.ดร.โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นางสุเพียงพิชญ์ พรฤกษ์งาม และ นางปรียวรรณ สาครเย็น ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม สถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย พร้อมด้วย นางนาถฤดี ตัณฑวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา สถานสอนภาษาเอยูเอ เดินทางมาเยี่ยมชมสถาบันพัฒนาการศึกษาพิเศษ มรภ.สงขลา และพบปะพูดคุยกับคณะผู้บริหาร นำโดย ดร.พิพัฒน์ ลิมปนะพิทยาธร รองอธิการบดี ดร.มนตรี เด่นดวง คณบดีคณะครุศาสตร์ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีภาวะบกพร่องทางการได้ยิน ตลอดจนหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาคนหูหนวกในประเทศไทย
ผศ.ดร.โสภณ กล่าวว่า จากการพูดคุยร่วมกันได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าช่วงประมาณต้นปี 2562 ทางสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยและสถานสอนภาษาเอยูเอ จะร่วมกับ มรภ.สงขลา ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูอาจารย์ด้านการศึกษาพิเศษในโรงเรียนกลุ่มภาคใต้ทั้งหมด และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราว 100 คน โดยมีวิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยควบคู่กันไปด้วย ซึ่งจะหารือในรายละเอียดร่วมกันอีกครั้ง นอกจากนั้น คณะผู้ศึกษาดูงานยังได้เข้าเยี่ยมชมการเรียนการสอนในรายวิชาศิลปะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา ที่มีนักศึกษาพิเศษผู้มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินเรียนอยู่ด้วย ซึ่งนักศึกษาพิเศษได้สกรีนเสื้อรูปหนูและแมว สัญลักษณ์ประจำ จ.สงขลา มอบให้คณะผู้ศึกษาดูงานเป็นที่ระลึกด้วย.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024