วันที่ 19 ตุลาคม 2561 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง รับหนังสือจากสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ นำโดย นายเมธา สุวรรณสาร นายกสมาคม เพื่อเสนอความเห็นต่อร่างกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. และร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. และจากสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ นำโดย นายวีระ รัตนแสงเสถียร ประธานสมาคม เพื่อเสนอความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และอยู่ระหว่างเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากพบว่ายังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงในร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หลายมาตรา หากมีการประกาศบังคับใช้โดยไม่ได้มีการพิจารณาผลกระทบอย่างรอบคอบและรอบด้านอาจทำให้เกิดการประท้วงจากผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือประชาชนที่ไม่เห็นด้วย โดยขอให้มีการพิจารณาปรับแก้ไข อาทิ ไม่มีธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรงและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ อำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติมีมากเกินไปจนเข้าข่ายการผูกขาดรวบอำนาจการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ของประเทศทั้งหมดมารวมที่หน่วยงานเดียว อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการมีมากเกินไปสามารถที่จะสั่งการหน่วยงานราชการหน่วยงานความมั่นคงหน่วยงานของรัฐและเอกชนรวมทั้งประชาชน อีกทั้งขอให้เพิ่มรายละเอียดของความหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์ว่าจะใช้มาตรฐานหรือเกณฑ์ใด
สำหรับร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น พบว่ามีประเด็นน่าเป็นห่วงหลายมาตราเช่นเดียวกัน อาทิ ไม่มีธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรงและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีลักษณะผูกขาดรวบอำนาจทุกอย่างที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การส่งเสริมและสนับสนุนการเสนอกฎหมาย การให้คำปรึกษาและการบังคับใช้กฎหมายเป็นการขัดหลักธรรมาภิบาลอย่างแรง สำนักงานฯ มีอำนาจมากครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถที่จะแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ และไม่มีกลไกการตรวจสอบความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาปรับแก้ไข ยังไม่ได้ส่งมาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างไรก็ตามจะรับความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากฎหมายต่อไป.
ภาพ/ข่าว ประชาสัมพันธ์ สนช.
พินิจ ชูแสง สื่อภูมิภาค สนช. /สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สนช. รับหนังสือจากสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ
วันที่ 19 ตุลาคม 2561 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง รับหนังสือจากสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ นำโดย นายเมธา สุวรรณสาร นายกสมาคม เพื่อเสนอความเห็นต่อร่างกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. และร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. และจากสมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ นำโดย นายวีระ รัตนแสงเสถียร ประธานสมาคม เพื่อเสนอความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และอยู่ระหว่างเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากพบว่ายังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงในร่าง พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หลายมาตรา หากมีการประกาศบังคับใช้โดยไม่ได้มีการพิจารณาผลกระทบอย่างรอบคอบและรอบด้านอาจทำให้เกิดการประท้วงจากผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือประชาชนที่ไม่เห็นด้วย โดยขอให้มีการพิจารณาปรับแก้ไข อาทิ ไม่มีธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรงและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ อำนาจและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติมีมากเกินไปจนเข้าข่ายการผูกขาดรวบอำนาจการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ของประเทศทั้งหมดมารวมที่หน่วยงานเดียว อำนาจหน้าที่ของเลขาธิการมีมากเกินไปสามารถที่จะสั่งการหน่วยงานราชการหน่วยงานความมั่นคงหน่วยงานของรัฐและเอกชนรวมทั้งประชาชน อีกทั้งขอให้เพิ่มรายละเอียดของความหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หรือภัยคุกคามทางไซเบอร์ว่าจะใช้มาตรฐานหรือเกณฑ์ใด
สำหรับร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น พบว่ามีประเด็นน่าเป็นห่วงหลายมาตราเช่นเดียวกัน อาทิ ไม่มีธรรมาภิบาลอย่างร้ายแรงและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีลักษณะผูกขาดรวบอำนาจทุกอย่างที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การส่งเสริมและสนับสนุนการเสนอกฎหมาย การให้คำปรึกษาและการบังคับใช้กฎหมายเป็นการขัดหลักธรรมาภิบาลอย่างแรง สำนักงานฯ มีอำนาจมากครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่สามารถที่จะแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ และไม่มีกลไกการตรวจสอบความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง กล่าวว่า ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาปรับแก้ไข ยังไม่ได้ส่งมาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างไรก็ตามจะรับความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากฎหมายต่อไป.
ภาพ/ข่าว ประชาสัมพันธ์ สนช.
พินิจ ชูแสง สื่อภูมิภาค สนช. /สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024