คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา พาชมห้องเรียนเกษตรเพื่อชุมชน โชว์พืชผักปลอดสารพิษหลากชนิด ผลิตผลอาจารย์-นักศึกษา แปลงความรู้สู่ท้องถิ่น
เมื่อไม่นานมานี้ อ.ธัชวีร์ ขวัญแก้ว โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำทีมงานประชาสัมพันธ์ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงพืชผักปลอดสารพิษผลงานอาจารย์และนักศึกษาในคณะฯ พร้อมทั้งให้ข้อมูลว่า กว่าจะเติบโตงอกงามอย่างที่เห็นไม่ใช่เรื่องง่าย นักศึกษาต้องเรียนรู้ทฤษฎีจากสถานีปฏิบัติการ โดยมีอาจารย์ผู้มีความรู้ในศาสตร์แต่ละแขนงคอยถ่ายทอดวิธีการและให้คำข้อแนะนำ จนกลายเป็นผลิตผลที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คณะฯ และได้รับเสียงชื่นชมจากหลายฝ่ายในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญ ทางคณาจารย์ได้ออกพื้นที่บริการวิชาการด้านเกษตรให้แก่คนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้และขอรับคำแนะนำในการปลูกพืชผักให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ในการลงพื้นที่เยี่ยมชมผลงานคณะเทคโนโลยีการเกษตรในครั้งนี้ อ.ธัชวีร์ ในฐานะอาจารย์ประจำสถานีปฏิบัติการพืชไร่ จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดต่างๆ อาทิ ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง มันญี่ปุ่น โดยเน้นให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้กระบวนการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจสำคัญ ส่วนสถานีทดลองแปลงสาธิตมี ดร.ศุภัครชา อภิรติกร ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านสรีรวิทยาพืชยืนต้น คอยแนะนำการปลูกฝรั่ง การปลูกมะนาววงบ่อคู่พริก ขณะที่สถานีปฏิบัติการพืชสวนมี ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม อาจารย์สาขาวิชาพืชสวน เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปลูกเมล่อนและแตงโมอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ การดูแลและเก็บเกี่ยว ซึ่งนักศึกษาได้ฝึกทักษะและพัฒนาความรู้ตามสาขาวิชา
“การดูแลรักษาเหมือนพืชไร่ที่ส่วนใหญ่เป็นพืชเชิงเดี่ยว ใช้เมล็ดพืชปลูกโดยตรง ดูแลรักษาไม่ยาก อย่างข้าวโพดใช้เวลาในการเติบโตประมาณ 70-75 วัน ไหมจะเปลี่ยนเป็นสีดำ สามารถเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งหากต้องการปลูกเพื่อจำหน่ายก็ต้องหาตลาดรองรับ และคำนวณช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้พอดี เท่าที่ทราบประเทศมาเลเซียสนใจข้าวโพดจากไทยมาก แต่ต้องมีผลผลิตที่เพียงพอและต่อเนื่อง หรืออาจนำไปแปรรูปเป็นน้ำข้าวโพดซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ นอกจากนั้น ถั่วลิสง มันญี่ปุ่น เป็นพืชที่อยากแนะนำให้เกษตรกรทดลองปลูก เพราะปลูกง่าย ผลผลิตคุณภาพดี ดูแลรักษาง่าย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาศัตรูพืช อยากส่งเสริมให้ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ หรืออีกแบบคือเกษตรปลอดภัย ใช้ปุ๋ยเคมีได้แต่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง” อ.ธัชวีร์ กล่าว
ด้าน ดร.ศุภัครชา ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาพืชยืนต้น กล่าวบ้างว่า พืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ มะเขือม่วง ซึ่งค่อนข้างทนต่อโรคและแมลง ใช้เวลา 3-4 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ทั้งยังเป็นที่นิยมของตลาด เนื่องจากมีสีสันสวยงาม หรืออาจปลูกมะนาวร่วมกับพริก เพื่อเสริมรายได้ระยะที่มะนาวยังไม่ออกผล ซึ่งมะนาวที่มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ให้ผลผลิตแตกต่างกัน บางชนิดลูกเล็กแต่เปรี้ยว เหมาะสำหรับนำไปทำอาหารจำพวกลาบ
ขณะที่ ผศ.ดร.คริษฐ์สพล อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชสวน กล่าวถึงงานวิจัยทดสอบพันธุ์เมล่อนว่า ดำเนินการปลูกใน 2 รูปแบบ คือปลูกในที่โล่งกับโรงเรือน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสายพันธุ์ สิ่งสำคัญของการปลูกเมล่อนคือต้องหมั่นเด็ดแขนงทิ้ง และให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติหวานอร่อย นอกจากนั้น ยังมีการปลูกมะเขือเทศเชอรี่ โดยทดลองใช้ฮอร์โมนเพื่อยืดช่อดอกและขยายขนาดผล นอกจากจะได้ผลผลิตตามความต้องการแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่ทางคณะฯ จะต้องเร่งพัฒนาผลงานวิจัยต่อไป เพื่อช่วยยกระดับสินค้าของเกษตรกรในท้องถิ่นไปสู่ตลาดโลก
ปิดท้ายด้วย นายณัฐภพ เส้งสีแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เจ้าของผลงานปลูกแตงโม กล่าวว่า แตงโมเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ตลาดต้องการมาก ใช้เวลาในการปลูกไม่นานประมาณ 65-75 วันก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว ซึ่งการได้ฝึกปฏิบัติจริงทำให้ตนและเพื่อนๆ เกิดความเชี่ยวชาญจนนำกลับไปปลูกเองได้ที่บ้าน และสามารถให้คำแนะแนะนำคนที่สนใจจะปลูกพืชเหล่านี้ได้อีกด้วย
ที่สำคัญ การเรียนทางด้านเกษตรไม่จำเป็นต้องประกอบอาชีพเกษตรกรเพียงอย่างเดียว แม้จะทำอาชีพอื่นก็สามารถใช้ความรู้ที่มีสร้างรายได้เสริม หรือปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ไว้รับประทานในครัวเรือน มีความเป็นอยู่ที่พอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เปิดห้องเรียน ‘เกษตร’ เพื่อชุมชน มรภ.สงขลา พาชมพืชผักปลอดสาร ผลงานอาจารย์-นศ.
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มรภ.สงขลา พาชมห้องเรียนเกษตรเพื่อชุมชน โชว์พืชผักปลอดสารพิษหลากชนิด ผลิตผลอาจารย์-นักศึกษา แปลงความรู้สู่ท้องถิ่น
เมื่อไม่นานมานี้ อ.ธัชวีร์ ขวัญแก้ว โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) นำทีมงานประชาสัมพันธ์ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงพืชผักปลอดสารพิษผลงานอาจารย์และนักศึกษาในคณะฯ พร้อมทั้งให้ข้อมูลว่า กว่าจะเติบโตงอกงามอย่างที่เห็นไม่ใช่เรื่องง่าย นักศึกษาต้องเรียนรู้ทฤษฎีจากสถานีปฏิบัติการ โดยมีอาจารย์ผู้มีความรู้ในศาสตร์แต่ละแขนงคอยถ่ายทอดวิธีการและให้คำข้อแนะนำ จนกลายเป็นผลิตผลที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คณะฯ และได้รับเสียงชื่นชมจากหลายฝ่ายในมหาวิทยาลัย ที่สำคัญ ทางคณาจารย์ได้ออกพื้นที่บริการวิชาการด้านเกษตรให้แก่คนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้และขอรับคำแนะนำในการปลูกพืชผักให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ในการลงพื้นที่เยี่ยมชมผลงานคณะเทคโนโลยีการเกษตรในครั้งนี้ อ.ธัชวีร์ ในฐานะอาจารย์ประจำสถานีปฏิบัติการพืชไร่ จะเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกพืชชนิดต่างๆ อาทิ ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง มันญี่ปุ่น โดยเน้นให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้กระบวนการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจสำคัญ ส่วนสถานีทดลองแปลงสาธิตมี ดร.ศุภัครชา อภิรติกร ซึ่งเป็นอาจารย์ทางด้านสรีรวิทยาพืชยืนต้น คอยแนะนำการปลูกฝรั่ง การปลูกมะนาววงบ่อคู่พริก ขณะที่สถานีปฏิบัติการพืชสวนมี ผศ.ดร.คริษฐ์สพล หนูพรหม อาจารย์สาขาวิชาพืชสวน เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีปลูกเมล่อนและแตงโมอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ การดูแลและเก็บเกี่ยว ซึ่งนักศึกษาได้ฝึกทักษะและพัฒนาความรู้ตามสาขาวิชา
“การดูแลรักษาเหมือนพืชไร่ที่ส่วนใหญ่เป็นพืชเชิงเดี่ยว ใช้เมล็ดพืชปลูกโดยตรง ดูแลรักษาไม่ยาก อย่างข้าวโพดใช้เวลาในการเติบโตประมาณ 70-75 วัน ไหมจะเปลี่ยนเป็นสีดำ สามารถเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งหากต้องการปลูกเพื่อจำหน่ายก็ต้องหาตลาดรองรับ และคำนวณช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้พอดี เท่าที่ทราบประเทศมาเลเซียสนใจข้าวโพดจากไทยมาก แต่ต้องมีผลผลิตที่เพียงพอและต่อเนื่อง หรืออาจนำไปแปรรูปเป็นน้ำข้าวโพดซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ นอกจากนั้น ถั่วลิสง มันญี่ปุ่น เป็นพืชที่อยากแนะนำให้เกษตรกรทดลองปลูก เพราะปลูกง่าย ผลผลิตคุณภาพดี ดูแลรักษาง่าย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาศัตรูพืช อยากส่งเสริมให้ใช้ระบบเกษตรอินทรีย์ หรืออีกแบบคือเกษตรปลอดภัย ใช้ปุ๋ยเคมีได้แต่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง” อ.ธัชวีร์ กล่าว
ด้าน ดร.ศุภัครชา ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรวิทยาพืชยืนต้น กล่าวบ้างว่า พืชอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ มะเขือม่วง ซึ่งค่อนข้างทนต่อโรคและแมลง ใช้เวลา 3-4 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว ทั้งยังเป็นที่นิยมของตลาด เนื่องจากมีสีสันสวยงาม หรืออาจปลูกมะนาวร่วมกับพริก เพื่อเสริมรายได้ระยะที่มะนาวยังไม่ออกผล ซึ่งมะนาวที่มีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ให้ผลผลิตแตกต่างกัน บางชนิดลูกเล็กแต่เปรี้ยว เหมาะสำหรับนำไปทำอาหารจำพวกลาบ
ขณะที่ ผศ.ดร.คริษฐ์สพล อาจารย์ประจำสาขาวิชาพืชสวน กล่าวถึงงานวิจัยทดสอบพันธุ์เมล่อนว่า ดำเนินการปลูกใน 2 รูปแบบ คือปลูกในที่โล่งกับโรงเรือน เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของสายพันธุ์ สิ่งสำคัญของการปลูกเมล่อนคือต้องหมั่นเด็ดแขนงทิ้ง และให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีรสชาติหวานอร่อย นอกจากนั้น ยังมีการปลูกมะเขือเทศเชอรี่ โดยทดลองใช้ฮอร์โมนเพื่อยืดช่อดอกและขยายขนาดผล นอกจากจะได้ผลผลิตตามความต้องการแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกรอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่ทางคณะฯ จะต้องเร่งพัฒนาผลงานวิจัยต่อไป เพื่อช่วยยกระดับสินค้าของเกษตรกรในท้องถิ่นไปสู่ตลาดโลก
ปิดท้ายด้วย นายณัฐภพ เส้งสีแดง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เจ้าของผลงานปลูกแตงโม กล่าวว่า แตงโมเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ตลาดต้องการมาก ใช้เวลาในการปลูกไม่นานประมาณ 65-75 วันก็เก็บเกี่ยวได้แล้ว ซึ่งการได้ฝึกปฏิบัติจริงทำให้ตนและเพื่อนๆ เกิดความเชี่ยวชาญจนนำกลับไปปลูกเองได้ที่บ้าน และสามารถให้คำแนะแนะนำคนที่สนใจจะปลูกพืชเหล่านี้ได้อีกด้วย
ที่สำคัญ การเรียนทางด้านเกษตรไม่จำเป็นต้องประกอบอาชีพเกษตรกรเพียงอย่างเดียว แม้จะทำอาชีพอื่นก็สามารถใช้ความรู้ที่มีสร้างรายได้เสริม หรือปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ไว้รับประทานในครัวเรือน มีความเป็นอยู่ที่พอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024