ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ติวเข้มเสริมความรู้ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา โดยใช้ Phonics and Whole Language เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทางวิชาการและเพิ่มศักยภาพ
เมื่อวันที่ 21-23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นประธานในการเปิดโครงการฝึกปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา โดยใช้ Phonics and Whole Language” ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดย อาจารย์จิรวรรณ นาคสีทอง ผู้อำนวยการศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวว่า ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล (International language) นับว่าเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่งที่คนไทยเป็นจำนวนมากคุ้นเคย ในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีโอกาส “สัมผัส” กับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ซึ่งการ มีความสัมพันธ์กับทักษะในการเรียนภาษาอังกฤษทุกทักษะไม่ว่าจะเป็น ฟัง พูด อ่าน เขียน และสะกดคำ ซึ่งเมื่อผู้เรียนแยกแยะหน่วยเสียงเป็นจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเวลาฟังเจ้าของภาษาพูด ทำให้สามารถพูดโต้ตอบได้ เมื่อผู้เรียนพบคำใหม่ก็ใช้หลักแยกแยะหน่วยเสียงอ่านได้ เมื่อผู้เรียนอ่านได้ ก็จะสามารถเขียนคำตามที่อ่านได้ นอกจากนี้ ผลการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กปฐมวัยในประเทศอังกฤษ ระบุว่า เด็กที่เรียนรู้ด้วยหลักสูตรโฟนิคส์สามารถอ่านและผสมตัวอักษรได้ดีกว่าเด็กที่เรียนหลักสูตรธรรมดาอย่างชัดเจน อีกทั้งการเรียนอ่านเขียนแบบโฟนิคส์ยังเสริมสร้างและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเด็กให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากกว่าการเรียนแบบทั่วไป
อาจารย์จิรวรรณ ยังกล่าวอีกว่า ทางศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนรวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทางศูนย์ภาษาจึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว และต้องการให้ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา ได้พัฒนาศักยภาพโดย การใช้ Phonics and Whole Language ในการพัฒนาศักยภาพการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้รับการพัฒนา และปรับปรุงการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น มีความเข้าใจเรื่องโฟนิคส์และ Whole Language สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดและพัฒนาผู้เรียนของตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรครูของประเทศชาติให้มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น.
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ศูนย์ภาษา มรภ.สงขลา พัฒนาศักยภาพครูสอนภาษาอังกฤษ
ศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ติวเข้มเสริมความรู้ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา โดยใช้ Phonics and Whole Language เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งทางวิชาการและเพิ่มศักยภาพ
เมื่อวันที่ 21-23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นประธานในการเปิดโครงการฝึกปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา โดยใช้ Phonics and Whole Language” ณ อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดย อาจารย์จิรวรรณ นาคสีทอง ผู้อำนวยการศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กล่าวว่า ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล (International language) นับว่าเป็นภาษาอีกภาษาหนึ่งที่คนไทยเป็นจำนวนมากคุ้นเคย ในปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มีโอกาส “สัมผัส” กับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ซึ่งการ มีความสัมพันธ์กับทักษะในการเรียนภาษาอังกฤษทุกทักษะไม่ว่าจะเป็น ฟัง พูด อ่าน เขียน และสะกดคำ ซึ่งเมื่อผู้เรียนแยกแยะหน่วยเสียงเป็นจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเวลาฟังเจ้าของภาษาพูด ทำให้สามารถพูดโต้ตอบได้ เมื่อผู้เรียนพบคำใหม่ก็ใช้หลักแยกแยะหน่วยเสียงอ่านได้ เมื่อผู้เรียนอ่านได้ ก็จะสามารถเขียนคำตามที่อ่านได้ นอกจากนี้ ผลการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเด็กปฐมวัยในประเทศอังกฤษ ระบุว่า เด็กที่เรียนรู้ด้วยหลักสูตรโฟนิคส์สามารถอ่านและผสมตัวอักษรได้ดีกว่าเด็กที่เรียนหลักสูตรธรรมดาอย่างชัดเจน อีกทั้งการเรียนอ่านเขียนแบบโฟนิคส์ยังเสริมสร้างและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเด็กให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากกว่าการเรียนแบบทั่วไป
อาจารย์จิรวรรณ ยังกล่าวอีกว่า ทางศูนย์ภาษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนรวมถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทางศูนย์ภาษาจึงเล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว และต้องการให้ครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา ได้พัฒนาศักยภาพโดย การใช้ Phonics and Whole Language ในการพัฒนาศักยภาพการสอนภาษาอังกฤษสำหรับครูสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษาในจังหวัดสงขลา เพื่อให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษได้รับการพัฒนา และปรับปรุงการออกเสียงภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น มีความเข้าใจเรื่องโฟนิคส์และ Whole Language สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดและพัฒนาผู้เรียนของตนเองได้ ทั้งนี้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการและเพิ่มศักยภาพให้กับบุคลากรครูของประเทศชาติให้มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
There is no related posts.