วันที่ 28 กันยายน 2561 ที่หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคสตูล จ.สตูล นายนิตย์ พรหมประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เป็นประธานเปิดการประชุมสร้างการรับรู้และขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสตูล เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่โรงเรียนต้นแบบเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล เข้าร่วมจำนวน 700 คน
การจัดประชุมในวันนี้เป็นการสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นในแนวทางการขับเคลื่อน/การสนับสนุน/การดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ให้ประสบผลสำเร็จ โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ และทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดรปัทมาวดี โพชนุกูล จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นางธัญญา แก้วเกิด ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองในโรงเรียนต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้เสนอข้อคิดเห็นและความคาดหวังในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนตนเอง
สำหรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ได้กำหนดโรงเรียนต้นแบบ ทั้งหมด 10 โรงเรียน คือ โรงเรียนอนุบาลสตูล โรงเรียนวัดหน้าเมือง โรงเรียนบ้านเขาจีน โรงเรียนบ้านโกตา โรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์ 2550 โรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูก โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดำ โรงเรียนบ้านทางงอ โรงเรียนบ้านควนเก และโรงเรียนอนุบาลมะนัง ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนทีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามศักยภาพ ตามบริบทของพื้นที่ และสนองความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง โดยมีหลักสูตรภูมิสังคม มีการจัดการเรียนที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สอนนักเรียนให้รู้จักแสวงหาความรู้ มีทักษะคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์และเชื่อมโยงได้ มีความผูกพันกับท้องถิ่นและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน โดยมีทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีมโหนดจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล สถาบันอาศรมศีล และหน่วยงานภาคีอื่นๆ เข้ามาร่วมช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่เป็นแบบอย่าง ตอบสนองแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย
จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสตูล เพื่อนำร่องการปฏิรูปการศึกษา หรือเป็น “โมเดล” แก่พื้นที่อื่นๆ ในประเทศต่อไป เป้าหมายหลักสำคัญ 4 ประการ คือ 1)พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เหมาะสมกับศักยภาพ บริบทพื้นที่ และความต้องการของประเทศ สอดคล้องกับทักษะศตวรรษที่ 21 2)ลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา 3)พัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด 4)ส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา.
ภาพ/ข่าว สพป.สตูล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
May 3, 2025
May 1, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
สพป.สตูล สานพลังขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล
วันที่ 28 กันยายน 2561 ที่หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคสตูล จ.สตูล นายนิตย์ พรหมประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เป็นประธานเปิดการประชุมสร้างการรับรู้และขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสตูล เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูลให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่โรงเรียนต้นแบบเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล เข้าร่วมจำนวน 700 คน
การจัดประชุมในวันนี้เป็นการสร้างความเข้าใจและความเชื่อมั่นในแนวทางการขับเคลื่อน/การสนับสนุน/การดำเนินงานของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ให้ประสบผลสำเร็จ โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ และทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดรปัทมาวดี โพชนุกูล จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นางธัญญา แก้วเกิด ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้นำท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองในโรงเรียนต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้เสนอข้อคิดเห็นและความคาดหวังในการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนตนเอง
สำหรับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล ได้กำหนดโรงเรียนต้นแบบ ทั้งหมด 10 โรงเรียน คือ โรงเรียนอนุบาลสตูล โรงเรียนวัดหน้าเมือง โรงเรียนบ้านเขาจีน โรงเรียนบ้านโกตา โรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมภ์ 2550 โรงเรียนบ้านบ่อเจ็ดลูก โรงเรียนบ้านห้วยน้ำดำ โรงเรียนบ้านทางงอ โรงเรียนบ้านควนเก และโรงเรียนอนุบาลมะนัง ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนทีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามศักยภาพ ตามบริบทของพื้นที่ และสนองความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง โดยมีหลักสูตรภูมิสังคม มีการจัดการเรียนที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน สอนนักเรียนให้รู้จักแสวงหาความรู้ มีทักษะคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดสร้างสรรค์และเชื่อมโยงได้ มีความผูกพันกับท้องถิ่นและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน โดยมีทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีมโหนดจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตสตูล สถาบันอาศรมศีล และหน่วยงานภาคีอื่นๆ เข้ามาร่วมช่วยเหลือด้านวิชาการ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่เป็นแบบอย่าง ตอบสนองแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย
จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นพื้นที่นำร่องนวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดสตูล เพื่อนำร่องการปฏิรูปการศึกษา หรือเป็น “โมเดล” แก่พื้นที่อื่นๆ ในประเทศต่อไป เป้าหมายหลักสำคัญ 4 ประการ คือ 1)พัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เหมาะสมกับศักยภาพ บริบทพื้นที่ และความต้องการของประเทศ สอดคล้องกับทักษะศตวรรษที่ 21 2)ลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพการศึกษา 3)พัฒนานวัตกรรมการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด 4)ส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“สรายุทธ กูลเกื้อ” นักวิชาการคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา คว้ารางวัลระดับดีเด่น จากผลงานพัฒนาระบบย่อลิงก์ออนไลน์ฯ เวทีนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในงานประชุมเครือข่ายสำนักวิทยบริการฯ
May 3, 2025
นศ.ครุฯ มรภ.สงขลา ออกค่ายครูอาสาพัฒนา “รร.ตชด.ยูงทองรัฐประชาสรรค์” สร้างสื่อการเรียนการสอนส่งเสริมการเรียนรู้ ต่อยอดสู่วิชาชีพครู
May 3, 2025
มรภ.สงขลา คว้ารางวัลมหาวิทยาลัยดีเด่น ด้านการให้ข้อมูลเชิงลึกครบถ้วนสมบูรณ์ โครงการพัฒนาระบบบริหารงานการเงินและแนวทางการเพิ่มรายได้ “สถาบันอุดมศึกษากลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น” กลุ่ม 3
May 3, 2025
มรภ.สงขลา ใช้แนวทาง “PTRU Model 17 สมรรถนะ” ยกระดับคุณภาพครู ...
May 1, 2025