กอ.รมน.ภาค 4 สน. ร่วมกับ กฟผ. จัดวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า บริเวณบ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส จำนวน 432 ชุด เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
วันที่ 16 กันยายน 2561 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ จัดโครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ณ สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง อ.เมือง จ.นราธิวาส โดยมี พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายผล ขวัญนุ้ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้-ปฏิบัติการ หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนราธิวาส ภาคเอกชน ชาวบ้านในพื้นที่ ใกล้เคียง ร่วมกิจกรรมและลงเรือเพื่อไปวางปะการังลงทะเล ณ บ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส
นายผล ขวัญนุ้ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้-ปฏิบัติการ กฟผ. กล่าวว่า โครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า เป็นโครงการที่ กฟผ. จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กที่ประสบความเดือดร้อนจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง โดย กฟผ. ได้นำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่ถูกปลดออกจากระบบส่งของ กฟผ. มาดัดแปลงสร้างเป็นปะการังเทียม ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา สัตว์ทะเล รวมถึงปะการังจริง โดยดำเนินการร่วมกับหน่วยงานราชการในจังหวัดต่างๆ และชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลในพื้นที่โครงการ สำหรับ จ.นราธิวาส นับเป็นการวางบ้านปลาครั้งที่ 2 ซึ่งจากการดำน้ำสำรวจพบว่า มีการเกิดปะการังใหม่อย่างรวดเร็ว และเป็นแหล่งอนุบาลของปลาได้เป็นอย่างดีโดยพบว่ามีปลาหลากหลายสายพันธุ์ได้เข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จของโครงการสร้างบ้านปลา กฟผ. และจะทำต่อยอดขยายไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยต่อไป
ผศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยใน “โครงการทดสอบลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าภายใต้สภาวะจำลองสภาพแวดล้อมทางทะเล” เพื่อศึกษาและทดสอบโครงสร้างจุลภาคของผงลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าด้วยเทคนิคพิเศษ และตรวจสอบปริมาณการชะละลายของสารจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงของความเค็ม ความถ่วงจำเพาะ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ พบว่าลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ามีความสามารถในการละลายได้ แต่ไม่พบการละลายของโลหะหนักที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต และไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง โดยอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กำหนด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการนำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ามาใช้ทำเป็นโครงสร้างแหล่งอาศัยให้สัตว์ทะเล สามารถทำได้ และไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมทางทะเลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา กฟผ. ได้ดำเนินโครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ารวมทั้งหมด 7 ครั้ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประมงพื้นบ้าน และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืน.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กอ.รมน.ภาค 4 สน. ร่วมกับ กฟผ. สานต่อโครงการบ้านปลา วางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล
กอ.รมน.ภาค 4 สน. ร่วมกับ กฟผ. จัดวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า บริเวณบ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส จำนวน 432 ชุด เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
วันที่ 16 กันยายน 2561 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ จัดโครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา และเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ณ สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง อ.เมือง จ.นราธิวาส โดยมี พลโท ปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย นายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายผล ขวัญนุ้ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้-ปฏิบัติการ หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนราธิวาส ภาคเอกชน ชาวบ้านในพื้นที่ ใกล้เคียง ร่วมกิจกรรมและลงเรือเพื่อไปวางปะการังลงทะเล ณ บ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส
นายผล ขวัญนุ้ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้-ปฏิบัติการ กฟผ. กล่าวว่า โครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า เป็นโครงการที่ กฟผ. จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กที่ประสบความเดือดร้อนจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง โดย กฟผ. ได้นำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่ถูกปลดออกจากระบบส่งของ กฟผ. มาดัดแปลงสร้างเป็นปะการังเทียม ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา สัตว์ทะเล รวมถึงปะการังจริง โดยดำเนินการร่วมกับหน่วยงานราชการในจังหวัดต่างๆ และชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลในพื้นที่โครงการ สำหรับ จ.นราธิวาส นับเป็นการวางบ้านปลาครั้งที่ 2 ซึ่งจากการดำน้ำสำรวจพบว่า มีการเกิดปะการังใหม่อย่างรวดเร็ว และเป็นแหล่งอนุบาลของปลาได้เป็นอย่างดีโดยพบว่ามีปลาหลากหลายสายพันธุ์ได้เข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จของโครงการสร้างบ้านปลา กฟผ. และจะทำต่อยอดขยายไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยต่อไป
ผศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยใน “โครงการทดสอบลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าภายใต้สภาวะจำลองสภาพแวดล้อมทางทะเล” เพื่อศึกษาและทดสอบโครงสร้างจุลภาคของผงลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าด้วยเทคนิคพิเศษ และตรวจสอบปริมาณการชะละลายของสารจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงของความเค็ม ความถ่วงจำเพาะ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ พบว่าลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ามีความสามารถในการละลายได้ แต่ไม่พบการละลายของโลหะหนักที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต และไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง โดยอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กำหนด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการนำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ามาใช้ทำเป็นโครงสร้างแหล่งอาศัยให้สัตว์ทะเล สามารถทำได้ และไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมทางทะเลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ ระยะเวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา กฟผ. ได้ดำเนินโครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ารวมทั้งหมด 7 ครั้ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประมงพื้นบ้าน และเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืน.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024