วันที่ 23 ส.ค. 61 นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอเมืองสงขลา เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณวัดแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายชัชชัย อภินันทิตยา วิศวกรโครงการฯ นายวสันต์ วัฒนะรัตน์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ดร.สมฤทัย ทะสดวก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง/สมุทรศาสตร์ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอเมืองสงขลา เปิดเผยว่า จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดที่มีแนวชายฝั่งยาวติดทะเลอ่าวไทยฝั่ง บางพื้นที่ประสบปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะโดยในช่วงมรสุมจะเกิดคลื่นลมแรงและพัดเข้าหาฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งตลอดแนวยาวชายฝั่งของจังหวัดสงขลา สร้างความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคม การดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชายฝั่งบริเวณตำบลเกาะยอที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ดังนั้นการที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการออกแบบและศึกษาเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีต่อท้องถิ่นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว
นอกจากนี้การดำเนินโครงการฯ ได้ให้ความสำคัญต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อชุมชนและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่นและชาวจังหวัดสงขลาและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆที่หลากหลายเพื่อหน่วยงานจะได้นำ แนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกันกับการศึกษาด้านอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบและสนองตอบต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
ด้านนายชัชชัย อภินันทิตยา วิศวกรโครงการฯ กล่าวว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ตระหนักถึงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเพื่อออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพื่อป้องกันทรัพย์สินของทางราชการและของประชาชนไม่ให้คลื่นกัดเซาะจมลงในทะเล สำหรับพื้นที่วัดแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา มีลักษณะพื้นที่ตั้งอยู่บนเกาะยอ อยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ซึ่งกระแสน้ำในร่องน้ำบริเวณวัดแหลมพ้อและลม คลื่นลมจากทะเลอ่าวไทยในช่วงฤดูมรสุมประกอบกับการสัญจรของเรือบริเวณร่องน้ำหน้าวัดแหลมพ้อทำให้เกิดการพัดพาของคลื่นเข้าสู่ตลิ่งส่งผลให้เกิดการกัดเซาะบริเวณริมตลิ่ง
ทั้งนี้ในการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงกำหนดให้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อย 2 ครั้งตลอดระยะการศึกษา
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นการประชาสัมพันธ์และแนะนำโครงการฯ ความเป็นมาของโครงการ เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้ดำเนินการสถานที่ดำเนินการ ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ การนำเสนอแนวทางเลือกที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 ทางเลือกและแนวทางป้องกันเบื้องต้นพร้อมด้วยรายละเอียดของแต่ละทางเลือก รวมไปถึงข้อดีข้อเสียของทุกทางเลือกเพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่อการพัฒนาโครงการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโครงการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำมาประกอบการพิจารณา ปรับปรุงการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน.
ภาพ/ข่าว กิตติพัฒน์ พรนิมิตมงคล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
จังหวัดสงขลาประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นที่บริเวณวัดแหลมพ้อ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
วันที่ 23 ส.ค. 61 นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอเมืองสงขลา เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบริเวณวัดแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายชัชชัย อภินันทิตยา วิศวกรโครงการฯ นายวสันต์ วัฒนะรัตน์ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ดร.สมฤทัย ทะสดวก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชายฝั่ง/สมุทรศาสตร์ หัวหน้าส่วนราชการ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอเมืองสงขลา เปิดเผยว่า จังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดที่มีแนวชายฝั่งยาวติดทะเลอ่าวไทยฝั่ง บางพื้นที่ประสบปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะโดยในช่วงมรสุมจะเกิดคลื่นลมแรงและพัดเข้าหาฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณชายฝั่งตลอดแนวยาวชายฝั่งของจังหวัดสงขลา สร้างความเสียหายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคม การดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชายฝั่งบริเวณตำบลเกาะยอที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ดังนั้นการที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการออกแบบและศึกษาเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลดีต่อท้องถิ่นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว
นอกจากนี้การดำเนินโครงการฯ ได้ให้ความสำคัญต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นการลดผลกระทบต่อชุมชนและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในท้องถิ่นและชาวจังหวัดสงขลาและพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆที่หลากหลายเพื่อหน่วยงานจะได้นำ แนวคิดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นไปบูรณาการร่วมกันกับการศึกษาด้านอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบและสนองตอบต่อความต้องการของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
ด้านนายชัชชัย อภินันทิตยา วิศวกรโครงการฯ กล่าวว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ตระหนักถึงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเพื่อออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเพื่อป้องกันทรัพย์สินของทางราชการและของประชาชนไม่ให้คลื่นกัดเซาะจมลงในทะเล สำหรับพื้นที่วัดแหลมพ้อ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา มีลักษณะพื้นที่ตั้งอยู่บนเกาะยอ อยู่กลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง ซึ่งกระแสน้ำในร่องน้ำบริเวณวัดแหลมพ้อและลม คลื่นลมจากทะเลอ่าวไทยในช่วงฤดูมรสุมประกอบกับการสัญจรของเรือบริเวณร่องน้ำหน้าวัดแหลมพ้อทำให้เกิดการพัดพาของคลื่นเข้าสู่ตลิ่งส่งผลให้เกิดการกัดเซาะบริเวณริมตลิ่ง
ทั้งนี้ในการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ต้องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงกำหนดให้มีการจัดรับฟังความคิดเห็นอย่างน้อย 2 ครั้งตลอดระยะการศึกษา
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นการประชาสัมพันธ์และแนะนำโครงการฯ ความเป็นมาของโครงการ เหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้ดำเนินการสถานที่ดำเนินการ ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ ผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการ การนำเสนอแนวทางเลือกที่เหมาะสมอย่างน้อย 3 ทางเลือกและแนวทางป้องกันเบื้องต้นพร้อมด้วยรายละเอียดของแต่ละทางเลือก รวมไปถึงข้อดีข้อเสียของทุกทางเลือกเพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่อการพัฒนาโครงการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมเสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโครงการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำมาประกอบการพิจารณา ปรับปรุงการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน.
ภาพ/ข่าว กิตติพัฒน์ พรนิมิตมงคล
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024