อาจารย์ มรภ.สงขลา จับมือ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมเป็นที่ปรึกษาออกเเบบเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปั้นผู้ประกอบการ SME จังหวัดชายแดนภาคใต้ หวังช่วยสร้างอัตลักษณ์-ทำตลาดระบบดิจิทัล
ผศ.ดร.วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ หัวหน้าศูนย์วิจัยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ปรึกษาโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการ SME และกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ปี 2561 กล่าวระหว่างกิจกรรมเสวนาทิศทางการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันผู้ประกอบการ SMEฯ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้รับความร่วมมือจากทีมที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) ในการให้คำแนะปรึกษาเชิงลึกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบ วิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้านProduct Design และ Functional Design เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการ SME และกลุ่มอาชีพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังขาดการผลิตที่มีนวัตกรรมของตนเอง ขาดความแตกต่างของสินค้าที่มีอัตลักษณ์ ทำให้ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับการจัดการตลาดยังอยู่ในวงแคบ และไม่ได้จัดการด้วยระบบดิจิทัล ส่งผลให้สินค้าดังกล่าวจำหน่ายได้ในราคาต่ำ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแพร่หลาย
ด้าน อ.อมรรัตน์ บุญสว่าง อาจารย์หลักการสูตรออกแบบ โปรแกรมวิชาศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า ในการเสริมสร้างผู้ประกอบการ SME และกลุ่มผู้ประกอบการนั้น เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งตนเองและ อ.วงศ์วรุตม์ อินตะนัย ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม รองเท้า รวมทั้งออกแบบตราสินค้าเเละบรรจุภัณฑ์ โดยมี ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา และ ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกันพัฒนาและวิจัยสูตรอาหาร ส่วน ผศ.สุระพรรณ์ จุลสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ และ อ.วุฒิชัย อินทร์แก้ว ให้ความรู้ด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาภายในโครงการจำนวน 10ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1. ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติโดยใช้พืชพื้นถิ่น เช่น ใบเม่า เปลือกโดน เปลือกอินทนิล จ.ยะลา 2. ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรสำหรับเด็ก จ.สงขลา 3. ผลิตภัณฑ์รองเท้าหนังผสมผ้าปาเต๊ะ จ.ปัตตานี 4. ผลิตภัณฑ์คัพเค้กจำปาดะของฝาก จ.สตูล 5. เจลอาบน้ำจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นผสมว่านหางจรเข้ จ.สตูล (ผลิตโดยคณะเภสัช ม.สงขลานครินทร์) 6. กรือโป๊ะนกกระทา จ.สงขลา 7.กรือโป๊ะซอสกอและ จ.นราธิวาส 8. ลูกหยีกวนสอดไส้ผลไม้ จ.ยะลา 9. ชุดสมุนไพรแห้งรากจอมพลัง จ.ยะลา และ 10. ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมกระดังงาอบกรอบ จ.นราธิวาส
นายพุทธิกรณ์ วิชัยดิษฐ์ อุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ตามที่โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการ SME และกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้เริ่มดำเนินการโครงการตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 และดำเนินการกิจกรรมที่ 1 คือการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลและกลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมที่ 2 คือการพัฒนาผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์เสร็จสิ้นแล้วนั้น จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 3 คือ การส่งเสริมการตลาดและการจัดแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการได้แสดงนิทรรศการและออกร้าน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการตลาดและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยกิจกรรมที่ 3 นี้ ผู้ประกอบการจะจัดแสดงนิทรรศการและออกร้านเป็นเวลา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม-5 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จ.สงขลา ซึ่งก็คาดหวังว่าผู้ประกอบการทั้ง 10 สถานประกอบการจะได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถเพิ่มช่องทางในการพัฒนาตนเองและรายได้ของครอบครัวต่อไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ร่วมปั้นผู้ประกอบการ SME ชายแดนใต้
อาจารย์ มรภ.สงขลา จับมือ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมเป็นที่ปรึกษาออกเเบบเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปั้นผู้ประกอบการ SME จังหวัดชายแดนภาคใต้ หวังช่วยสร้างอัตลักษณ์-ทำตลาดระบบดิจิทัล
ผศ.ดร.วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ หัวหน้าศูนย์วิจัยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ปรึกษาโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการ SME และกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ปี 2561 กล่าวระหว่างกิจกรรมเสวนาทิศทางการเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันผู้ประกอบการ SMEฯ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้รับความร่วมมือจากทีมที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) ในการให้คำแนะปรึกษาเชิงลึกเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบ วิเคราะห์ ตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้านProduct Design และ Functional Design เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการ SME และกลุ่มอาชีพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังขาดการผลิตที่มีนวัตกรรมของตนเอง ขาดความแตกต่างของสินค้าที่มีอัตลักษณ์ ทำให้ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ประกอบกับการจัดการตลาดยังอยู่ในวงแคบ และไม่ได้จัดการด้วยระบบดิจิทัล ส่งผลให้สินค้าดังกล่าวจำหน่ายได้ในราคาต่ำ ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแพร่หลาย
ด้าน อ.อมรรัตน์ บุญสว่าง อาจารย์หลักการสูตรออกแบบ โปรแกรมวิชาศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มรภ.สงขลา กล่าวว่า ในการเสริมสร้างผู้ประกอบการ SME และกลุ่มผู้ประกอบการนั้น เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ซึ่งตนเองและ อ.วงศ์วรุตม์ อินตะนัย ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม รองเท้า รวมทั้งออกแบบตราสินค้าเเละบรรจุภัณฑ์ โดยมี ผศ.นพรัตน์ วงศ์หิรัญเดชา และ ดร.กมลทิพย์ นิคมรัตน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกันพัฒนาและวิจัยสูตรอาหาร ส่วน ผศ.สุระพรรณ์ จุลสุวรรณ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ และ อ.วุฒิชัย อินทร์แก้ว ให้ความรู้ด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาภายในโครงการจำนวน 10ผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 1. ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติโดยใช้พืชพื้นถิ่น เช่น ใบเม่า เปลือกโดน เปลือกอินทนิล จ.ยะลา 2. ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันสมุนไพรสำหรับเด็ก จ.สงขลา 3. ผลิตภัณฑ์รองเท้าหนังผสมผ้าปาเต๊ะ จ.ปัตตานี 4. ผลิตภัณฑ์คัพเค้กจำปาดะของฝาก จ.สตูล 5. เจลอาบน้ำจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นผสมว่านหางจรเข้ จ.สตูล (ผลิตโดยคณะเภสัช ม.สงขลานครินทร์) 6. กรือโป๊ะนกกระทา จ.สงขลา 7.กรือโป๊ะซอสกอและ จ.นราธิวาส 8. ลูกหยีกวนสอดไส้ผลไม้ จ.ยะลา 9. ชุดสมุนไพรแห้งรากจอมพลัง จ.ยะลา และ 10. ผลิตภัณฑ์ข้าวหอมกระดังงาอบกรอบ จ.นราธิวาส
นายพุทธิกรณ์ วิชัยดิษฐ์ อุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ตามที่โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการ SME และกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ได้เริ่มดำเนินการโครงการตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 และดำเนินการกิจกรรมที่ 1 คือการเตรียมความพร้อมด้านข้อมูลและกลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมที่ 2 คือการพัฒนาผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์เสร็จสิ้นแล้วนั้น จึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 3 คือ การส่งเสริมการตลาดและการจัดแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการได้แสดงนิทรรศการและออกร้าน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการตลาดและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยกิจกรรมที่ 3 นี้ ผู้ประกอบการจะจัดแสดงนิทรรศการและออกร้านเป็นเวลา 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม-5 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จ.สงขลา ซึ่งก็คาดหวังว่าผู้ประกอบการทั้ง 10 สถานประกอบการจะได้รับประโยชน์สูงสุด และสามารถเพิ่มช่องทางในการพัฒนาตนเองและรายได้ของครอบครัวต่อไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024