วันที่ 25 มิถุนายน 2561 เวลา 1400 พลตรีอาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ ณ ห้องประชุมเสนาณรงค์ กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากเหตุการณ์ผ่านมา
กองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 จับมือสภาททนายเมืองคอนลุยช่วยชาวบ้านเหยื่อนายทุนเงินกู้โหด-พบ “สัญญาปลอม”เป็นช่อง ทางสู้คดีทั้งแพ่งและอาญา-ชาวบ้านเตรียมฟ้องกลับความผิดอาญาสัญญาปลอมฟ้องเกินจริงหลลายสิบเท่า สอบมารยาททนายเตรียมเสนอถอนใบอนุญาตสองทนายความผัวเมีย- ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 เรียกพบสองฝ่าย 25 มิถุนายน 2561 นี้-ลั่นสนองนโยบายรัฐชาลและ คสช.เงินกู้นอกระบบต้องหมดภายใน 6 เดือน
จากกรณีที่นายจรายพงศ์ ศักดิ์ศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำชาวบ้านจาก อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนกว่า 30 คน เดินทางเข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมและขอความช่วยเหลือจากศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากจากผู้มีอิทธิพลหรือนายทุนเงินกู้นอกระบบ ซึ่งเปิดสำนักงานทนายความ เพื่อให้ประชาชนเชื่อถือ โดยมีทนายความซึ่งเป็นอดีตนายตำรวจและทนายในสังกัดอีกหลายรายร่วมดำเนินการ ฟ้องร้องชาวบ้านเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเกินจริง เช่น ชาวบ้านยืมเงินกันแค่ 1,000-2,000 บาท แต่กลุ่มนายทุนกลับรับมอบอำนาจและนำสัญญาเงินกู้ของชาวบ้านมายื่นฟ้องต่อศาลสูงถึงรายละ 1- 3 แสนบาทและหลายรายถูกฟ้องดำเนินคดีอาญาอีกด้วย มีชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่ฐานะยากจนตกเป็นเหยื่อได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และเข้าร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม อำเภอจุฬาภรณ์ ก่อนจะรวบตัวกันเข้าร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากสื่อมวลชน แต่ต่อมานายทุนได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายจรายพงศ์ ศักดิ์ศรี และชาวบ้านรวมอีก 17 คน ที่ร่วมลงชื่อในเอกสารร้องเรียน พร้อมทั้งผู้สื่อข่าว 3 คนประกอบด้วยนายไพฑูรย์ อินทศิลา ประธานศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนนครศรีธรรมราช และ น.ส.กัญญาณัฐ เพ็ญสวัสดิ์ เลขานุการศูนย์ข่าวนคร 24 ชม. และนายยุทธนะ เตมะสิริ กรรมการสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ บิดเบือนหรือเป็นเท็จโดยการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น รวมผู้ต้องหาล็อตแรก 20 คน พนักสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องส่งสำนวนให้อัยการสั่งฟ้องต่อศาล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งศาลเมตตาให้ประกันตัวคนละ 20,000 บาท ส่วนอีกสำนวนผู้ต้องหา 1 คนคือนายยุทธนะ เตมะศิริ พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องและนัดส่งสำนวนและผู้ต้องหาให้อัยการในวันที่ 11 มิถุนายน 2561 ตามที่เสนอข่าวไปตามลำดับแล้วนั้น
(11 มิถุนายน 2561)ที่ ร.ต.อ.อรุณ กำลังเกื้อ รอง สวส.สภ.จุฬาภรณ์ จังนครศรีธรรมราช ได้นำสำนวนพร้อมนายยุทธนะ เตมะศิริ ผู้ต้องหาในคดีเดียวกันที่ผู้เสียหายเข้าแจ้งความเพิ่มเติมส่งเจ้าพนักงานอัยการศาลจังหวัดทุ่งสง เพื่อพิจารณาฟ้องศาลตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้นายยุทธนะ เป็นผู้รับเรื่องร้องทุกข์จากนายจรายพงศ์ ศักดิ์ศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่นำชาวบ้านทั้งหมดเข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนนครศรีธรรมราช และแชร์ข่าวจากเพซบุ๊คของนายไพฑูรย์ อินทศิลา ประธานศูนย์ข่าว ฯ
ในขณะที่เมื่อ (10 มิถุนายน 2561)ร้านขายข้าวแกงและก๋วยเตี๋ยว “ป้านิ่ง” บริเวณบ้านปลายนา ริมถนนเอเชีย 41 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ พลตรีอาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ได้มอบหมายให้ พันเอกวชิรพงษ์ บุญรัตน์ หัวหน้ากองกิจการพลเรือนมณฑลทหารบกที่ 41 และคณะนายทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 พร้อมกำลังทหาร กองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารที่ 41 รวม 6 นาย เดินทางไปพบกับนายจรวยพงศ์ ผู้ใหญ่และชาวบ้านถูกแจ้งความดำเนินคดีทั้งหมด รวมทั้งนายไพฑูรย์ อินทศิลา ประธานศูนย์ข่าวนคร 24 ชม. พร้อมสื่อมวลชนที่ถูกแจ้งความอีก 2 คน เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างละเอียดและรวบรวมเอกสารหลักฐานเป็นรายบุคล
ในวันเดียวกันนายสุภัทร คชเชน ประธานสภาทนายความจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำทีมทนายความจากสภาทนายความจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยทนายอาสา (ทนายขอแรง)ที่ศาลจังหวัดทุ่งสงจัดตั้งให้ช่วยว่าความสู้คดีให้กับชาวบ้านและสื่อมวลชนที่ตกเป็นจำเลยทั้งหมด เดินทางไปพบนายจรายพงศ์ และชาวบ้านที่ตกเป็นจำเลยเพื่อสอบสวนปากคำและรวบรวมเอกสาร พยานหลักฐานในการสู้คดีในชั้นศาล ซึ่งทั้งฝ่ายทหารและทนายความได้แยกกันสอบสวนปากชาวบ้านที่ตกเป็นจำเลยทุกคนอย่างละเอียด ท่ามกลางความดีใจของชาวบ้านที่มีฝ่ายทหารและสภาทนายความยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
พันเอกวชิรพงษ์ บุญรัตน์ กล่าวว่า ทราบว่าเรื่องนี้ได้มีการรวมตัวไปร้องเรียนทางสำนักนายกรัฐมนตรีไว้หลายเดือนแล้ว และทางชาวบ้านเข้าใจว่าทางสำนักนายกรัฐมนตรีจะส่งเรื่องมาให้ กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 ดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องนี้ทำให้การช่วยเหลือล่าช้าไประยะหนึ่ง แต่หลังจากที่ พลตรีอาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ทราบเรื่องก็สั่งการให้นำคณะทหารลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งฝ่ายทหารจะทำการเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชาวบ้านที่ถูกนายทุนห้องดำเนินคดีทุกคน จากการสอบสวนในรายละเอียดพบข้อเท็จจริงในหลายกรณี เช่น การยื่นฟ้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายเกินจริง ชาวบ้านยืมเงินกันแค่ไม่กี่พันบาทแต่โดนฟ้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่ 1-3 แสนบาท การปลอมแปลงลายเซ็นในเอกสารกู้เงิน การต่อเติมข้อความและจำนวนเงินในสัญญา การเรียกเงินอ้างช่วยเหลือวิ่งเต้นคดีต่าง ๆ ในส่วนของเจ้าหนี้มีหลายคนแต่ผู้ฟ้องซื้อสัญญามาแล้วให้เจ้าหนี้ตัวจริงเซ็นมอบอำนาจให้ผู้ฟ้องดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกินจริงหลายเท่าทุกราย และทราบข้อมูลว่ามีชาวบ้านที่ตกเป็นเหยื่อในลักษณะเดียวกันอีกหลายสิบราย
“ทางทหารคงจะเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยในคดีแพ่ง เพราะแม้เรื่องจะอยู่ในชั้นศาล แต่เป็นคดีที่สามารถเจรจาตกลงยอมความกันได้ ซึ่งทาง ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ได้นัดผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านแลสื่อมวลชนที่ตกเป็นจำเลยทุกคนไปพบที่ห้องประชุม กองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ในวันที่ 25 มิถุนายน 2561 ณ กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 และจะทำหนังสือเชิญเป็นลายลักษณ์อักษรเชิญอดีตนายตำรวจซึ่งปัจจุบันเป็นทนายความและภรรยา ผู้รับมอบอำนาจมาฟ้องร้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตัวจริงทุกรายที่มอบอำนาจให้อดีตตำรวจและภรรยายื่นฟ้องชาวบ้านไปพบเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย โดยยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถไกล่เกลี่ยตกลงกันได้หรือไม่อย่างไร แต่เรื่องเงินกุ้นอกระบบทางรัฐบาลและ คสช.มีนโยบายชัดเจนให้ทุกจังหวัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน ซึ่งในเรื่องนี้นอกจากทาง กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 จะรายงานโดยตรงให้รัฐบาลและ คสช.ทราบแล้ว ทางศูนย์ดำรงธรรมทั้งระดับอำเภอ และจังหวัดจะต้องรายงานให้รัฐบาลและ คสช.ทราบโดยตรงเช่นกัน
ทางด้านนายสุภัทร คชเชน กล่าวว่า การช่วยเหลือในทางคดีแยกออกเป็นในส่วนของคดีแพ่ง และคดีอาญา ในส่วนของคดีแพ่งนั้นตนได้ตรวจสอบทุกคดีพบช่องทางในการต่อสู้คดีให้ชนะได้ไม่ยาก โดยเฉพาะกรณีสัญญาปลอมซึ่งจะมีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ไม่ยากนัก ส่วนคดีอาญาพบว่าชาวบ้านที่ถูกแจ้งความส่วนใหญ่เป็นผู้ร่วมลงชื่อร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมอำเภอจุฬาภรณ์ และมีการนำเอกสารรายงานเหตุการณ์ของ อำเภอจุฬาภรณ์ รายงานให้จังหวัดนครศรีธรรมราชทราบ เอกสารฉบับเดียวกันก็ถูกนำไปร้องเรียนศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย และในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนไม่ได้ระบุชื่อบุคคลและหน่วยงานใด ๆ ความจริงพนักงานสอบสวนไม่น่าจะรับแจ้งความได้เสียด้วยซ้ำ การต่อสู้คดีทั้งทางแพ่งและอาญาไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งในกรณีการพิสูจน์สัญญาปลอมนั้น หากในที่สุดศาลตัดสินให้ชาวบ้านชนะคดี ต่อไปก็จะว่ากันในเรื่องความผิดคดีอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารสัญญา ชาวบ้านจะกลับมาเป็นโจทก์แจ้งความหรือยื่นฟ้องดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป โดยทางสภาทนายความจังหวัดนครศรีธรรมราช จะร่วมกับทนายอาสา หรือทนายขอแรงที่ศาลจังหวัดทุ่งสงจัดหาให้จัดตั้งทีมทนายขึ้นมาช่วยเหลือดูแลคดีนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
ประธานสภาทนายคามจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า อีกเรื่องที่สำคัญคือการร้องมารยาททนายความ ซึ่งเรื่องนี้ทางสภาทนายความแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีทนายความบางคนสร้างความเสื่อมเสียให้กับองค์กร ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของทนายทั้งประเทศ ทางสภาทนายจะไม่เลี้ยงไว้อย่างแน่นอน จากการตรวจสอบพบว่าอดีตนายตำรวจสอบผ่านได้ตั๋วเป็นทนายว่าความได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ทางสภาทนายพบว่าเขาไม่เคยว่าความด้วยตนเองแต่จะจ้างทนายคนอื่น ๆ ว่าความแทนตัวเอง และมีพฤติกรรมหาผลประโยชน์บนความเดือดร้อนของประชาชน สามารถเสนอให้ทางสภาทนายคามแห่งประเทศไทยพิจารณาถอดถอนจากการเป็นทนายความได้ ส่วนฝ่ายภรรยาของอดีตนายตำรวจทราบว่าสอบผ่านรอการพิจารณารับใบอนุญาตหรือรับตั๋วทนาย แต่ทางสภาทนายตรวจสอบพบคุณสมบัติขัดต่อระเบียบเนื่องจากภรรยาอดีตนายตำรวจท่านนี้ถูกฟ้องและศาลล้มละลายกลางสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อประกอบกับพฤติกรรมการเรียกรับเงินจากชาวบ้านวิ่งเต้นคดี การวิ่งเต้นฟ้องร้องชาวบ้านโดยทำตัวเป็นคู่ความเสียเองผิดมารยาททนายความอย่างชัดเจน ซึ่งการสอบสวนแค่คามปรากฏทางสภาทนายความดำเนินการถอดถอนและยับยั้งใบอนุญาตหรือตั๋วทนายได้ โดยมีความเป็นไปได้สูงมากที่สองสามีภรรยาจะถูกสภาทนายความแห่งประเทศไทยลงโทษตามระเบียบตั้งแต่โทษภาคทัณฑ์ ลบชื่อและพักใบอนุญาต โดยในปัจจุบันทนายความที่มีพฤติกรรมในลักษณะนี้มีเยอะ
ผลการประชุม ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้ ทางกองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 จะเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและจะหาข้อยุติต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบต่อไป.
นักข่าวเดลินิวส์ ที่เข้าร่วมประชุมด้วย เป็นผู้เขียน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ประชุมแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ
วันที่ 25 มิถุนายน 2561 เวลา 1400 พลตรีอาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 เป็นประธานการประชุมแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบ ณ ห้องประชุมเสนาณรงค์ กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากเหตุการณ์ผ่านมา
กองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 จับมือสภาททนายเมืองคอนลุยช่วยชาวบ้านเหยื่อนายทุนเงินกู้โหด-พบ “สัญญาปลอม”เป็นช่อง ทางสู้คดีทั้งแพ่งและอาญา-ชาวบ้านเตรียมฟ้องกลับความผิดอาญาสัญญาปลอมฟ้องเกินจริงหลลายสิบเท่า สอบมารยาททนายเตรียมเสนอถอนใบอนุญาตสองทนายความผัวเมีย- ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 เรียกพบสองฝ่าย 25 มิถุนายน 2561 นี้-ลั่นสนองนโยบายรัฐชาลและ คสช.เงินกู้นอกระบบต้องหมดภายใน 6 เดือน
จากกรณีที่นายจรายพงศ์ ศักดิ์ศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำชาวบ้านจาก อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนกว่า 30 คน เดินทางเข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมและขอความช่วยเหลือจากศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากจากผู้มีอิทธิพลหรือนายทุนเงินกู้นอกระบบ ซึ่งเปิดสำนักงานทนายความ เพื่อให้ประชาชนเชื่อถือ โดยมีทนายความซึ่งเป็นอดีตนายตำรวจและทนายในสังกัดอีกหลายรายร่วมดำเนินการ ฟ้องร้องชาวบ้านเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเกินจริง เช่น ชาวบ้านยืมเงินกันแค่ 1,000-2,000 บาท แต่กลุ่มนายทุนกลับรับมอบอำนาจและนำสัญญาเงินกู้ของชาวบ้านมายื่นฟ้องต่อศาลสูงถึงรายละ 1- 3 แสนบาทและหลายรายถูกฟ้องดำเนินคดีอาญาอีกด้วย มีชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่ฐานะยากจนตกเป็นเหยื่อได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส และเข้าร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรม อำเภอจุฬาภรณ์ ก่อนจะรวบตัวกันเข้าร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากสื่อมวลชน แต่ต่อมานายทุนได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับนายจรายพงศ์ ศักดิ์ศรี และชาวบ้านรวมอีก 17 คน ที่ร่วมลงชื่อในเอกสารร้องเรียน พร้อมทั้งผู้สื่อข่าว 3 คนประกอบด้วยนายไพฑูรย์ อินทศิลา ประธานศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนนครศรีธรรมราช และ น.ส.กัญญาณัฐ เพ็ญสวัสดิ์ เลขานุการศูนย์ข่าวนคร 24 ชม. และนายยุทธนะ เตมะสิริ กรรมการสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ บิดเบือนหรือเป็นเท็จโดยการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น รวมผู้ต้องหาล็อตแรก 20 คน พนักสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องส่งสำนวนให้อัยการสั่งฟ้องต่อศาล เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งศาลเมตตาให้ประกันตัวคนละ 20,000 บาท ส่วนอีกสำนวนผู้ต้องหา 1 คนคือนายยุทธนะ เตมะศิริ พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องและนัดส่งสำนวนและผู้ต้องหาให้อัยการในวันที่ 11 มิถุนายน 2561 ตามที่เสนอข่าวไปตามลำดับแล้วนั้น
(11 มิถุนายน 2561)ที่ ร.ต.อ.อรุณ กำลังเกื้อ รอง สวส.สภ.จุฬาภรณ์ จังนครศรีธรรมราช ได้นำสำนวนพร้อมนายยุทธนะ เตมะศิริ ผู้ต้องหาในคดีเดียวกันที่ผู้เสียหายเข้าแจ้งความเพิ่มเติมส่งเจ้าพนักงานอัยการศาลจังหวัดทุ่งสง เพื่อพิจารณาฟ้องศาลตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้นายยุทธนะ เป็นผู้รับเรื่องร้องทุกข์จากนายจรายพงศ์ ศักดิ์ศรี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่นำชาวบ้านทั้งหมดเข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนนครศรีธรรมราช และแชร์ข่าวจากเพซบุ๊คของนายไพฑูรย์ อินทศิลา ประธานศูนย์ข่าว ฯ
ในขณะที่เมื่อ (10 มิถุนายน 2561)ร้านขายข้าวแกงและก๋วยเตี๋ยว “ป้านิ่ง” บริเวณบ้านปลายนา ริมถนนเอเชีย 41 ตำบลสามตำบล อำเภอจุฬาภรณ์ พลตรีอาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ได้มอบหมายให้ พันเอกวชิรพงษ์ บุญรัตน์ หัวหน้ากองกิจการพลเรือนมณฑลทหารบกที่ 41 และคณะนายทหาร มณฑลทหารบกที่ 41 พร้อมกำลังทหาร กองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารที่ 41 รวม 6 นาย เดินทางไปพบกับนายจรวยพงศ์ ผู้ใหญ่และชาวบ้านถูกแจ้งความดำเนินคดีทั้งหมด รวมทั้งนายไพฑูรย์ อินทศิลา ประธานศูนย์ข่าวนคร 24 ชม. พร้อมสื่อมวลชนที่ถูกแจ้งความอีก 2 คน เพื่อสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างละเอียดและรวบรวมเอกสารหลักฐานเป็นรายบุคล
ในวันเดียวกันนายสุภัทร คชเชน ประธานสภาทนายความจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำทีมทนายความจากสภาทนายความจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยทนายอาสา (ทนายขอแรง)ที่ศาลจังหวัดทุ่งสงจัดตั้งให้ช่วยว่าความสู้คดีให้กับชาวบ้านและสื่อมวลชนที่ตกเป็นจำเลยทั้งหมด เดินทางไปพบนายจรายพงศ์ และชาวบ้านที่ตกเป็นจำเลยเพื่อสอบสวนปากคำและรวบรวมเอกสาร พยานหลักฐานในการสู้คดีในชั้นศาล ซึ่งทั้งฝ่ายทหารและทนายความได้แยกกันสอบสวนปากชาวบ้านที่ตกเป็นจำเลยทุกคนอย่างละเอียด ท่ามกลางความดีใจของชาวบ้านที่มีฝ่ายทหารและสภาทนายความยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
พันเอกวชิรพงษ์ บุญรัตน์ กล่าวว่า ทราบว่าเรื่องนี้ได้มีการรวมตัวไปร้องเรียนทางสำนักนายกรัฐมนตรีไว้หลายเดือนแล้ว และทางชาวบ้านเข้าใจว่าทางสำนักนายกรัฐมนตรีจะส่งเรื่องมาให้ กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 ดำเนินการช่วยเหลือในเรื่องนี้ทำให้การช่วยเหลือล่าช้าไประยะหนึ่ง แต่หลังจากที่ พลตรีอาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ทราบเรื่องก็สั่งการให้นำคณะทหารลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งฝ่ายทหารจะทำการเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชาวบ้านที่ถูกนายทุนห้องดำเนินคดีทุกคน จากการสอบสวนในรายละเอียดพบข้อเท็จจริงในหลายกรณี เช่น การยื่นฟ้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายเกินจริง ชาวบ้านยืมเงินกันแค่ไม่กี่พันบาทแต่โดนฟ้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่ 1-3 แสนบาท การปลอมแปลงลายเซ็นในเอกสารกู้เงิน การต่อเติมข้อความและจำนวนเงินในสัญญา การเรียกเงินอ้างช่วยเหลือวิ่งเต้นคดีต่าง ๆ ในส่วนของเจ้าหนี้มีหลายคนแต่ผู้ฟ้องซื้อสัญญามาแล้วให้เจ้าหนี้ตัวจริงเซ็นมอบอำนาจให้ผู้ฟ้องดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกินจริงหลายเท่าทุกราย และทราบข้อมูลว่ามีชาวบ้านที่ตกเป็นเหยื่อในลักษณะเดียวกันอีกหลายสิบราย
“ทางทหารคงจะเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยในคดีแพ่ง เพราะแม้เรื่องจะอยู่ในชั้นศาล แต่เป็นคดีที่สามารถเจรจาตกลงยอมความกันได้ ซึ่งทาง ผู้บัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ได้นัดผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านแลสื่อมวลชนที่ตกเป็นจำเลยทุกคนไปพบที่ห้องประชุม กองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 ในวันที่ 25 มิถุนายน 2561 ณ กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 และจะทำหนังสือเชิญเป็นลายลักษณ์อักษรเชิญอดีตนายตำรวจซึ่งปัจจุบันเป็นทนายความและภรรยา ผู้รับมอบอำนาจมาฟ้องร้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตัวจริงทุกรายที่มอบอำนาจให้อดีตตำรวจและภรรยายื่นฟ้องชาวบ้านไปพบเพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย โดยยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถไกล่เกลี่ยตกลงกันได้หรือไม่อย่างไร แต่เรื่องเงินกุ้นอกระบบทางรัฐบาลและ คสช.มีนโยบายชัดเจนให้ทุกจังหวัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน ซึ่งในเรื่องนี้นอกจากทาง กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 จะรายงานโดยตรงให้รัฐบาลและ คสช.ทราบแล้ว ทางศูนย์ดำรงธรรมทั้งระดับอำเภอ และจังหวัดจะต้องรายงานให้รัฐบาลและ คสช.ทราบโดยตรงเช่นกัน
ทางด้านนายสุภัทร คชเชน กล่าวว่า การช่วยเหลือในทางคดีแยกออกเป็นในส่วนของคดีแพ่ง และคดีอาญา ในส่วนของคดีแพ่งนั้นตนได้ตรวจสอบทุกคดีพบช่องทางในการต่อสู้คดีให้ชนะได้ไม่ยาก โดยเฉพาะกรณีสัญญาปลอมซึ่งจะมีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ไม่ยากนัก ส่วนคดีอาญาพบว่าชาวบ้านที่ถูกแจ้งความส่วนใหญ่เป็นผู้ร่วมลงชื่อร้องเรียนศูนย์ดำรงธรรมอำเภอจุฬาภรณ์ และมีการนำเอกสารรายงานเหตุการณ์ของ อำเภอจุฬาภรณ์ รายงานให้จังหวัดนครศรีธรรมราชทราบ เอกสารฉบับเดียวกันก็ถูกนำไปร้องเรียนศูนย์ข่าวนคร 24 ชม.สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย และในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนไม่ได้ระบุชื่อบุคคลและหน่วยงานใด ๆ ความจริงพนักงานสอบสวนไม่น่าจะรับแจ้งความได้เสียด้วยซ้ำ การต่อสู้คดีทั้งทางแพ่งและอาญาไม่น่าจะมีปัญหา ซึ่งในกรณีการพิสูจน์สัญญาปลอมนั้น หากในที่สุดศาลตัดสินให้ชาวบ้านชนะคดี ต่อไปก็จะว่ากันในเรื่องความผิดคดีอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารสัญญา ชาวบ้านจะกลับมาเป็นโจทก์แจ้งความหรือยื่นฟ้องดำเนินคดีตามขั้นตอนต่อไป โดยทางสภาทนายความจังหวัดนครศรีธรรมราช จะร่วมกับทนายอาสา หรือทนายขอแรงที่ศาลจังหวัดทุ่งสงจัดหาให้จัดตั้งทีมทนายขึ้นมาช่วยเหลือดูแลคดีนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
ประธานสภาทนายคามจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า อีกเรื่องที่สำคัญคือการร้องมารยาททนายความ ซึ่งเรื่องนี้ทางสภาทนายความแห่งประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีทนายความบางคนสร้างความเสื่อมเสียให้กับองค์กร ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของทนายทั้งประเทศ ทางสภาทนายจะไม่เลี้ยงไว้อย่างแน่นอน จากการตรวจสอบพบว่าอดีตนายตำรวจสอบผ่านได้ตั๋วเป็นทนายว่าความได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ทางสภาทนายพบว่าเขาไม่เคยว่าความด้วยตนเองแต่จะจ้างทนายคนอื่น ๆ ว่าความแทนตัวเอง และมีพฤติกรรมหาผลประโยชน์บนความเดือดร้อนของประชาชน สามารถเสนอให้ทางสภาทนายคามแห่งประเทศไทยพิจารณาถอดถอนจากการเป็นทนายความได้ ส่วนฝ่ายภรรยาของอดีตนายตำรวจทราบว่าสอบผ่านรอการพิจารณารับใบอนุญาตหรือรับตั๋วทนาย แต่ทางสภาทนายตรวจสอบพบคุณสมบัติขัดต่อระเบียบเนื่องจากภรรยาอดีตนายตำรวจท่านนี้ถูกฟ้องและศาลล้มละลายกลางสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อประกอบกับพฤติกรรมการเรียกรับเงินจากชาวบ้านวิ่งเต้นคดี การวิ่งเต้นฟ้องร้องชาวบ้านโดยทำตัวเป็นคู่ความเสียเองผิดมารยาททนายความอย่างชัดเจน ซึ่งการสอบสวนแค่คามปรากฏทางสภาทนายความดำเนินการถอดถอนและยับยั้งใบอนุญาตหรือตั๋วทนายได้ โดยมีความเป็นไปได้สูงมากที่สองสามีภรรยาจะถูกสภาทนายความแห่งประเทศไทยลงโทษตามระเบียบตั้งแต่โทษภาคทัณฑ์ ลบชื่อและพักใบอนุญาต โดยในปัจจุบันทนายความที่มีพฤติกรรมในลักษณะนี้มีเยอะ
ผลการประชุม ทั้งสองฝ่ายยังตกลงกันไม่ได้ ทางกองบัญชาการควบคุม มณฑลทหารบกที่ 41 จะเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและจะหาข้อยุติต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาเงินกู้นอกระบบต่อไป.
นักข่าวเดลินิวส์ ที่เข้าร่วมประชุมด้วย เป็นผู้เขียน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024