การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่ระหว่าง กฟผ. และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก 4 สถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาและวิจัยทางด้านงานเหมืองแร่ให้แก่บุคลากรของ ด้านเหมืองแร่ พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้ กฟผ. เหมืองแม่เมาะ เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมด้านเหมืองแร่ของประเทศไทย
วันที่ 22 มิถุนายน 2561 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่อง ความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่ ระหว่าง กฟผ. โดย นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ณ ห้องประชุม M.1 อาคารที่ทำการเหมืองแม่เมาะ กฟผ. เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง
นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวว่า “กฟผ. เหมืองแม่เมาะ มีภารกิจในการผลิตถ่านหินลิกไนต์ปีละ 16 ล้านตัน และหินปูนปีละ 1.4 ล้านตัน ส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,400 เมกะวัตต์ ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินงานทำเหมืองแร่ถ่านหินและหินปูนแบบเหมืองเปิดขนาดใหญ่ มีระบบและกระบวนการทำเหมืองตามหลักวิชาการและมีมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเหมืองแร่อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน การฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมืองทั้งในระหว่างทำเหมืองและภายหลังการปิดเหมืองในอนาคต ตลอดจนการดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนโดยรอบ ทำให้เหมือง แม่เมาะมีศักยภาพเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา และนำไปสู่การพัฒนาการทำเหมืองแร่ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน”
“ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว กฟผ. และสถาบันการศึกษา ร่วมกันจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Mining Camp เพื่อพัฒนา และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการทำเหมืองแร่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เหมืองแม่เมาะ อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ของสถาบันการศึกษา ความร่วมมือทางวิชาการเหมืองแร่ในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ ระหว่างกัน นำไปสู่การพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเทคโนโลยีการทำเหมืองแร่ ให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศในอนาคต” รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวทิ้งท้าย. ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ. จับมือ 4 สถาบันการศึกษา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่ระหว่าง กฟผ. และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก 4 สถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาและวิจัยทางด้านงานเหมืองแร่ให้แก่บุคลากรของ ด้านเหมืองแร่ พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้ กฟผ. เหมืองแม่เมาะ เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมด้านเหมืองแร่ของประเทศไทย
วันที่ 22 มิถุนายน 2561 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่อง ความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่ ระหว่าง กฟผ. โดย นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ณ ห้องประชุม M.1 อาคารที่ทำการเหมืองแม่เมาะ กฟผ. เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง
นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวว่า “กฟผ. เหมืองแม่เมาะ มีภารกิจในการผลิตถ่านหินลิกไนต์ปีละ 16 ล้านตัน และหินปูนปีละ 1.4 ล้านตัน ส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,400 เมกะวัตต์ ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินงานทำเหมืองแร่ถ่านหินและหินปูนแบบเหมืองเปิดขนาดใหญ่ มีระบบและกระบวนการทำเหมืองตามหลักวิชาการและมีมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเหมืองแร่อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน การฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมืองทั้งในระหว่างทำเหมืองและภายหลังการปิดเหมืองในอนาคต ตลอดจนการดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนโดยรอบ ทำให้เหมือง แม่เมาะมีศักยภาพเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา และนำไปสู่การพัฒนาการทำเหมืองแร่ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน”
“ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว กฟผ. และสถาบันการศึกษา ร่วมกันจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Mining Camp เพื่อพัฒนา และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการทำเหมืองแร่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เหมืองแม่เมาะ อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ของสถาบันการศึกษา ความร่วมมือทางวิชาการเหมืองแร่ในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ ระหว่างกัน นำไปสู่การพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเทคโนโลยีการทำเหมืองแร่ ให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศในอนาคต” รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวทิ้งท้าย.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024