การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP 2015) ส่งเสริมการนำน้ำจากท้ายเขื่อนชลประทานมาใช้ประโยชน์ทั้งด้านการเกษตรและพลังงาน คาดสามารถผลิตไฟฟ้าปีละ 33.42 ล้านหน่วย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง19,424 ตันต่อปี
วันที่ 19 มิถุนายน 2561 นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ร่วมกับ นายนิกูล ศิลาสุวรรณ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ. และ คณะผู้บริหาร กฟผ. ทำพิธีเปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง โดยนำน้ำที่ระบายจากเขื่อนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านพลังงาน
นายนิกูล ศิลาสุวรรณ กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง เป็นความร่วมมือระหว่าง กฟผ. กับ กรมชลประทาน ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามยุทธศาสตร์การผลักดันและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนของกระทรวงพลังงาน โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 2.5 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง และขนาด 0.5 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 5.5 เมกะวัตต์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้ปีละ 33.42 ล้านหน่วย ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงต่างประเทศได้ 167 ล้านบาทต่อปี และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 19,424 ตันต่อปี ซึ่งกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำจะนำน้ำที่เขื่อนต้องระบายอยู่แล้วมาผ่านเครื่องผลิตไฟฟ้าก่อนระบายลงสู่พื้นที่ท้ายน้ำตามเดิมจึงไม่กระทบต่อแผนการระบายน้ำเพื่อการชลประทาน ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีหรือน้ำมัน อีกทั้งเครื่องกังหันน้ำยังช่วยเติมอากาศให้กับน้ำที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำทำให้มีคุณภาพดีขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ร่วมกับกรมชลประทานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขืื่อนชลประทานตั้งแต่ปี 2550 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 7 เขื่อน ประกอบด้วย เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนเรศวร เขื่อนแม่กลอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่ิอนขุนด่านปราการชล เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา นอกจากนี้ ยังมี โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอีก 2 แห่ง คือ เขื่อนคลองตรอน และเขื่อนผาจุก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 และ ปี 2565 ตามลำดับ เมื่อแล้วเสร็จจะมีกำลังผลิตรวม 100.7 เมกะวัตต์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 305,031 ตันต่อปี
“กฟผ. เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาโรงไฟฟ้าจากพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน ซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนาน และมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนชนิดอื่น ถือเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า เกิดความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” นายนิกูล กล่าวทิ้งท้าย.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
กฟผ. เปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP 2015) ส่งเสริมการนำน้ำจากท้ายเขื่อนชลประทานมาใช้ประโยชน์ทั้งด้านการเกษตรและพลังงาน คาดสามารถผลิตไฟฟ้าปีละ 33.42 ล้านหน่วย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง19,424 ตันต่อปี
วันที่ 19 มิถุนายน 2561 นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ร่วมกับ นายนิกูล ศิลาสุวรรณ รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า กฟผ. และ คณะผู้บริหาร กฟผ. ทำพิธีเปิดโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง โดยนำน้ำที่ระบายจากเขื่อนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านพลังงาน
นายนิกูล ศิลาสุวรรณ กล่าวว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง เป็นความร่วมมือระหว่าง กฟผ. กับ กรมชลประทาน ด้านการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามยุทธศาสตร์การผลักดันและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนของกระทรวงพลังงาน โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา ประกอบด้วยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 2.5 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง และขนาด 0.5 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 5.5 เมกะวัตต์ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้ปีละ 33.42 ล้านหน่วย ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงต่างประเทศได้ 167 ล้านบาทต่อปี และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้ถึง 19,424 ตันต่อปี ซึ่งกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน้ำจะนำน้ำที่เขื่อนต้องระบายอยู่แล้วมาผ่านเครื่องผลิตไฟฟ้าก่อนระบายลงสู่พื้นที่ท้ายน้ำตามเดิมจึงไม่กระทบต่อแผนการระบายน้ำเพื่อการชลประทาน ไม่มีการปนเปื้อนของสารเคมีหรือน้ำมัน อีกทั้งเครื่องกังหันน้ำยังช่วยเติมอากาศให้กับน้ำที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำทำให้มีคุณภาพดีขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ร่วมกับกรมชลประทานพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขืื่อนชลประทานตั้งแต่ปี 2550 ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 7 เขื่อน ประกอบด้วย เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนเรศวร เขื่อนแม่กลอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่ิอนขุนด่านปราการชล เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนกิ่วคอหมา นอกจากนี้ ยังมี โรงไฟฟ้าพลังน้ำท้ายเขื่อนที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอีก 2 แห่ง คือ เขื่อนคลองตรอน และเขื่อนผาจุก ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 และ ปี 2565 ตามลำดับ เมื่อแล้วเสร็จจะมีกำลังผลิตรวม 100.7 เมกะวัตต์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 305,031 ตันต่อปี
“กฟผ. เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการพัฒนาโรงไฟฟ้าจากพลังน้ำท้ายเขื่อนชลประทาน ซึ่งมีอายุการใช้งานยาวนาน และมีต้นทุนการผลิตถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนชนิดอื่น ถือเป็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างคุ้มค่า เกิดความมั่นคงทางพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” นายนิกูล กล่าวทิ้งท้าย.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024