บรรยายภาพ – ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร (กลาง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกิจกรรม “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ครั้งที่ 2 ในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 ร่วมสร้างหลุมขนมครกเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ โดยมี (จากซ้าย) นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี
นายพิษณุ นิ่มสกุล ตัวแทน ชุมชนกสิกรรมวิถี หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ อ.หนองแซง จ.สระบุรี นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการ จ.จันทบุรี นางแววศิริ ฤทธิโยธี แห่งบ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์ฯ และ นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เข้าร่วม ณ บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
จันทบุรี – 9 มิถุนายน 2561 – บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ที่บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค พร้อมถ่ายทอดตัวอย่างความสำเร็จ “คนต้นแบบ” สร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วประเทศร่วมสานต่อศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
“เอามื้อสามัคคี” หรือการลงแขกช่วยเหลือกันพัฒนาพื้นที่ต่างๆ เป็นกิจกรรมในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 โดยในครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 โครงการฯ ได้ชักชวนให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกันขุดหลุมขนมครกเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานเปิดงานกล่าวว่า “จากการดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมว่า คนที่นำแนวทางศาสตร์พระราชาไปปฏิบัตินั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ สอดคล้องกับแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง ตามที่พระองค์ท่านทรงเน้นย้ำว่า ความยั่งยืน คือ ความเหมาะสม โดยเริ่มจากการพัฒนาคน นอกจากนี้ กิจกรรมเอามื้อสามัคคียังสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนให้ได้ 5 ล้านไร่ ในปี 2564 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) โดยสนับสนุนเกษตรกรให้พัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากเดิมไปสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบอื่นๆ” ในปีนี้เป็นปีสุดท้ายของระยะที่ 2 ของแผนหลัก 9 ปีของโครงการฯ ซึ่งจะเน้น “การแตกตัว” หรือการขยายผลในระดับทวีคูณเพื่อสร้างคน สร้างครู สร้างเครื่องมือยกระดับศูนย์เรียนรู้สู่การศึกษาตลอดชีวิต โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน
นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แกนนำภาคเอกชน กล่าวว่า “เราใช้แนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ คือการนำสิ่งที่เรียนรู้และความสำเร็จในการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนใน 4 พื้นที่ 3 ลุ่มน้ำที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างต้นแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง โดยจะนำความสำเร็จนี้ไปเผยแพร่เพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจสู่ของชุมชนอื่นทั่วประเทศต่อไป ซึ่งความมุ่งหวังของโครงการฯ คือต้องการที่จะทำให้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก แต่เป็นหนทางหลักของเกษตรกรไทย”
สำหรับการเลือกพื้นที่เป้าหมายในการจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งที่ 2 อ.ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายภาควิชาการกล่าวว่า “โครงการฯ ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงห่วงใยประชาชนในจันทบุรีซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ปัญหาภัยแล้งจึงเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่ รวมทั้งยังมีการใช้สารเคมีในการเกษตรค่อนข้างมาก กิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งนี้ จึงเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปลูกและผู้บริโภค รวมถึงขยายผลโดยใช้ช่องทางเฟซบุ๊ก www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างหลุมขนมครก และมีผู้สนใจ 500 กว่าคนที่จะมาช่วยกันสร้างหลุมขนมครกเพื่อเก็บกักน้ำในหน้าแล้ง”
นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี กล่าวเสริมว่า “ตอนที่อาจารย์ยักษ์ (ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร) เมื่อปี 2544-2545 เริ่มทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ ได้เลือก จ.จันทบุรี เป็นเป้าหมายแรกเพราะเชื่อว่าคนจันท์กล้าคิด กล้าทำ กล้าลงทุน ถ้าที่นี่ทำเกษตรอินทรีย์ได้ คนที่อื่นๆ จะทำตาม และเปลี่ยนได้ทั้งประเทศ อาจารย์ยักษ์และทีมงานจึงลงไปพื้นที่ ทั้งอบรมและลงมือทำต่อเนื่อง จนรัฐบาลในยุคนั้นประกาศให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ” แต่ในวันนี้เมื่อเกษตรอินทรีย์แตกตัวไปทั่วประเทศ การทำพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในจ.จันทบุรี กลับมีเกษตรกรเพียงประมาณ 30 กว่ารายและมีพื้นที่แค่ 1,300 กว่าไร่เท่านั้น ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) หรือ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม คือเกษตรกรด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมตรวจสอบ และเป็นการรับรองมาตรฐานของไทย โดยอิงระบบการรับรองตามมาตรฐาน IFOAM : International Federation of Organic Agriculture Movements ซึ่งมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า การสร้างกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของเกษตรกร จึงมีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเกษตรกรส่วนมากถึง 99.99% ยังคงใช้สารเคมีเป็นหลัก ในปีนี้ กลุ่ม PGS จ.จันทบุรี จึงกำหนดยุทธศาสตร์ ‘อินทรีย์ผงาด’ เฉพาะ จ.จันทบุรี โดยมีเป้าหมายขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ 10,000 ไร่ในปีแรก และจะเพิ่มเป็น 10 เท่าในปีถัดไปทุกปี โดยมีทีมงานที่บ่มเพาะมาพร้อมทำงาน และสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก และอีกหลายสถาบัน มาร่วมขับเคลื่อนงานในส่วนนี้ด้วย
ด้านเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย นางแววศิริ ฤทธิโยธี แห่งบ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เล่าว่า “บ้านสวนอิสรีย์ฯ มีสวนยางประมาณ 120 ไร่ และสวนผลไม้ 80 ไร่ ปลูกเงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง พริกไทย และอื่นๆ ผสมผสานกัน ที่บ้านเราอยู่กับสวนมาตลอด พ่อสอนไม่ให้เบียดเบียนธรรมชาติ ตอนแรกทำสวนมะละกอซึ่งใช้สารเคมีมาก แต่เราห่วงเรื่องสุขภาพของตัวเองและคนงานจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ ตอนนี้ไม่ใช้เคมีเลยมา 3 ปีกว่าแล้ว เราขุดบ่อ 7 บ่อรวมทั้งบ่อบาดาล ให้มีน้ำใช้ตลอด เมื่อปี 2560 ก็ได้ไปอบรมเรื่องเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จึงหมักปุ๋ยเองจากความรู้ที่ไปอบรมมา และเราเองก็เป็นหนึ่งในเกษตกร 30 กว่ารายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูงานสม่ำเสมอ” โดยหลังจากนี้ โครงการฯ จะเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้ประชาชนลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการในพระราชดำริฯ อีก 2 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนกสิกรรมวิถี ณ หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ในพื้นที่ของบอย-พิษณุ นิ่มสกุล ที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2561 และพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ในวันที่ 26-28 ตุลาคม 2561 นำโดยบัณฑิต ฉิมชาติหัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน และสุดาพร พรหมรักษา เจ้าของพื้นที่บ้านน้ำปี้ ต.น้ำมวก อ.เวียงสา จ.น่าน ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ทาง www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking.
ภาพ/ข่าว เชฟรอน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
เชฟรอน จัด “เอามื้อสามัคคี” จ. จันทบุรี สานต่อโครงการ “รวมพลังตามรอยพ่อฯ” ปี 6 ส่งต่อองค์ความรู้เกษตรอินทรีย์ เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค
บรรยายภาพ – ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร (กลาง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกิจกรรม “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ครั้งที่ 2 ในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 ร่วมสร้างหลุมขนมครกเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ โดยมี (จากซ้าย) นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี
นายพิษณุ นิ่มสกุล ตัวแทน ชุมชนกสิกรรมวิถี หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ อ.หนองแซง จ.สระบุรี นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร นายพงษ์พัฒน์ วงศ์ตระกูล รองผู้ว่าราชการ จ.จันทบุรี นางแววศิริ ฤทธิโยธี แห่งบ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์ฯ และ นายไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เข้าร่วม ณ บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
จันทบุรี – 9 มิถุนายน 2561 – บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ที่บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค พร้อมถ่ายทอดตัวอย่างความสำเร็จ “คนต้นแบบ” สร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วประเทศร่วมสานต่อศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
“เอามื้อสามัคคี” หรือการลงแขกช่วยเหลือกันพัฒนาพื้นที่ต่างๆ เป็นกิจกรรมในโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี 6 โดยในครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่ 2 โครงการฯ ได้ชักชวนให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกันขุดหลุมขนมครกเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง และส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน
ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานเปิดงานกล่าวว่า “จากการดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมว่า คนที่นำแนวทางศาสตร์พระราชาไปปฏิบัตินั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ สอดคล้องกับแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง ตามที่พระองค์ท่านทรงเน้นย้ำว่า ความยั่งยืน คือ ความเหมาะสม โดยเริ่มจากการพัฒนาคน นอกจากนี้ กิจกรรมเอามื้อสามัคคียังสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนให้ได้ 5 ล้านไร่ ในปี 2564 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) โดยสนับสนุนเกษตรกรให้พัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากเดิมไปสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบอื่นๆ”
ในปีนี้เป็นปีสุดท้ายของระยะที่ 2 ของแผนหลัก 9 ปีของโครงการฯ ซึ่งจะเน้น “การแตกตัว” หรือการขยายผลในระดับทวีคูณเพื่อสร้างคน สร้างครู สร้างเครื่องมือยกระดับศูนย์เรียนรู้สู่การศึกษาตลอดชีวิต โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน
นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แกนนำภาคเอกชน กล่าวว่า “เราใช้แนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ คือการนำสิ่งที่เรียนรู้และความสำเร็จในการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนใน 4 พื้นที่ 3 ลุ่มน้ำที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างต้นแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง โดยจะนำความสำเร็จนี้ไปเผยแพร่เพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจสู่ของชุมชนอื่นทั่วประเทศต่อไป ซึ่งความมุ่งหวังของโครงการฯ คือต้องการที่จะทำให้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก แต่เป็นหนทางหลักของเกษตรกรไทย”
สำหรับการเลือกพื้นที่เป้าหมายในการจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งที่ 2 อ.ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายภาควิชาการกล่าวว่า “โครงการฯ ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงห่วงใยประชาชนในจันทบุรีซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ ปัญหาภัยแล้งจึงเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่ รวมทั้งยังมีการใช้สารเคมีในการเกษตรค่อนข้างมาก กิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งนี้ จึงเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปลูกและผู้บริโภค รวมถึงขยายผลโดยใช้ช่องทางเฟซบุ๊ก www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างหลุมขนมครก และมีผู้สนใจ 500 กว่าคนที่จะมาช่วยกันสร้างหลุมขนมครกเพื่อเก็บกักน้ำในหน้าแล้ง”
นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี กล่าวเสริมว่า “ตอนที่อาจารย์ยักษ์ (ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร) เมื่อปี 2544-2545 เริ่มทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ ได้เลือก จ.จันทบุรี เป็นเป้าหมายแรกเพราะเชื่อว่าคนจันท์กล้าคิด กล้าทำ กล้าลงทุน ถ้าที่นี่ทำเกษตรอินทรีย์ได้ คนที่อื่นๆ จะทำตาม และเปลี่ยนได้ทั้งประเทศ อาจารย์ยักษ์และทีมงานจึงลงไปพื้นที่ ทั้งอบรมและลงมือทำต่อเนื่อง จนรัฐบาลในยุคนั้นประกาศให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ”
แต่ในวันนี้เมื่อเกษตรอินทรีย์แตกตัวไปทั่วประเทศ การทำพื้นที่เกษตรอินทรีย์ในจ.จันทบุรี กลับมีเกษตรกรเพียงประมาณ 30 กว่ารายและมีพื้นที่แค่ 1,300 กว่าไร่เท่านั้น ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) หรือ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม คือเกษตรกรด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมตรวจสอบ และเป็นการรับรองมาตรฐานของไทย โดยอิงระบบการรับรองตามมาตรฐาน IFOAM : International Federation of Organic Agriculture Movements ซึ่งมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
การสร้างกระบวนการเรียนรู้และมีส่วนร่วมของเกษตรกร จึงมีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเกษตรกรส่วนมากถึง 99.99% ยังคงใช้สารเคมีเป็นหลัก ในปีนี้ กลุ่ม PGS จ.จันทบุรี จึงกำหนดยุทธศาสตร์ ‘อินทรีย์ผงาด’ เฉพาะ จ.จันทบุรี โดยมีเป้าหมายขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ 10,000 ไร่ในปีแรก และจะเพิ่มเป็น 10 เท่าในปีถัดไปทุกปี โดยมีทีมงานที่บ่มเพาะมาพร้อมทำงาน และสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก และอีกหลายสถาบัน มาร่วมขับเคลื่อนงานในส่วนนี้ด้วย
ด้านเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย นางแววศิริ ฤทธิโยธี แห่งบ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เล่าว่า “บ้านสวนอิสรีย์ฯ มีสวนยางประมาณ 120 ไร่ และสวนผลไม้ 80 ไร่ ปลูกเงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง พริกไทย และอื่นๆ ผสมผสานกัน ที่บ้านเราอยู่กับสวนมาตลอด พ่อสอนไม่ให้เบียดเบียนธรรมชาติ ตอนแรกทำสวนมะละกอซึ่งใช้สารเคมีมาก แต่เราห่วงเรื่องสุขภาพของตัวเองและคนงานจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์ ตอนนี้ไม่ใช้เคมีเลยมา 3 ปีกว่าแล้ว เราขุดบ่อ 7 บ่อรวมทั้งบ่อบาดาล ให้มีน้ำใช้ตลอด เมื่อปี 2560 ก็ได้ไปอบรมเรื่องเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จึงหมักปุ๋ยเองจากความรู้ที่ไปอบรมมา และเราเองก็เป็นหนึ่งในเกษตกร 30 กว่ารายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูงานสม่ำเสมอ”
โดยหลังจากนี้ โครงการฯ จะเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้ประชาชนลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการในพระราชดำริฯ อีก 2 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนกสิกรรมวิถี ณ หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ในพื้นที่ของบอย-พิษณุ นิ่มสกุล ที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2561 และพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ในวันที่ 26-28 ตุลาคม 2561 นำโดยบัณฑิต ฉิมชาติหัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน และสุดาพร พรหมรักษา เจ้าของพื้นที่บ้านน้ำปี้ ต.น้ำมวก อ.เวียงสา จ.น่าน
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ทาง www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking.
ภาพ/ข่าว เชฟรอน
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024