มรภ.สงขลา สัมมนาสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้นักตรวจสอบภายในทั่วประเทศ ระดมสมองแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน เติมเต็มทักษะศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อธิการบดีฯ ยกการตรวจสอบภายในเป็นกลไกสำคัญของผู้บริหาร ช่วยกำกับดูแลองค์กร
ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการเครือข่ายการจัดการความรู้นักตรวจสอบภายในระหว่างมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 7-8 มิ.ย. 61 ณ โรงแรมนิว ซีซัน สแวร์ หาดใหญ่ ว่า การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญของผู้บริหารในการกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กร ผู้ตรวจสอบภายในจึงต้องมีการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดทักษะและสามารถปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากปัจจุบันการทำงานต้องอาศัยความรู้และข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ เพื่อให้หน่วยงานสามารถใช้ความรู้และข้อมูลในการตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว ครบถ้วน ถูกต้อง และมีความเป็นมืออาชีพที่เชื่อถือได้ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการทำงานของเครือข่ายที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน มรภ.สงขลา จึงเทียบเชิญนักตรวจสอบภายในหรือผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 70 คน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานร่วมกัน
นางวริษฐา ตันติพงศ์ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในประจำ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า ในกระบวนการทำงานของเครือข่ายสิ่งที่ได้รับนอกจากผลสำเร็จตามที่ต้องการแล้ว ความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง หน่วยตรวจสอบภายในจึงจัดโครงการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในได้รับการพัฒนาทักษะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบของแต่ละสถาบัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแง่มุมต่างๆ และสร้างสัมพันธไมตรีอันดีต่อกันระหว่างผู้ตรวจสอบภายใน ทั้งยังเป็นโอกาสในการเข้ารับความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อ มาตรการป้องกันการทุจริตในสถาบันอุดมศึกษา จาก ผศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำ จ.สงขลา (ป.ป.จ.) แนวทางการตรวจสอบงบการเงินและแนวทางการตรวจสอบด้านอื่นที่เชื่อมโยงไปสู่คณะและส่วนงาน จาก นางอารีย์ เภรีก้องเกียรติ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการพิเศษ การเขียนรายงานผลการตรวจสอบ จาก ดร.เจษฎา ช.เจริญยิ่งกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ด้าน ผศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ ประธานกรรมการ ป.ป.จ.สงขลา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสว่า “ภายใน 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญคือ ต้องหยุดการทุจริตให้สำเร็จ และไม่ทุจริตเสียเอง” ทุจริตในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องเงินทองอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงการละเลยทางราชการด้วย ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดจากการบริหารจัดการของภาครัฐ ที่ระบบราชการขาดความโปรงใส ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารราชการ การกำกับดูแลที่เป็นกลางหรือไม่มีอิสระเต็มที่ ขาดมุมมองของการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือการใช้กฎหมายในมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง หรือการใช้ช่องวางของกฎหมาย เป็นช่องทางการแสวงหาโอกาสสำหรับตนเองและพวกพ้อง การที่จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยสร้างกรอบความคิดรวบยอด ปฏิรูปค่านิยม สังคมต้องเข้มแข็ง โดยให้มีกลไกในการสร้างค่านิยมที่ถึงประสงค์จากกลไกผู้นำและนโยบายแห่งรัฐ กลไกการหล่อหลอมทางสังคม และ กลไกการสนับสนุน
ผศ.ดร.ไพโรจน์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีอิสระ สามารถรายงานข้อเท็จจริงให้กับผู้บริหารทราบตามความเป็นจริง 2. ผู้ตรวจสอบภายในต้องตรวจสอบในเชิงรุก นอกเหนือจากการตรวจสอบตามแผนการตรวจประจำปี 3. ผู้ตรวจสอบภายในควรจะต้องมีการทำข้อมูลแวดล้อมมาประกอบการตรวจสอบทางบัญชีด้วย 4. ผู้ตรวจสอบภายในนอกเหนือจากมีความรู้ด้านบัญชีแล้ว ควรมีความรู้ด้านกฎหมายด้วย หรือปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับนักกฎหมาย 5. มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการตรวจสอบ และ 6. มีการนำหลักเกณฑ์ในเรื่องการบริหารความเสี่ยงมาใช้ประกอบการตรวจสอบด้วย.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
May 25, 2025
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา สร้างเครือข่ายจัดการความรู้ นักตรวจสอบภายในทั่วประเทศ
มรภ.สงขลา สัมมนาสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้นักตรวจสอบภายในทั่วประเทศ ระดมสมองแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน เติมเต็มทักษะศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อธิการบดีฯ ยกการตรวจสอบภายในเป็นกลไกสำคัญของผู้บริหาร ช่วยกำกับดูแลองค์กร
ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการเครือข่ายการจัดการความรู้นักตรวจสอบภายในระหว่างมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 7-8 มิ.ย. 61 ณ โรงแรมนิว ซีซัน สแวร์ หาดใหญ่ ว่า การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญของผู้บริหารในการกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กร ผู้ตรวจสอบภายในจึงต้องมีการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดทักษะและสามารถปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากปัจจุบันการทำงานต้องอาศัยความรู้และข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ เพื่อให้หน่วยงานสามารถใช้ความรู้และข้อมูลในการตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว ครบถ้วน ถูกต้อง และมีความเป็นมืออาชีพที่เชื่อถือได้ ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการทำงานของเครือข่ายที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน มรภ.สงขลา จึงเทียบเชิญนักตรวจสอบภายในหรือผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภายในจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 70 คน มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานร่วมกัน
นางวริษฐา ตันติพงศ์ หัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายในประจำ มรภ.สงขลา ผู้เสนอโครงการ กล่าวว่า ในกระบวนการทำงานของเครือข่ายสิ่งที่ได้รับนอกจากผลสำเร็จตามที่ต้องการแล้ว ความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง หน่วยตรวจสอบภายในจึงจัดโครงการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้ตรวจสอบภายในได้รับการพัฒนาทักษะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบของแต่ละสถาบัน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในแง่มุมต่างๆ และสร้างสัมพันธไมตรีอันดีต่อกันระหว่างผู้ตรวจสอบภายใน ทั้งยังเป็นโอกาสในการเข้ารับความรู้เพิ่มเติมในหัวข้อ มาตรการป้องกันการทุจริตในสถาบันอุดมศึกษา จาก ผศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำ จ.สงขลา (ป.ป.จ.) แนวทางการตรวจสอบงบการเงินและแนวทางการตรวจสอบด้านอื่นที่เชื่อมโยงไปสู่คณะและส่วนงาน จาก นางอารีย์ เภรีก้องเกียรติ นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการพิเศษ การเขียนรายงานผลการตรวจสอบ จาก ดร.เจษฎา ช.เจริญยิ่งกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ด้าน ผศ.ดร.ไพโรจน์ ด้วงวิเศษ ประธานกรรมการ ป.ป.จ.สงขลา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำรัสว่า “ภายใน 10 ปีเมืองไทยน่าจะเจริญ ข้อสำคัญคือ ต้องหยุดการทุจริตให้สำเร็จ และไม่ทุจริตเสียเอง” ทุจริตในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเรื่องเงินทองอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงการละเลยทางราชการด้วย ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดจากการบริหารจัดการของภาครัฐ ที่ระบบราชการขาดความโปรงใส ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารราชการ การกำกับดูแลที่เป็นกลางหรือไม่มีอิสระเต็มที่ ขาดมุมมองของการใช้อำนาจที่ถูกต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือการใช้กฎหมายในมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง หรือการใช้ช่องวางของกฎหมาย เป็นช่องทางการแสวงหาโอกาสสำหรับตนเองและพวกพ้อง การที่จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยสร้างกรอบความคิดรวบยอด ปฏิรูปค่านิยม สังคมต้องเข้มแข็ง โดยให้มีกลไกในการสร้างค่านิยมที่ถึงประสงค์จากกลไกผู้นำและนโยบายแห่งรัฐ กลไกการหล่อหลอมทางสังคม และ กลไกการสนับสนุน
ผศ.ดร.ไพโรจน์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของการตรวจสอบภายในที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1. ผู้ตรวจสอบภายในต้องมีอิสระ สามารถรายงานข้อเท็จจริงให้กับผู้บริหารทราบตามความเป็นจริง 2. ผู้ตรวจสอบภายในต้องตรวจสอบในเชิงรุก นอกเหนือจากการตรวจสอบตามแผนการตรวจประจำปี 3. ผู้ตรวจสอบภายในควรจะต้องมีการทำข้อมูลแวดล้อมมาประกอบการตรวจสอบทางบัญชีด้วย 4. ผู้ตรวจสอบภายในนอกเหนือจากมีความรู้ด้านบัญชีแล้ว ควรมีความรู้ด้านกฎหมายด้วย หรือปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับนักกฎหมาย 5. มีการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการตรวจสอบ และ 6. มีการนำหลักเกณฑ์ในเรื่องการบริหารความเสี่ยงมาใช้ประกอบการตรวจสอบด้วย.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มรภ.สงขลา ส่ง นศ.-บุคลากร เข้าค่าย “ผู้นำเยาวชน คนราชภัฏ 2025 ...
May 25, 2025
มรภ.สงขลา ลงนามความร่วมมือ รพ.กรุงเทพหาดใหญ่ ให้บริการทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ
May 25, 2025
มรภ.สงขลา บันทึกเทปถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี
May 25, 2025
“เกษตร” มรภ.สงขลา จัดอบรมผลิตผักยกแคร่อินทรีย์ครบวงจร ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาแก้ปัญหาน้ำท่วมแปลงผัก ต่อยอดสร้างรายได้ ขยายผลสู่ชุมชน
May 25, 2025