เมื่อปี 2558 – 2560 ที่ผ่านมา มีการขุดค้นโบราณสถานหมายเลข 14 ของเมืองโบราณอู่ทอง ที่ตั้งอยู่บริเวณติดกับคูเมืองฝั่งนอกเกาะเมืองทางทิศตะวันตก โดยมีคุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดีเป็นผู้ดำเนินการขุดค้น ปรากฏเป็นซากอาคารก่ออิฐ ที่มีกระเบื้องหลังคาแผ่นหนาแตกหักจมลงไปใต้พื้นดินเป็นจำนวนมาก และเมื่อยิ่งขุดลงไปในช่วงแรกทดสอบชั้นดิน 5 * 5 เมตร ก็ยิ่งพบกระเบื้องจมลงไปในชั้นดินที่ต่ำกว่าระดับลานปูอิฐด้านหน้าของอาคาร (ฝั่งทิศใต้) จนลึกถึงระดับประมาณ 3 เมตร มาหยุดที่พื้นของอาคารที่เป็นแผ่นอิฐปูพื้นไว้เป็นลานกว้าง . ในกองดินที่มีกระเบื้องหลังคาทับถมบนพื้นอาคาร ขุดลงมาจนถึงบริเวณข้างผนังกำแพงของอาคารที่จมอยู่ใต้ดิน ได้พบ “ตะคันดินเผา” สำหรับใส่น้ำมันตามไฟหรือเทียนอบ จุดเป็นประทีปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งที่สมบูรณ์และแตกหักเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคล พระพิมพ์ดินเผา ลูกกรงมะหวด แท่งดินเผารูปกรวยประดับสันหลังคา ฯลฯ . อีกทั้งยังพบ “ภาพปั้นดินเผา” (Terracotta plaques) รูปอดีตพระพุทธเจ้า จำนวนมากกว่า 100 องค์ ในสภาพถูกทุบทำลายจนเสียหาย ทิ้งกระจัดกระจายไปทั่วพื้นอาคารครับ . และเมื่อมีการขุดขยายพื้นที่ไปทางเหนือในช่วงปลายปี 2559 ก็พบภาพปั้นดินเผาและวัตถุโบราณที่คล้ายคลึงกันเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก อีกทั้งชิ้นส่วนของธรรมจักร พระพุทธรูปสำริดที่หักกระจายอยู่บนพื้นลาน . คงสันนิษฐานได้ว่า ภาพปั้นดินเผารูปพระพุทธเจ้าและรูปปูนปั้นบุคคลแสดงการอัญชลีทั้งหมดนี้ คงเคยถูกใช้ประดับอยู่โดยรอบผนัง “ชั้นใต้ดิน” ของวิหารทวารวดี อาคารก่ออิฐที่มีความยาววัดจากผนังภายในยาว 30 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร ฝั่งทิศเหนือของอาคารมีร่องรอยของสถูปทรงกลมเป็นเจติยะสำคัญของศาสนสถาน โดยพบชิ้นส่วนก่อสร้างเป็นศิลาแลง เช่น ยอดเจดีย์ หินรูปโค้งเป็นฐาน รวมทั้งปูนปั้นฉาบประดับตัวเจดีย์และอาคารในส่วนต่าง ๆ แตกกระจายอยู่โดยรอบ อีกทั้งยังพบร่องรอยการขุดเจาะลงมาเพื่อค้นหาสิ่งของมีค่าที่บริเวณกลางเจดีย์อีกด้วย … ลักษณะเป็นพระพุทธรูปดินเผา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิแบบขัดสมาธิเพชร หงายพระบาทออกให้เห็นทั้งสองด้าน (อีกด้านหนึ่งทำเป็นจีวรคลุมไว้จึงมองไม่เห็นพระบาท) พุทธศิลป์ในอิทธิพลทางศิลปะที่ผ่านมาจากปาละและพุกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ครับ … การลดระดับพื้นอาคารลงไปใต้ระดับผิวดินปกติและยกกำแพงอิฐเสริมหินที่กรุผนังดินขึ้นมาในระดับไม่สูงมากนักจากพื้นบน แต่ก็รวมกันแล้ว สูงประมาณ 4 เมตร จากระดับพื้นอาคารใต้ดิน น่าจะเป็นเทคนิคการเพิ่มความกว้างขวางของคูหาให้มีความโอ่งโถงมากขึ้นโดยไม่ต้องยกเสาตั้งโครงสร้างอาคารเครื่องไม้ขึ้นไปให้สูงจากระดับพื้นมากนัก ซึ่งในยุคโบราณที่เทคโนโลยีมีจำกัด (ในแต่ละพื้นที่ อาจมีช่างฝีมือแตกต่างกัน) การก่อสร้างอาคารเครื่องไม้ขนาดใหญ่มุงกระเบื้อง อาจไม่สะดวกต่อการรับแรงกระแทกของพายุฝนในช่วงฤดูมรสุมหรือพายุฤดูร้อน …. ภาพวาดสันนิษฐาน แสดงให้เห็นว่า บริเวณด้านหน้าของอาคารเป็นลานปูพื้นอิฐที่มีหลังคาโปร่งคลุมทรงหน้าจั่ว มีพระพุทธรูปยืนพิงผนังประภามณฑลอยู่ด้านหลัง ตามร่องรอยของฐานบัวครึ่งวงกลมที่พบ ถัดมาเป็นบันไดทำจากไม้ต่อลงมายังอาคารที่มีระดับต่ำกว่าพื้นบน 2.5 เมตร บนผนังประดับด้วยรูปอดีตพระพุทธเจ้าและรูปบุคคลในลวดบัวโดยรอบกำแพง ผนังยกเสาไม้ไม่สูงนัก อาจทำเป็นผนังทึบ ต่อหัวเสาเป็นโครงไม้ ทำขื่อคาน อะเส เสาตั้ง ยอดเป็นอกไก่ วางจันทันรับไม้แปเพื่อมุงหลังคากระเบื้องแผ่นหนาขนาด กว้างยาว 17 * 35 เซนติเมตร หนา 2.3 เซนติเมตร โดยกระเบื้องยังปรากฏรูสำหรับใส่ไม้หมุด 2 รู สำหรับเข้าเดือยแขวนบนไม้แปอยู่ฝั่งหนึ่ง แสดงว่าเป็นกระเบื้องที่มุมหลังคาแบบลาดเทไปด้านหนึ่งหรือหลังคาแบบหน้าจั่วครับ .. หลังคาของอาคารอาจมีหลังคาหน้าจั่วต่อขึ้นไปสูงและแผ่ปกคลุมลงมานอกตัวผนัง โดยมีเสารองรับอยู่นอกอาคารอีกแถวหนึ่ง ลักษณะเดียวกันกับหลังคาทรง “ม้าต่างไหม” วิหารโบราณในเขตล้านนา – ล้านช้าง .. ที่ตรงกลางค่อนไปทางเหนือของพื้นอาคารเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์อันเป็นประธานของศาสนสถาน มีสัณฐานกลม มีปูนปั้นประดับทั้งองค์ ลักษณะนี้คล้ายคลึงกับวิหารในพุกามและภาคเหนือหลายแห่ง อย่างวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่เปิดโล่ง มีกู่ (เจดีย์) เป็นประธานของพระวิหาร . แต่กระนั้น ด้วยเพราะวิหารทวารวดีหลังนี้สร้างให้พื้นอาคารจมลงไปใต้ดิน อีกทั้งยังมีภาพประติมากรรมทางศาสนาประดับประดาบนผนังอยู่รายล้อม จึงอาจพาให้หลงใหล จินตนาการไปถึงหมู่ถ้ำโบราณในอินเดีย อย่าง อชันตา กันเหรี ที่มีสถูปเจติยะเป็นประธาน และมีรูปสลักตามคติความเชื่อที่งดงามอยู่บนผนังถ้ำ ภายในคูหาที่มีเพียงแสงสลัวลอดผ่านเข้าไปภายใน . ด้วยเหตุนี้ วิหารใต้ดินในยุคทวารวดีนี้ จึงถูกเรียกอย่างกิ๊บเก๋ว่า “วิหารถ้ำ” แห่งเมืองโบราณอู่ทอง . ส่วน “ภาพปั้นดินเผา” และวัตถุโบราณสำคัญที่ขุดค้นได้จากวิหารถ้ำนี้ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ครับ
วรณัย พงศาชลากร EJeab Academy เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 24, 2024
November 21, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
วิหารใต้ดิน ยุคทวารวดี ที่เมืองโบราณอู่ทอง
เมื่อปี 2558 – 2560 ที่ผ่านมา มีการขุดค้นโบราณสถานหมายเลข 14 ของเมืองโบราณอู่ทอง ที่ตั้งอยู่บริเวณติดกับคูเมืองฝั่งนอกเกาะเมืองทางทิศตะวันตก โดยมีคุณศุภชัย นวการพิศุทธิ์ นักโบราณคดีเป็นผู้ดำเนินการขุดค้น ปรากฏเป็นซากอาคารก่ออิฐ ที่มีกระเบื้องหลังคาแผ่นหนาแตกหักจมลงไปใต้พื้นดินเป็นจำนวนมาก และเมื่อยิ่งขุดลงไปในช่วงแรกทดสอบชั้นดิน 5 * 5 เมตร ก็ยิ่งพบกระเบื้องจมลงไปในชั้นดินที่ต่ำกว่าระดับลานปูอิฐด้านหน้าของอาคาร (ฝั่งทิศใต้) จนลึกถึงระดับประมาณ 3 เมตร มาหยุดที่พื้นของอาคารที่เป็นแผ่นอิฐปูพื้นไว้เป็นลานกว้าง
.
ในกองดินที่มีกระเบื้องหลังคาทับถมบนพื้นอาคาร ขุดลงมาจนถึงบริเวณข้างผนังกำแพงของอาคารที่จมอยู่ใต้ดิน ได้พบ “ตะคันดินเผา” สำหรับใส่น้ำมันตามไฟหรือเทียนอบ จุดเป็นประทีปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งที่สมบูรณ์และแตกหักเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคล พระพิมพ์ดินเผา ลูกกรงมะหวด แท่งดินเผารูปกรวยประดับสันหลังคา ฯลฯ
.
อีกทั้งยังพบ “ภาพปั้นดินเผา” (Terracotta plaques) รูปอดีตพระพุทธเจ้า จำนวนมากกว่า 100 องค์ ในสภาพถูกทุบทำลายจนเสียหาย ทิ้งกระจัดกระจายไปทั่วพื้นอาคารครับ
.
และเมื่อมีการขุดขยายพื้นที่ไปทางเหนือในช่วงปลายปี 2559 ก็พบภาพปั้นดินเผาและวัตถุโบราณที่คล้ายคลึงกันเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก อีกทั้งชิ้นส่วนของธรรมจักร พระพุทธรูปสำริดที่หักกระจายอยู่บนพื้นลาน
.
คงสันนิษฐานได้ว่า ภาพปั้นดินเผารูปพระพุทธเจ้าและรูปปูนปั้นบุคคลแสดงการอัญชลีทั้งหมดนี้ คงเคยถูกใช้ประดับอยู่โดยรอบผนัง “ชั้นใต้ดิน” ของวิหารทวารวดี อาคารก่ออิฐที่มีความยาววัดจากผนังภายในยาว 30 เมตร กว้างประมาณ 10 เมตร ฝั่งทิศเหนือของอาคารมีร่องรอยของสถูปทรงกลมเป็นเจติยะสำคัญของศาสนสถาน โดยพบชิ้นส่วนก่อสร้างเป็นศิลาแลง เช่น ยอดเจดีย์ หินรูปโค้งเป็นฐาน รวมทั้งปูนปั้นฉาบประดับตัวเจดีย์และอาคารในส่วนต่าง ๆ แตกกระจายอยู่โดยรอบ อีกทั้งยังพบร่องรอยการขุดเจาะลงมาเพื่อค้นหาสิ่งของมีค่าที่บริเวณกลางเจดีย์อีกด้วย
…
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปดินเผา เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิแบบขัดสมาธิเพชร หงายพระบาทออกให้เห็นทั้งสองด้าน (อีกด้านหนึ่งทำเป็นจีวรคลุมไว้จึงมองไม่เห็นพระบาท) พุทธศิลป์ในอิทธิพลทางศิลปะที่ผ่านมาจากปาละและพุกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 ครับ
…
การลดระดับพื้นอาคารลงไปใต้ระดับผิวดินปกติและยกกำแพงอิฐเสริมหินที่กรุผนังดินขึ้นมาในระดับไม่สูงมากนักจากพื้นบน แต่ก็รวมกันแล้ว สูงประมาณ 4 เมตร จากระดับพื้นอาคารใต้ดิน น่าจะเป็นเทคนิคการเพิ่มความกว้างขวางของคูหาให้มีความโอ่งโถงมากขึ้นโดยไม่ต้องยกเสาตั้งโครงสร้างอาคารเครื่องไม้ขึ้นไปให้สูงจากระดับพื้นมากนัก ซึ่งในยุคโบราณที่เทคโนโลยีมีจำกัด (ในแต่ละพื้นที่ อาจมีช่างฝีมือแตกต่างกัน) การก่อสร้างอาคารเครื่องไม้ขนาดใหญ่มุงกระเบื้อง อาจไม่สะดวกต่อการรับแรงกระแทกของพายุฝนในช่วงฤดูมรสุมหรือพายุฤดูร้อน
….
ภาพวาดสันนิษฐาน แสดงให้เห็นว่า บริเวณด้านหน้าของอาคารเป็นลานปูพื้นอิฐที่มีหลังคาโปร่งคลุมทรงหน้าจั่ว มีพระพุทธรูปยืนพิงผนังประภามณฑลอยู่ด้านหลัง ตามร่องรอยของฐานบัวครึ่งวงกลมที่พบ ถัดมาเป็นบันไดทำจากไม้ต่อลงมายังอาคารที่มีระดับต่ำกว่าพื้นบน 2.5 เมตร บนผนังประดับด้วยรูปอดีตพระพุทธเจ้าและรูปบุคคลในลวดบัวโดยรอบกำแพง ผนังยกเสาไม้ไม่สูงนัก อาจทำเป็นผนังทึบ ต่อหัวเสาเป็นโครงไม้ ทำขื่อคาน อะเส เสาตั้ง ยอดเป็นอกไก่ วางจันทันรับไม้แปเพื่อมุงหลังคากระเบื้องแผ่นหนาขนาด กว้างยาว 17 * 35 เซนติเมตร หนา 2.3 เซนติเมตร โดยกระเบื้องยังปรากฏรูสำหรับใส่ไม้หมุด 2 รู สำหรับเข้าเดือยแขวนบนไม้แปอยู่ฝั่งหนึ่ง แสดงว่าเป็นกระเบื้องที่มุมหลังคาแบบลาดเทไปด้านหนึ่งหรือหลังคาแบบหน้าจั่วครับ
..
หลังคาของอาคารอาจมีหลังคาหน้าจั่วต่อขึ้นไปสูงและแผ่ปกคลุมลงมานอกตัวผนัง โดยมีเสารองรับอยู่นอกอาคารอีกแถวหนึ่ง ลักษณะเดียวกันกับหลังคาทรง “ม้าต่างไหม” วิหารโบราณในเขตล้านนา – ล้านช้าง
..
ที่ตรงกลางค่อนไปทางเหนือของพื้นอาคารเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์อันเป็นประธานของศาสนสถาน มีสัณฐานกลม มีปูนปั้นประดับทั้งองค์ ลักษณะนี้คล้ายคลึงกับวิหารในพุกามและภาคเหนือหลายแห่ง อย่างวิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ที่เป็นวิหารขนาดใหญ่เปิดโล่ง มีกู่ (เจดีย์) เป็นประธานของพระวิหาร
.
แต่กระนั้น ด้วยเพราะวิหารทวารวดีหลังนี้สร้างให้พื้นอาคารจมลงไปใต้ดิน อีกทั้งยังมีภาพประติมากรรมทางศาสนาประดับประดาบนผนังอยู่รายล้อม จึงอาจพาให้หลงใหล จินตนาการไปถึงหมู่ถ้ำโบราณในอินเดีย อย่าง อชันตา กันเหรี ที่มีสถูปเจติยะเป็นประธาน และมีรูปสลักตามคติความเชื่อที่งดงามอยู่บนผนังถ้ำ ภายในคูหาที่มีเพียงแสงสลัวลอดผ่านเข้าไปภายใน
.
ด้วยเหตุนี้ วิหารใต้ดินในยุคทวารวดีนี้ จึงถูกเรียกอย่างกิ๊บเก๋ว่า “วิหารถ้ำ” แห่งเมืองโบราณอู่ทอง
.
ส่วน “ภาพปั้นดินเผา” และวัตถุโบราณสำคัญที่ขุดค้นได้จากวิหารถ้ำนี้ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ครับ
วรณัย พงศาชลากร EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาคที่ 2 ช่วยเหลือเหตุเรืออับปางในทะเล บริเวณทางทิศตะวันออกของร่องน้ำสงขลา
November 24, 2024
JUBILEE DIAMOND ฉลองครบรอบ 95 ปี เปิดบ้าน THE ...
November 24, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024