**โครงการ FSRU อยู่ระหว่างลงพื้นที่สำรวจด้านเศรษฐกิจ สังคมและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ในพื้นที่ศึกษาโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติฯ แนววางท่อส่วนบนบก วางขนานเขตคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ และใต้เขตระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ในจังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทางประมาณ 40 กม. ซึ่งเป็นแนววางท่อที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุด ปัจจุบันการลงพื้นที่สำรวจฯ ดำเนินการไปแล้วเกือบ 90%
ว่าที่ พ.ต. ดร. อนุชาต ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์โครงการ (ชพฟช.) เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification : FSRU) บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน โครงการท่าเทียบเรือ FSRU และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจาก FSRU ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ว่า ภายหลังจาก กฟผ. และบริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด บริษัทที่ปรึกษาในการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดำเนินการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ครั้งที่ 1 บริเวณพื้นที่ที่โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติฯ ส่วนบนบก ในจังหวัดสมุทรปราการแล้วเสร็จ ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561
จากนั้น กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษา ได้ลงพื้นที่ดำเนินงานตามกระบวนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการลงพื้นที่สำรวจด้านเศรษฐกิจ สังคมและความคิดเห็นของประชาชน (Socio-Economic and Opinion Survey) ในกลุ่มผู้นำและประชาชน (ครัวเรือน,สถานประกอบการ,หมู่บ้านจัดสรร) หน่วยงานราชการ สถานพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน และกลุ่มองค์กรต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษา ทั้งในและนอกระยะประชิด เพื่อชี้แจงข้อมูลและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ รวมถึงการเก็บแบบสอบถามสำรวจสภาพเศรษฐกิจ สังคม และรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อห่วงกังวลต่อการดำเนินงานโครงการ ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีความคืบหน้าการดำเนินงานลงพื้นที่สำรวจฯ ในระยะประชิดไปแล้ว 87% และนอกระยะประชิด (ในรัศมี 500 เมตร) ไปแล้ว 88.5% ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จครบทุกพื้นที่ศึกษา ภายในเดือนพฤษภาคม 2561 ทั้งนี้ จากการประเมินทัศนคติต่อโครงการจากการลงพื้นที่ภาคสนาม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติเป็นกลางต่อการดำเนินงานโครงการ
สำหรับ แนววางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ส่วนบนบก ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาโครงการที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุด คือ จุดขึ้นท่อบนบก ในเขตคลองระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ (ฝั่งทิศตะวันตก) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เชื่อมต่อไปยังเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. ประกอบด้วย เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 เควี เส้นบางปะกง-บางพลี (ฝั่งซ้าย) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เรื่อยมาจนถึงเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 เควี เส้นบางพลี-เทพารักษ์ (ฝั่งซ้าย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 เควี เส้นเทพารักษ์-พระนครใต้ (ฝั่งซ้าย) ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จนกระทั่งถึงโรงไฟฟ้าพระนครใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 40 กิโลเมตร
อนึ่ง โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (FSRU) บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน โครงการท่าเทียบเรือ FSRU และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจาก FSRU เป็นโครงการเตรียมความพร้อมรองรับเชื้อเพลิงให้กับประเทศและเสริมความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว เป็นไปตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 มอบหมายให้ กฟผ. เป็นผู้ดำเนินโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย สำหรับรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในปริมาณ 5 ล้านตันต่อปี เพื่อจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าพระนครใต้และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ รวมทั้งจัดส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและส่งก๊าซธรรมชาติได้ในปี 2567.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
โครงการ FSRU ลงพื้นที่สำรวจด้านเศรษฐกิจ สังคมและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ดำเนินการแล้วเกือบ 90%
**โครงการ FSRU อยู่ระหว่างลงพื้นที่สำรวจด้านเศรษฐกิจ สังคมและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ในพื้นที่ศึกษาโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติฯ แนววางท่อส่วนบนบก วางขนานเขตคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ และใต้เขตระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ในจังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทางประมาณ 40 กม. ซึ่งเป็นแนววางท่อที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุด ปัจจุบันการลงพื้นที่สำรวจฯ ดำเนินการไปแล้วเกือบ 90%
ว่าที่ พ.ต. ดร. อนุชาต ปาละกะวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการชุมชนสัมพันธ์โครงการ (ชพฟช.) เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification : FSRU) บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน โครงการท่าเทียบเรือ FSRU และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจาก FSRU ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ว่า ภายหลังจาก กฟผ. และบริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด บริษัทที่ปรึกษาในการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดำเนินการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย ครั้งที่ 1 บริเวณพื้นที่ที่โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติฯ ส่วนบนบก ในจังหวัดสมุทรปราการแล้วเสร็จ ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2561
จากนั้น กฟผ. และบริษัทที่ปรึกษา ได้ลงพื้นที่ดำเนินงานตามกระบวนการศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการลงพื้นที่สำรวจด้านเศรษฐกิจ สังคมและความคิดเห็นของประชาชน (Socio-Economic and Opinion Survey) ในกลุ่มผู้นำและประชาชน (ครัวเรือน,สถานประกอบการ,หมู่บ้านจัดสรร) หน่วยงานราชการ สถานพยาบาล สถานศึกษา ศาสนสถาน และกลุ่มองค์กรต่างๆ ในเขตอำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษา ทั้งในและนอกระยะประชิด เพื่อชี้แจงข้อมูลและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ รวมถึงการเก็บแบบสอบถามสำรวจสภาพเศรษฐกิจ สังคม และรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อห่วงกังวลต่อการดำเนินงานโครงการ ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีความคืบหน้าการดำเนินงานลงพื้นที่สำรวจฯ ในระยะประชิดไปแล้ว 87% และนอกระยะประชิด (ในรัศมี 500 เมตร) ไปแล้ว 88.5% ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จครบทุกพื้นที่ศึกษา ภายในเดือนพฤษภาคม 2561 ทั้งนี้ จากการประเมินทัศนคติต่อโครงการจากการลงพื้นที่ภาคสนาม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติเป็นกลางต่อการดำเนินงานโครงการ
สำหรับ แนววางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ส่วนบนบก ซึ่งเป็นพื้นที่ศึกษาโครงการที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมมากที่สุด คือ จุดขึ้นท่อบนบก ในเขตคลองระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ (ฝั่งทิศตะวันตก) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร เชื่อมต่อไปยังเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. ประกอบด้วย เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 เควี เส้นบางปะกง-บางพลี (ฝั่งซ้าย) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เรื่อยมาจนถึงเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 เควี เส้นบางพลี-เทพารักษ์ (ฝั่งซ้าย) ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 เควี เส้นเทพารักษ์-พระนครใต้ (ฝั่งซ้าย) ระยะทางประมาณ 12 กิโลเมตร จนกระทั่งถึงโรงไฟฟ้าพระนครใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 40 กิโลเมตร
อนึ่ง โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (FSRU) บริเวณพื้นที่อ่าวไทยตอนบน โครงการท่าเทียบเรือ FSRU และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจาก FSRU เป็นโครงการเตรียมความพร้อมรองรับเชื้อเพลิงให้กับประเทศและเสริมความมั่นคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว เป็นไปตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 มอบหมายให้ กฟผ. เป็นผู้ดำเนินโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย สำหรับรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในปริมาณ 5 ล้านตันต่อปี เพื่อจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าพระนครใต้และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ รวมทั้งจัดส่งก๊าซธรรมชาติเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและส่งก๊าซธรรมชาติได้ในปี 2567.
ภาพ/ข่าว กฟผ.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024