“ลูกหลานชาวสุพรรณบุรี ต้องภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นชาวเมืองสุพรรณใต้ร่มพระบารมี บ้านเมืองอันมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน พื้นที่แห่งวีรกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่นำพามาซึ่งเกียรติยศของประเทศไทยแต่ครั้งอดีตกาลตราบจนปัจจุบัน บอกถึงความกล้าหาญชาญชัยและความรักความหวงแหนแผ่นดินไทย จังหวัดสุพรรณบุรีได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณมาโดยตลอดระยะเวลาอันยาวนานมาก สมควรที่ลูกหลานทุกคนจะได้มุ่งมั่นปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเฉกเช่นบรรพบุรุษ สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ถือเป็นคติธรรมชีวิต สิ่งใดเป็นความถูกต้อง สิ่งใดผิดที่เราจะไม่มีวันกระทำผิดซ้ำ และความผิดกับความชั่วไม่เหมือนกัน อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้เป็นชาวเมืองสุพรรณบุรี เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ยึดมั่นความจงรักภักดีเหนือยิ่งสิ่งใด แม้ท่านจะจากพวกเราไปแล้ว แต่ลูกหลานจะเห็นได้ว่า ความดีงามนั้นสถิตเสถียร ไม่จากไปไหน ผู้ใหญ่ทุกๆ คน ณ สถานพินิจฯ ตลอดจนพี่น้องชาวไทย ขอเป็นกำลังใจให้กับลูกหลาน เยาวชนทุกคนจงตั้งมั่นบำเพ็ญคุณความดี และช่วยกันดำรงรักษาประเทศชาติด้วยความตั้งใจจริงและด้วยน้ำพักน้ำแรงอันเป็นความบริสุทธิ์ใจของเราทุกคนสืบไป
อนึ่ง เรื่องอันเกี่ยวข้องกับ จ.สุพรรณบุรี เล่ากันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2441 ขุนปรีชานุศาสน์ (ปล้อง ธรรมารมณ์) ได้ใช้บ้านของท่านสอนหนังสือให้แก่ลูกหลานและเด็กในละแวกบ้าน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกนางพิมในปัจจุบันโดยไม่คิดค่าตอบแทน ประมาณปี พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2441 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ทรงเยี่ยมกิจการสอนหนังสือของนายปล้อง ธรรมารมณ์ มีความพอพระทัยมาก และทรงเห็นว่าสถานที่คับแคบ จึงโปรดให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นริมถนนสายหน้าที่ว่าการเมือง หลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดบริเวณสี่แยกนางพิม เป็นอาคารทรงปั้นหยาชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน จุนักเรียนห้องละ 10 – 15 คน ได้รับประทานนามว่า ‘โรงเรียนปรีชาพิทยากร’ และทรงขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นายปล้อง ธรรมารมณ์ เป็น ‘ขุนปรีชานุศาสน์’
พ.ศ. 2446 พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เห็นว่าอาคารเรียนของโรงเรียนมีสภาพเก่าทรุดโทรม และอาณาบริเวรคับแคบ จึงได้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงทราบ แล้วจึงได้ย้ายไปก่อสร้างอาคารเรียนแห่งใหม่ริมถนนพระพันวษา (ที่ตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งรวมโรงเรียนวัดประตูสารเข้ามาด้วย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรีว่า ‘โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย’ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา”
เมื่อบ่ายวันที่ 26 เม.ย.61 เวลา 13.30 น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม ตรวจเยี่ยมและพบปะกับผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายปกครอง และปฏิบัติหน้าที่ครูพิเศษ วิชา ‘สังคมศึกษา : กำเนิดไทย และสังคมคุณธรรม’ แก่ลูกหลานเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 21, 2024
November 20, 2024
November 19, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและพบปะ กับผู้บริหารสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี
“ลูกหลานชาวสุพรรณบุรี ต้องภาคภูมิใจที่ได้เกิดมาเป็นชาวเมืองสุพรรณใต้ร่มพระบารมี บ้านเมืองอันมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน พื้นที่แห่งวีรกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่นำพามาซึ่งเกียรติยศของประเทศไทยแต่ครั้งอดีตกาลตราบจนปัจจุบัน บอกถึงความกล้าหาญชาญชัยและความรักความหวงแหนแผ่นดินไทย จังหวัดสุพรรณบุรีได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณมาโดยตลอดระยะเวลาอันยาวนานมาก สมควรที่ลูกหลานทุกคนจะได้มุ่งมั่นปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเฉกเช่นบรรพบุรุษ สิ่งใดที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ถือเป็นคติธรรมชีวิต สิ่งใดเป็นความถูกต้อง สิ่งใดผิดที่เราจะไม่มีวันกระทำผิดซ้ำ และความผิดกับความชั่วไม่เหมือนกัน อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา ผู้เป็นชาวเมืองสุพรรณบุรี เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ยึดมั่นความจงรักภักดีเหนือยิ่งสิ่งใด แม้ท่านจะจากพวกเราไปแล้ว แต่ลูกหลานจะเห็นได้ว่า ความดีงามนั้นสถิตเสถียร ไม่จากไปไหน ผู้ใหญ่ทุกๆ คน ณ สถานพินิจฯ ตลอดจนพี่น้องชาวไทย ขอเป็นกำลังใจให้กับลูกหลาน เยาวชนทุกคนจงตั้งมั่นบำเพ็ญคุณความดี และช่วยกันดำรงรักษาประเทศชาติด้วยความตั้งใจจริงและด้วยน้ำพักน้ำแรงอันเป็นความบริสุทธิ์ใจของเราทุกคนสืบไป
อนึ่ง เรื่องอันเกี่ยวข้องกับ จ.สุพรรณบุรี เล่ากันมาว่า เมื่อ พ.ศ. 2441 ขุนปรีชานุศาสน์ (ปล้อง ธรรมารมณ์) ได้ใช้บ้านของท่านสอนหนังสือให้แก่ลูกหลานและเด็กในละแวกบ้าน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกนางพิมในปัจจุบันโดยไม่คิดค่าตอบแทน ประมาณปี พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2441 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสด็จมาตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ทรงเยี่ยมกิจการสอนหนังสือของนายปล้อง ธรรมารมณ์ มีความพอพระทัยมาก และทรงเห็นว่าสถานที่คับแคบ จึงโปรดให้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นริมถนนสายหน้าที่ว่าการเมือง หลังจวนผู้ว่าราชการจังหวัดบริเวณสี่แยกนางพิม เป็นอาคารทรงปั้นหยาชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน จุนักเรียนห้องละ 10 – 15 คน ได้รับประทานนามว่า ‘โรงเรียนปรีชาพิทยากร’ และทรงขอพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นายปล้อง ธรรมารมณ์ เป็น ‘ขุนปรีชานุศาสน์’
พ.ศ. 2446 พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เห็นว่าอาคารเรียนของโรงเรียนมีสภาพเก่าทรุดโทรม และอาณาบริเวรคับแคบ จึงได้กราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงทราบ แล้วจึงได้ย้ายไปก่อสร้างอาคารเรียนแห่งใหม่ริมถนนพระพันวษา (ที่ตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งรวมโรงเรียนวัดประตูสารเข้ามาด้วย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรีว่า ‘โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย’ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา”
เมื่อบ่ายวันที่ 26 เม.ย.61 เวลา 13.30 น. ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม ตรวจเยี่ยมและพบปะกับผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายปกครอง และปฏิบัติหน้าที่ครูพิเศษ วิชา ‘สังคมศึกษา : กำเนิดไทย และสังคมคุณธรรม’ แก่ลูกหลานเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี.
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง สร้างความสุขทั่วอำเภอขนอม
November 21, 2024
โรงไฟฟ้าขนอม ร่วมส่งเสริมสุขภาพชุมชน สนับสนุนอบรม อสม.ใหม่/ทดแทน
November 21, 2024
อบจ.สงขลา ร่วมรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “ค่าของแผ่นดิน” ประจำปี 2566 ด้านการพัฒนาสังคมและส่งเสริมคุณภาพชีวิต จากโครงการ ...
November 20, 2024
อโกด้าเผย หาดใหญ่คว้าแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่คุ้มค่าที่สุดในไทย ช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
November 19, 2024