คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา สุดปลื้ม ชุมชนตื่นตัวเข้าร่วมอบรมใช้พลังงานทดแทน ปี 2 เผยความสำเร็จใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ พลิกฟื้นพื้นที่รกร้าง แห้งแล้ง ให้กลับมาเพาะปลูกได้
ดร.กันตภณ มะหาหมัด รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรมใช้พลังงานทดแทนเพื่อการประหยัดพลังงานแก่ชุมชนเทศบาลตำบลเกาะแต้ว (ทต.เกาะแต้ว) อ.เมือง จ.สงขลา ปีที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เป็นการบริการวิชาการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแก่สังคม ตามนโยบายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในระดับชุมชน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่รัฐบาลส่งเสริม โดย มรภ.สงขลา ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายและจัดอบรมใช้พลังงานทดแทนให้แก่ประชาชน ต.เกาะแต้ว ในปีงบประมาณ 2560 และประสบผลสำเร็จ ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง อันเนื่องมาจากเป็นความต้องการโดยตรงจากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของมหาวิทยาลัย และชุมชนยังมีความต้องการให้ดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ดร.กันตภณ กล่าวว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านพลังงานให้กับเกษตรกรและชุมชน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา จึงจัดอบรมนำพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในท้องถิ่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตก๊าซชีวภาพ การออกแบบติดตั้งระบบปั้มน้ำและการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติประกอบส่วนโครงสร้างติดตั้งตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบติดตั้งระบบระบายความร้อนตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบติดตั้งตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และติดตั้งระบบปั๊มน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จากวิทยากรอาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ อ.ศุภชัย แก้วจัง และนักศึกษาโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ในฐานะผู้ช่วยวิทยากร
“โครงการอบรมใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่เกาะแต้ว ปีที่ 2 ชุมชนตื่นตัวสูงและเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ที่สำคัญ เราสามารถเปลี่ยนพื้นที่รกร้างแห้งแล้งให้กลับมาใช้เพาะปลูกได้ แค่นี้ก็ชื่นใจแล้ว นอกจากนั้น เรายังช่วยกันเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกด้วยการสร้างแหล่งน้ำ พร้อมทั้งเพิ่มอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร สร้างอาชีพ วางแผนที่ชุมชน และวางแผนการทำงานร่วมกันสำหรับปีหน้า ขอบคุณชุมชนหมู่ที่ 6 ต.เกาะแต้ว ทีมทำงานที่เข้มแข็ง และนักศึกษาที่ช่วยงานอย่างเต็มที่” รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา ปลื้มความสำเร็จอบรมพลังงานทดแทน ปี 2 ชุมชนตื่นตัวเข้าร่วม-เปลี่ยนพื้นที่รกร้างเป็นแหล่งเพาะปลูก
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา สุดปลื้ม ชุมชนตื่นตัวเข้าร่วมอบรมใช้พลังงานทดแทน ปี 2 เผยความสำเร็จใช้ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ พลิกฟื้นพื้นที่รกร้าง แห้งแล้ง ให้กลับมาเพาะปลูกได้
ดร.กันตภณ มะหาหมัด รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรมใช้พลังงานทดแทนเพื่อการประหยัดพลังงานแก่ชุมชนเทศบาลตำบลเกาะแต้ว (ทต.เกาะแต้ว) อ.เมือง จ.สงขลา ปีที่ 2 เมื่อเร็วๆ นี้ว่า เป็นการบริการวิชาการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแก่สังคม ตามนโยบายส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนในระดับชุมชน ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่รัฐบาลส่งเสริม โดย มรภ.สงขลา ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายและจัดอบรมใช้พลังงานทดแทนให้แก่ประชาชน ต.เกาะแต้ว ในปีงบประมาณ 2560 และประสบผลสำเร็จ ได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง อันเนื่องมาจากเป็นความต้องการโดยตรงจากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการของมหาวิทยาลัย และชุมชนยังมีความต้องการให้ดำเนินการในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
ดร.กันตภณ กล่าวว่า ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาด้านพลังงานให้กับเกษตรกรและชุมชน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.สงขลา จึงจัดอบรมนำพลังงานทดแทนมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในท้องถิ่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตก๊าซชีวภาพ การออกแบบติดตั้งระบบปั้มน้ำและการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมทั้งฝึกปฏิบัติประกอบส่วนโครงสร้างติดตั้งตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบติดตั้งระบบระบายความร้อนตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบติดตั้งตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ และติดตั้งระบบปั๊มน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จากวิทยากรอาจารย์คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ดร.วนิดา เพ็ชร์ลมุล วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ อ.ศุภชัย แก้วจัง และนักศึกษาโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ในฐานะผู้ช่วยวิทยากร
“โครงการอบรมใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่เกาะแต้ว ปีที่ 2 ชุมชนตื่นตัวสูงและเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ที่สำคัญ เราสามารถเปลี่ยนพื้นที่รกร้างแห้งแล้งให้กลับมาใช้เพาะปลูกได้ แค่นี้ก็ชื่นใจแล้ว นอกจากนั้น เรายังช่วยกันเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกด้วยการสร้างแหล่งน้ำ พร้อมทั้งเพิ่มอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร สร้างอาชีพ วางแผนที่ชุมชน และวางแผนการทำงานร่วมกันสำหรับปีหน้า ขอบคุณชุมชนหมู่ที่ 6 ต.เกาะแต้ว ทีมทำงานที่เข้มแข็ง และนักศึกษาที่ช่วยงานอย่างเต็มที่” รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย กล่าว.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024