นักศึกษาศิลปรรมฯ มรภ.สงขลา โชว์การแสดงนาฏยรังสรรค์สู่ชุมชน บูรณาการองค์ความรู้ตลอด 4 ปีสร้างผลงานวิจัยสะท้อนวัฒนธรรม วิถีชีวิตชาวใต้
ผศ.ไชยวุธ โกศล คณะบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการนำเสนอผลงานของนักศึกษาโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง ในโครงการนาฏยรังสรรค์สู่ชุมชนครั้งที่ 2 ณ ศาลาไทย (แหลมสมิหลา) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ระบำนาฏยรังสรรค์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ระบำใหม่ของทางโปรแกรมฯ ที่มีต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนเป็นผลงานที่ทรงคุณค่า แสดงถึงศักยภาพของบัณฑิตนาฏยรังสรรค์ได้เป็นอย่างดี ผลงานเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ทำการแสดงอย่างกว้างขวางเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ จึงนับได้ว่าเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะศิลปกรรมศาสตร์เสมอมา โดยในปีนี้นักศึกษาในโปรแกรมฯ ได้นำการแสดงต่างๆ รวม 4 ชุด ได้แก่ ละครเวทีเรื่องเคย การแสดงปรัชญเทวนารี การแสดงไซ วิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ การแสดงตารีวายังกูเละ มาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ด้าน อ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง กล่าวว่า การสร้างสรรค์ผลงานด้านการแสดงของนักศึกษา เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาตั้งแต่ปี 1-ปี 4 นำมาบูรณาการเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดง กระบวนการสร้างล้วนแล้วแต่ใช้การวิจัยทั้งสิ้น ตั้งแต่การคัดเลือกเรื่อง การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบท่ารำ ออกแบบเพลง ออกแบบเครื่องแต่งกาย และการตรวจสอบจากคณาจารย์ในสาขาวิชา จนกลายเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์ ขอชื่นชมนักศึกษาทุกคนที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของนาฏยรังสรรค์ไว้ โดยเลือกโจทย์ที่มาจากชุมชน นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดงเพื่อช่วยเผยแพร่ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนในภาคใต้
อ.รวิสรา ศรีชัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ กล่าวว่า นาฏยรังสรรค์มีบทบาทด้านสร้างสรรค์ระบำนาฏยรังสรรค์ ถ่ายทอดวิถีชีวิต ความเชื่อประเพณีการละเล่นเเละวัฒนธรรมผ่านลีลาการเต้นการร่ายรำมาเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี จวบจนปัจจุบัน ยังคงทำหน้าที่อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์เสมอมา ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับผลงานระบำนาฏยรังสรรค์ชุดใหม่ประจำปี 2561 ทั้ง 3 ชุดที่สำเร็จ สมบูรณ์และสวยงาม
ขณะที่ นายกิตติภพ แก้วย้อย นักศึกษาโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง หนึ่งในผู้สร้างสรรค์การแสดงตารีวายังกูเละ กล่าวถึงแนวคิดของการแสดงชุดนี้ว่า วายังกูเละเป็นหนังตะลุงแบบมลายูที่มีคุณค่ากำลังเลือนหายไป ตนและเพื่อนๆ จึงนำมาสร้างสรรค์ระบำเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดขั้นตอนการแสดงผ่านนักแสดงซึ่งเป็นคนเชิดและร่ายรำสะท้อนอารมณ์และอากัปกิริยาของตัวหนังตะลุง ซึ่งการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ การเล่นขนบ การต่อสู้ของทศกัณฐ์และพระรามจากเรื่องรามายณะ และ การเฉลิมฉลองชัยชนะ โดยใช้ตัวหนังตะลุงและดนตรีหนังตะลุงพื้นบ้านมลายูประกอบการการแสดง
สำหรับการแสดงชุดปรัชญเทวนารี มีแนวคิดจากนางปรัชญาปารมิตาเทพสตรีผู้เต็มเปี่ยมในพระธรรม จึงได้สร้างสรรค์ระบำชุดปรัชญเทวนารี ซึ่งเป็นระบำที่ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นมาจากรูปปั้นสำริดของนางปรัชญาปารมิตา นางผู้มีลีลางดงามดั่งดอกบัว โดยสื่อถึงเทพสตรีผู้หนึ่งที่มีสติปัญญา มาประทานความรู้ให้กับบุคคลที่มีกิเลส มีจิตใจเศร้าหมอง ไม่พบทางสว่างในชีวิต โดยใช้หลักธรรมคำสอนของบัวสี่เหล่า หมายถึงบุคคล 4 ประเภท เพื่อให้รู้แจ้งและเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งบุคคลที่มีสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดเปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว
ส่วนการแสดงไซ วิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีแนวคิดจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ก่อให้เกิดการประกอบอาชีพที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการทำประมง ซึ่งไซเป็นอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพที่มีความโดดเด่น สะท้อนถึงเอกลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของชาวบ้านภาคใต้ ที่มีความผูกพันกับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ควรแก่การอนุรักษ์วิถีชีวิตแห่งความพอเพียงที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไซ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักและสืบทอดเครื่องมือหาเลี้ยงชีพที่อยู่คู่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามายาวนาน
นอกจากนั้น ยังมีการนำเสนอละครเวทีเรื่อง “เคย” ซึ่งสะท้อนถึงสังคมทุกวันนี้มีแต่ข่าวที่นำเสนอความรุนแรง เช่น การใช้อำนาจโดยมิชอบ ฆาตกรรม บางคนทนรับความรุนแรงนี้ไม่ไหวถึงกับฆ่าตัวตาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีเหตุมาจากความรุนแรงทั้งสิ้น และความรุนแรงส่วนใหญ่ก็เริ่มจากครอบครัว บทละครเรื่องนี้เป็นของ อีฟ เอนส์เลอร์ นักแสดงและนักเขียนบทละครชาวอเมริกัน เขียนไว้ว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงมักถูกปิดปากไม่ให้พูดถึงอวัยวะที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในร่างกายของตนเอง นั่นคือการปกปิดความรุนแรงรวมถึงโรคทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในอวัยวะสำคัญนี้ สื่อถึงการปิดกั้นไม่ให้ผู้หญิงเรียนรู้หรือแสดงออกเรื่องความสุขทางเพศรส จึงนำมาเขียนเป็นบทละคร โดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครที่มีเพศสภาพและความรู้สึกที่หลากหลายภายใต้บรรยากาศของเรื่องที่ต่างกันไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
November 20, 2024
November 18, 2024
November 13, 2024
November 11, 2024
ชื่อ-สกุล*
อีเมล์*
เว็ปไซต์
แสดงความคิดเห็น
Notify me of follow-up comments by email.
Notify me of new posts by email.
Δ
มรภ.สงขลา โชว์นาฏยรังสรรค์สู่ชุมชน แปลงานวิจัยสะท้อน วธ.-วิถีชีวิตใต้
นักศึกษาศิลปรรมฯ มรภ.สงขลา โชว์การแสดงนาฏยรังสรรค์สู่ชุมชน บูรณาการองค์ความรู้ตลอด 4 ปีสร้างผลงานวิจัยสะท้อนวัฒนธรรม วิถีชีวิตชาวใต้
ผศ.ไชยวุธ โกศล คณะบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการนำเสนอผลงานของนักศึกษาโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง ในโครงการนาฏยรังสรรค์สู่ชุมชนครั้งที่ 2 ณ ศาลาไทย (แหลมสมิหลา) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ระบำนาฏยรังสรรค์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ระบำใหม่ของทางโปรแกรมฯ ที่มีต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ล้วนเป็นผลงานที่ทรงคุณค่า แสดงถึงศักยภาพของบัณฑิตนาฏยรังสรรค์ได้เป็นอย่างดี ผลงานเหล่านี้ถูกนำไปเผยแพร่ทำการแสดงอย่างกว้างขวางเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ จึงนับได้ว่าเป็นผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะศิลปกรรมศาสตร์เสมอมา โดยในปีนี้นักศึกษาในโปรแกรมฯ ได้นำการแสดงต่างๆ รวม 4 ชุด ได้แก่ ละครเวทีเรื่องเคย การแสดงปรัชญเทวนารี การแสดงไซ วิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ การแสดงตารีวายังกูเละ มาเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ด้าน อ.ทัศนียา คัญทะชา ประธานโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง กล่าวว่า การสร้างสรรค์ผลงานด้านการแสดงของนักศึกษา เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาตั้งแต่ปี 1-ปี 4 นำมาบูรณาการเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดง กระบวนการสร้างล้วนแล้วแต่ใช้การวิจัยทั้งสิ้น ตั้งแต่การคัดเลือกเรื่อง การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบท่ารำ ออกแบบเพลง ออกแบบเครื่องแต่งกาย และการตรวจสอบจากคณาจารย์ในสาขาวิชา จนกลายเป็นชิ้นงานที่สมบูรณ์ ขอชื่นชมนักศึกษาทุกคนที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของนาฏยรังสรรค์ไว้ โดยเลือกโจทย์ที่มาจากชุมชน นำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานการแสดงเพื่อช่วยเผยแพร่ภูมิปัญญาและวิถีชีวิตของคนในภาคใต้
อ.รวิสรา ศรีชัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ กล่าวว่า นาฏยรังสรรค์มีบทบาทด้านสร้างสรรค์ระบำนาฏยรังสรรค์ ถ่ายทอดวิถีชีวิต ความเชื่อประเพณีการละเล่นเเละวัฒนธรรมผ่านลีลาการเต้นการร่ายรำมาเป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี จวบจนปัจจุบัน ยังคงทำหน้าที่อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์เสมอมา ขอแสดงความชื่นชมยินดีกับผลงานระบำนาฏยรังสรรค์ชุดใหม่ประจำปี 2561 ทั้ง 3 ชุดที่สำเร็จ สมบูรณ์และสวยงาม
ขณะที่ นายกิตติภพ แก้วย้อย นักศึกษาโปรแกรมวิชานาฏศิลป์และการแสดง หนึ่งในผู้สร้างสรรค์การแสดงตารีวายังกูเละ กล่าวถึงแนวคิดของการแสดงชุดนี้ว่า วายังกูเละเป็นหนังตะลุงแบบมลายูที่มีคุณค่ากำลังเลือนหายไป ตนและเพื่อนๆ จึงนำมาสร้างสรรค์ระบำเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดขั้นตอนการแสดงผ่านนักแสดงซึ่งเป็นคนเชิดและร่ายรำสะท้อนอารมณ์และอากัปกิริยาของตัวหนังตะลุง ซึ่งการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ การเล่นขนบ การต่อสู้ของทศกัณฐ์และพระรามจากเรื่องรามายณะ และ การเฉลิมฉลองชัยชนะ โดยใช้ตัวหนังตะลุงและดนตรีหนังตะลุงพื้นบ้านมลายูประกอบการการแสดง
สำหรับการแสดงชุดปรัชญเทวนารี มีแนวคิดจากนางปรัชญาปารมิตาเทพสตรีผู้เต็มเปี่ยมในพระธรรม จึงได้สร้างสรรค์ระบำชุดปรัชญเทวนารี ซึ่งเป็นระบำที่ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นมาจากรูปปั้นสำริดของนางปรัชญาปารมิตา นางผู้มีลีลางดงามดั่งดอกบัว โดยสื่อถึงเทพสตรีผู้หนึ่งที่มีสติปัญญา มาประทานความรู้ให้กับบุคคลที่มีกิเลส มีจิตใจเศร้าหมอง ไม่พบทางสว่างในชีวิต โดยใช้หลักธรรมคำสอนของบัวสี่เหล่า หมายถึงบุคคล 4 ประเภท เพื่อให้รู้แจ้งและเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งบุคคลที่มีสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดเปรียบเสมือนบัวที่พ้นน้ำแล้ว
ส่วนการแสดงไซ วิถีลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีแนวคิดจากลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ก่อให้เกิดการประกอบอาชีพที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือการทำประมง ซึ่งไซเป็นอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพที่มีความโดดเด่น สะท้อนถึงเอกลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญาของชาวบ้านภาคใต้ ที่มีความผูกพันกับลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ควรแก่การอนุรักษ์วิถีชีวิตแห่งความพอเพียงที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไซ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จักและสืบทอดเครื่องมือหาเลี้ยงชีพที่อยู่คู่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามายาวนาน
นอกจากนั้น ยังมีการนำเสนอละครเวทีเรื่อง “เคย” ซึ่งสะท้อนถึงสังคมทุกวันนี้มีแต่ข่าวที่นำเสนอความรุนแรง เช่น การใช้อำนาจโดยมิชอบ ฆาตกรรม บางคนทนรับความรุนแรงนี้ไม่ไหวถึงกับฆ่าตัวตาย สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีเหตุมาจากความรุนแรงทั้งสิ้น และความรุนแรงส่วนใหญ่ก็เริ่มจากครอบครัว บทละครเรื่องนี้เป็นของ อีฟ เอนส์เลอร์ นักแสดงและนักเขียนบทละครชาวอเมริกัน เขียนไว้ว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงมักถูกปิดปากไม่ให้พูดถึงอวัยวะที่มีพลังอำนาจมากที่สุดในร่างกายของตนเอง นั่นคือการปกปิดความรุนแรงรวมถึงโรคทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในอวัยวะสำคัญนี้ สื่อถึงการปิดกั้นไม่ให้ผู้หญิงเรียนรู้หรือแสดงออกเรื่องความสุขทางเพศรส จึงนำมาเขียนเป็นบทละคร โดยเล่าเรื่องผ่านตัวละครที่มีเพศสภาพและความรู้สึกที่หลากหลายภายใต้บรรยากาศของเรื่องที่ต่างกันไป.
ภาพ/ข่าว มรภ.สงขลา
สำนักข่าวบ้านข่าว รายงาน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิด”มุมหนังสือนายกสภามหาวิทยาลัย” ณ ห้องสมุด ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
November 20, 2024
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จับมือ WeStride เปิดตัว “FutureX” หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ...
November 18, 2024
โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดรับสมัครนักเรียนระดับบ้านสาธิตปฐมวัยและระดับปฐมวัย (อนุบาล 1) ปีการศึกษา ...
November 13, 2024
มรภ.สงขลา นำผลงานนวัตกรรม นศ.เกษตร “เครื่องหยอดเมล็ดข้าว-กิมจิเห็ดนางฟ้า-ข้าวเกรียบเห็ดรสกิมจิ” ถ่ายทอดสู่ชุมชน
November 11, 2024